การประเมินความเสี่ยงในงานก่อสร้งเสาเข็มเจาะระบบเปียก

กำลังโหลด...
รูปภาพขนาดย่อ

วันที่

2563

ชื่อวารสาร

วารสาร ISSN

ชื่อหนังสือ

สำนักพิมพ์

คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม

เชิงนามธรรม

การศึกษานี้เป็นการศึกษาวิเคราะห์ความเสี่ยง หาปัจจัยความเสี่ยงที่มีผลกระทบต่อ ระยะเวลาในการก่อสร้างของกิจกรรมงานนั้นๆ และเสนอกระบวนการจัดการความเสี่ยงในงาน ก่อสร้างเสาเข็มเจาะระบบเปียก โดยศึกษาทฤษฎีการบริหารความเสี่ยง มีขั้นตอนการบริหาร 4 ขั้นตอน คือ การระบุความเสี่ยง การประเมินความเสี่ยง การตอบสนองความเสี่ยง และการควบคุม ความเสี่ยง ซึ่งการประเมินความเสี่ยงใช้วิธีการวิเคราะห์ด้วยเมตริกประเมินความเสี่ยง (Risk Assessment Matrix) เมื่อศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลโครงการ ท าการเก็บข้อมูลจากหน้างาน และ สอบถามผู้เชี่ยวชาญ วิศวกรที่มีน่าที่รับผิดชอบในโครงงานก่อสร้างเสาเข็มเจาะระบบเปียก ได้จัดกลุ่ม รูปแบบความเสี่ยงเป็น 5 รูปแบบ ดังนี้ เหตุภายนอกควบคุมหรือคาดการณ์ไม่ได้, การออกแบบและ รายการประกอบแบบ, การก่อสร้าง, บุคลากร และโลจิสติก จากการศึกษาพบว่า มีจำนวนเหตุการณ์ ความเสี่ยงในเดือนมกราคม 3 เหตุการณ์ จำนวนเหตุการณ์ความเสี่ยงในเดือนกุมภาพันธ์ 14 เหตุการณ์ จำนวนเหตุการณ์ความเสี่ยงในเดือนมีนาคม 18 เหตุการณ์ จำนวนเหตุการณ์ความเสี่ยงใน เดือนเมษายน 8 เหตุการณ์ ส่วนวิธีการตอบสนองต่อความเสี่ยงมีแนวทางในการตอบสนอง 6 แนวทาง ตามหลัก ป้องกัน, ติดตาม, แก้ไข และแนะนำ เมื่อปฏิบัติตามแนวทางการแก้ไขความเสี่ยงที่ นำเสนอนี้ สามารถช่วยลดโอกาสเกิดความเสี่ยงที่ทำให้งานก่อสร้างช้ากว่าเวลาของกิจกรรมงานนั้นๆ และเพิ่มคุณภาพของงาน

คำอธิบาย

โครงงานสหกิจศึกษา

คำหลัก

ระบบเปียก, ความเสี่ยง, การประเมิน, บริหารความเสี่ยง, เมตริกความเสี่ยง, ความรุนแรง

การอ้างอิง

รัชภาคย์ ช่อมะลิ. 2560. "การประเมินความเสี่ยงในงานก่อสร้างเสาเข็มเจาะระบบเปียก." ผลงานนักศึกษาวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม.