ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในรายวิชาBUS305 การวิเคราะห์เชิงปริมาณที่ได้รับการจัดการเรียนแบบร่วมมือแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์

กำลังโหลด...
รูปภาพขนาดย่อ

วันที่

2554

ชื่อวารสาร

วารสาร ISSN

ชื่อหนังสือ

สำนักพิมพ์

มหาวิทยาลัยศรีปทุม

เชิงนามธรรม

การนำการจัดการเรียนแบบร่วมมือแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์มาใช้กับรายวิชา BUS305 การวิเคราะห์เชิงปริมาณ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาการวิเคราะห์เชิงปริมาณ ของนักศึกษาที่ได้รับจากการจัดการเรียนแบบแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์(STAD) ว่าทำให้มีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน(Standard Deviation)ของคะแนนทดสอบลดลงและยกระดับคะแนนเฉลี่ยของห้องเรียน(Class Grade Point Average)ให้สูงขึ้น และ 2) เพื่อประเมินการเรียนรู้จากการเรียนแบบแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์ (STAD)โดยผู้วิจัยได้สร้างแบบทดสอบความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการจัดการเรียนด้วยวิธีนี้ ผลการศึกษาพบว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยพิจารณาจากคะแนนทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน พบว่าคะแนนทดสอบหลังเรียนมีคะแนนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 รวมทั้งค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานของคะแนนทดสอบหลังเรียนลดลง นอกจากนี้นักศึกษามีความพึงพอใจในการจัดการเรียนแบบร่วมมือแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์อยู่ในเกณฑ์สูง การวิจัยในครั้งนี้มีข้อเสนอแนะคือควรส่งเสริมให้ผู้สอนวิชาอื่นๆมีการจัดการเรียนแบบร่วมมือแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์ให้แพร่หลายต่อไป และผู้สอนควรจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้เทคนิคอื่น เพื่อหาวิธีที่เหมาะสมกับนักศึกษาและสอดคล้องกับรายวิชา รวมทั้งผู้สอนควรให้ข้อมูลกับนักศึกษาที่เรียนเก่งกว่าว่าการให้ความช่วยเหลือผู้อื่นที่ด้อยกว่าจะเป็นผลดีกับตัวเองด้วย กล่าวคือนักศึกษาผู้นั้นจะได้มิตรภาพและเพื่อนเพิ่มขึ้น

คำอธิบาย

คำหลัก

การเรียนแบบร่วมมือ

การอ้างอิง