การบริหารค่าตอบแทนเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารทรัพยากรมนุษย์ นิคมอุตสาหกรรมอีสเทิร์นซีบอร์ด จังหวัดระยอง

dc.contributor.authorปริญา เกษเดช
dc.date.accessioned2552-04-23T05:49:17Z
dc.date.available2552-04-23T05:49:17Z
dc.date.issued2552-04-23T05:49:17Z
dc.description.abstractวัตถุประสงค์ของการวิจัยเรื่อง การบริหารค่าตอบแทนเชิงกลยุทธ์ เพื่อทราบถึงสภาพการปฏิบัติงาน ปัญหาและอุปสรรคในการทำงานของผู้บริหารทรัพยากรมนุษย์ โดยกลุ่มประชากรที่เลือกทำการวิจัยได้แก่ผู้บริหารทรัพยากรมนุษย์ในนิคมอุตสาหกรรมอีสเทิร์นซีบอร์ด ตำบลปลวกแดง อำเภอปลวกแดง จังหวัดระยอง จำนวน 126 บริษัท จากจำนวน 191 บริษัท เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถามวัดระดับสภาพการปฏิบัติงาน ปัญหาและอุปสรรค ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ส่วนได้แก่ รายละเอียดผู้ตอบแบบสอบถาม ส่วนที่ 2 ได้แก่ การวัดระดับสภาพปฏิบัติ ปัญหาและอุปสรรค สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ (percentage) ค่าเฉลี่ย (mean) และค่า F test โดยมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ในการวิเคราะห์ได้วิเคราะห์ตามกรอบแนวคิดในการวิจัยที่กำหนดให้ ขนาดองค์กร ประเภทองค์กรและประเภทธุรกิจเป็นตัวแปรอิสระ นโยบายของการบริหารค่าตอบแทน การประเมินค่างาน การเขียนลักษณะเฉพาะของงาน การจัดระดับงานเพื่อจ่ายค่าจ้างเงินเดือน การสำรวจค่าจ้างเงินเดือน การจัดทำโครงสร้างค่าจ้างเงินเดือนและการประเมินผลการปฏิบัติงานเป็นตัวแปรตาม ในการวิเคราะห์ได้คำนวณค่าคะแนนกลางของตัวแปรต่าง ๆ แล้วนำมาพิจารณาความเกี่ยวข้องกัน ผลการวิจัย พบว่า ระดับสภาพปฏิบัติ ปัญหาและอุปสรรคในการปฏิบัติงานของผู้บริหารทรัพยากรมนุษย์มีการบริหารค่าตอบแทนเชิงกลยุทธ์ในด้านนโยบายการบริหารค่าตอบแทนในองค์กร ด้านการประเมินค่างาน และการจัดระดับงานเพื่อจ่ายค่าจ้างเงินเดือน ด้านการสำรวจค่าจ้างเงินเดือน และการจัดทำโครงสร้างค่าจ้างเงินเดือน ด้านการประเมินผลการปฏิบัติงาน อยู่ในระดับปานกลาง ผลการวิเคราะห์ความแปรปรวนเพื่อทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยการปฏิบัติงาน ปัญหาและอุปสรรคด้านการบริหารค่าตอบแทนโดยรวมจำแนกตามขนาดขององค์กร ตามลักษณะขององค์กร ตามประเภทธุรกิจพบว่าแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญยกเว้น ยกเว้นสภาพการปฏิบัติงานจำแนกตามประเภทธุรกิจ เมื่อเปรียบเทียบสภาพการปฏิบัติงานด้านนโยบายเป็นรายคู่พบว่า ประเภทธุรกิจยานยนต์ ยางสารเคมี เหล็กและโลหะ และธุรกิจอื่นๆมีการบริหารค่าตอบแทนด้านนโยบายมากกว่าธุรกิจเครื่องใช้ไฟฟ้า ประเภทธุรกิจกระจกและเฟอร์นิเจอร์มากกว่าธุรกิจเครื่องใช้ไฟฟ้า ยานยนต์ ธุรกิจเหล็กและโลหะ เมื่อเปรียบเทียบสภาพการปฏิบัติงานด้านการประเมินค่างานและการจัดระดับงานเพื่อจ่ายค่าจ้างเงินเดือนจำแนกตามประเภทธุรกิจเป็นรายคู่พบว่าประเภทธุรกิจเหล็กและโลหะมีการบริหารค่าตอบแทนด้านการประเมินค่างานและการจัดระดับงานเพื่อจ่ายค่าจ้างเงินเดือนมากกว่าเครื่องใช้ไฟฟ้า ยานยนต์และยาง สารเคมี ประเภทธุรกิจกระจกและเฟอร์นิเจอร์มีการบริหารค่าตอบแทนด้านการประเมินค่างานและการจัดระดับงานเพื่อจ่ายค่าจ้างเงินเดือนมากกว่ายานยนต์ เมื่อเปรียบเทียบสภาพการปฏิบัติงานในการบริหารค่าตอบแทนโดยรวมพบว่าประเภทธุรกิจยาง สารเคมี มีการบริหารค่าตอบแทนมากกว่าธุรกิจเครื่องใช้ไฟฟ้า ประเภทธุรกิจเหล็กและโลหะ กระจกและเฟอร์นิเจอร์และธุรกิจอื่น ๆ มีการบริหารค่าตอบแทนโดยรวมมากกว่าเครื่องใช้ไฟฟ้า ยานยนต์en_US
dc.identifier.urihttps://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/1421
dc.subjectการบริหารค่าตอบแทนen_US
dc.subjectผู้บริหารทรัพยากรมนุษย์en_US
dc.subjectนิคมอุตสาหกรรมอีสเทิร์นซีบอร์ดen_US
dc.subjectระยองen_US
dc.titleการบริหารค่าตอบแทนเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารทรัพยากรมนุษย์ นิคมอุตสาหกรรมอีสเทิร์นซีบอร์ด จังหวัดระยองen_US

ไฟล์

ชุดต้นฉบับ
ตอนนี้กำลังแสดง1 - 5 ของ 13
กำลังโหลด...
รูปภาพขนาดย่อ
ชื่อ:
title.pdf
ขนาด:
53.49 KB
รูปแบบ:
Adobe Portable Document Format
คำอธิบาย:
กำลังโหลด...
รูปภาพขนาดย่อ
ชื่อ:
abstract.pdf
ขนาด:
56.5 KB
รูปแบบ:
Adobe Portable Document Format
คำอธิบาย:
กำลังโหลด...
รูปภาพขนาดย่อ
ชื่อ:
acknow.pdf
ขนาด:
44.6 KB
รูปแบบ:
Adobe Portable Document Format
คำอธิบาย:
กำลังโหลด...
รูปภาพขนาดย่อ
ชื่อ:
cont.pdf
ขนาด:
76.65 KB
รูปแบบ:
Adobe Portable Document Format
คำอธิบาย:
กำลังโหลด...
รูปภาพขนาดย่อ
ชื่อ:
chap1.pdf
ขนาด:
103.16 KB
รูปแบบ:
Adobe Portable Document Format
คำอธิบาย:
มัดใบอนุญาต
ตอนนี้กำลังแสดง1 - 1 ของ 1
ไม่มีรูปขนาดย่อ
ชื่อ:
license.txt
ขนาด:
1.72 KB
รูปแบบ:
Item-specific license agreed upon to submission
คำอธิบาย: