ความสงบ : หอศิลปะแห่งความสงบ

กำลังโหลด...
รูปภาพขนาดย่อ

วันที่

2560

ชื่อวารสาร

วารสาร ISSN

ชื่อหนังสือ

สำนักพิมพ์

มหาวิทยาลัยศรีปทุม

เชิงนามธรรม

ความสงบที่แฝงอยู่ในธรรมชาติถูกนำมาใช้ในการออกแบบสถาปัตยกรรมเพื่อสร้างความสงบภายในอาคารให้เหมาะสำหรับการชมงานศิลปะและพักผ่อนหย่อนใจนอกจากนี้ยังช่วยให้ผ่อนคลายเกิดความคิดสร้างสรรค์ในทางที่ดีและนำไปเป็นหลักสำหรับดำเนินชีวิต วิธีการศึกษา และผลการศึกษา คือการสร้างที่ว่างที่มีความสงบจากธรรมชาติ เป็นการใช้ธรรมชาติให้มีส่วนร่วมในพื้นที่ต่างๆ เช่น ทางสัญจร ที่ว่าง การใช้สอยอาคาร เพื่อสร้างความสงบ สำหรับผู้คนที่เข้ามาใช้งานจะได้สัมผัส รู้สึก และได้รับฟังเสียงความสงบเหมาะแก่การชมงานศิลปะและพักผ่อน ผลการนำไปประยุกต์ออกแบบ หลังจากการศึกษาภาคข้อมูลและทฤษฎีขององค์ประกอบในการสร้างความสงบจึงสามารถแบ่งความสงบได้เป็นที่ว่าง 7 รูปแบบคือ 1.การปิดล้อมที่ว่าง 2.การปิดล้อมที่ว่างหลายชั้น 3.การแบ่งเป็นยูนิต 4.การอยู่อย่างสันโดษ 5.การอยู่กับธรรมชาติ 6.การแบ่งเป็นโซนนิ่ง 7.การแบ่งแบบเขาวงกต นอกจากนี้ยังมีองค์ประกอบอื่นๆเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องด้วยเช่นการสร้างภูมิทัศน์ที่เป็นธรรมชาติ การใช้ทางสัญจรที่ไม่ซับซ้อนและชื่นชมธรรมชาติระหว่างการเดิน การใช้พื้นผิว สี และวัสดุจากธรรมชาติ เป็นต้น

คำอธิบาย

สถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม

คำหลัก

ความสงบ, หอศิลปะแห่งความสงบ, Peace, Peacefull Art Gallery, ความเงียบ

การอ้างอิง

ปการวิทย์ ผิวงาม. 2560. "ความสงบ : หอศิลปะแห่งความสงบ." ผลงานนักศึกษา คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม.