ปัจจัยแรงจูงใจที่มีผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของพนักงานระดับปฏิบัติการ: กรณีศึกษา บริษัทโฟเรอเซีย แอนด์ ซัมมิท อินทีเรีย ซิสเต็มส์ (ประเทศไทย) จำกัด

กำลังโหลด...
รูปภาพขนาดย่อ

วันที่

2562-03-09

ผู้เขียน

ชื่อวารสาร

วารสาร ISSN

ชื่อหนังสือ

สำนักพิมพ์

เชิงนามธรรม

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยแรงจูงใจภายในของพนักงานระดับปฏิบัติการ 2) ศึกษาระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยแรงจูงใจภายนอกของพนักงานระดับปฏิบัติการ 3) ศึกษาระดับการประสิทธิภาพ ในการทำงานของพนักงานระดับปฏิบัติการ 4) ศึกษาปัจจัยแรงจูงใจภายในและปัจจัยแรงจูงใจภายภายนอกที่มีผลต่อประสิทธิภาพ ในการทำงานของพนักงานระดับปฏิบัติการ ขนาดตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาคือพนักงานจากทุกฝ่ายจำนวน 230 คน เครื่องมือในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม แบบมาตราส่วน 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ค่าความแปรปรวนทางเดียว การทดสอบค่าที เปรียบเทียบความแตกต่างเป็นรายคู่โดยวิธี LSD และสมการถดถอย ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัจจัยแรงจูงใจภายในได้แก่ การยกย่องและยอมรับนับถือ ความมั่นคงในงาน การมีอำนาจหน้าที่ การมีส่วนร่วมในงาน และโอกาสในความก้าวหน้า อยู่ในระดับปานกลาง 2) ปัจจัยแรงจูงใจภายนอกได้แก่ ด้านความปลอดภัยในการทำงาน นโยบายและการบริหาร การฝึกอบรมและพัฒนา และค่าตอบแทนและสวัสดิการ อยู่ในระดับปานกลาง 3) ประสิทธิภาพการทำงานของพนักงาน ด้านคุณภาพผลิตภัณฑ์ ด้านความประหยัด และความรวดเร็วในการทำงาน โดยรวมอยู่ในระดับมาก 4) ปัจจัยแรงจูงใจภายในด้าน ความสำเร็จในการปฏิบัติงาน ความมั่นคงในงาน และการมีอำนาจหน้าที่ ปัจจัยแรงจูงใจภายนอกด้าน ความปลอดภัยในการทำงานและนโยบายด้านการบริหาร มีผลต่อประสิทธิภาพในการทำงานโดยรวมที่แตกต่างกัน อย่างมีระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

คำอธิบาย

บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรี

คำหลัก

แรงจูงใจ, ประสิทธิภาพ, พนักงาน

การอ้างอิง