ความสัมพันธ์ระหว่างกลไกการกำกับดูแลกิจการกับตัวชี้วัด ความสามารถในการทำกำไรของบริษัทจดทะเบียน ในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ

dc.contributor.authorยุวดี เครือรัฐติกาลen_US
dc.contributor.authoryuwadee kruerattikarnen_US
dc.date.accessioned2560-05-17T17:44:22Z
dc.date.available2017-05-17T17:44:22Z
dc.date.issued2557-07-01
dc.descriptionการกำกับดูแลกิจการเป็นเรื่องที่จำเป็นอย่างยิ่งสำหรับบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ที่ต้องเปิดเผยข้อมูลของบริษัทให้แก่บุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับกิจการได้รับทราบ บริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ ยังไม่เป็นที่สนใจแก่นักลงทุนมากนัก แต่ถ้ามีการวิเคราะห์ให้เห็นถึงความสามารถในการทำกำไรของบริษัทและการมีกลไกการกำกับดูแลกิจการที่ดีมากขึ้นอาจทำให้นักลงทุนเริ่มมาสนใจพิจารณาข้อมูลทางการเงินและข้อมูลที่ไม่ใช่ข้อมูลทางการเงินของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ มากขึ้น ซึ่งถ้าผลการดำเนินงานของบริษัทมีแนวโน้มดีขึ้นและมีกลไกการกำกับดูแลกิจการที่ดีย่อมส่งผลให้บริษัทมีโอกาสพัฒนาเข้าไปลงทุนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยมากขึ้น นั่นหมายความว่านักลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ ก็จะได้รับมูลค่าเพิ่มจากการลงทุนเพิ่มมากขึ้นด้วยen_US
dc.description.abstractงานวิจัยนี้ศึกษา ความสัมพันธ์ระหว่างกลไกการกำกับดูแลกิจการกับตัวชี้วัดความสามารถในการทำกำไรของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ MAI โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างกลไกการกำกับดูแลกิจการกับอัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์รวมของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ MAI 2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างกลไกการกำกับดูแลกิจการกับอัตราส่วนราคาต่อกำไรต่อหุ้นของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ MAI วิธีดำเนินการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงประจักษ์ (empirical research) ซึ่งมีประชากรคือ บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ MAI จำนวน 60 บริษัท โดยทำการเปรียบเทียบข้อมูลของบริษัทตั้งแต่ พ.ศ. 2552 ถึง พ.ศ. 2554 พบว่า ตัวแปรกลไกการกำกับดูแลกิจการที่มีความสัมพันธ์ต่ออัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์รวมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 05 ในพ.ศ. 2552 และ 2553 ได้แก่ จำนวนครั้งการประชุมคณะกรรมการบริษัท และความเสี่ยงทางการเงิน โดยมีทิศทางตรงข้ามกัน และ พ.ศ. 2554 ได้แก่ ความเสี่ยงทางการเงิน โดยมีทิศทางตรงข้ามกัน ส่วนตัวแปรกลไกการกำกับดูแลกิจการที่มีความสัมพันธ์ต่ออัตราส่วนราคาต่อกำไรต่อหุ้น พบว่า พ.ศ. 2552 และ 2553 ไม่มีตัวแปรที่มีความสัมพันธ์ต่ออัตราราคาต่อกำไรต่อหุ้น และ พ.ศ. 2554 ตัวแปรที่มีความสัมพันธ์ต่ออัตราส่วนราคาต่อกำไรต่อหุ้น ได้แก่ ค่าตอบแทนกรรมการ โดยมีความสัมพันธ์ในทิศทางตรงข้ามกัน ส่วนขนาดของบริษัทมีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกันen_US
dc.description.sponsorshipSripatum Universityen_US
dc.identifier.citationยุวดี เครือรัฐติกาล. 2557. "ความสัมพันธ์ระหว่างกลไกการกำกับดูแลกิจการกับตัวชี้วัดความสามารถในการทำกำไรของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ MAI. วารสารวิชาการศรีปทุมชลบุรี.en_US
dc.identifier.issn1686-5715
dc.identifier.urihttps://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/5137
dc.language.isothen_US
dc.publisherวารสารวิชาการศรีปทุมชลบุรีen_US
dc.subjectกลไกการกำกับดูแลกิจการen_US
dc.subjectตัวชี้วัดความสามารถในการทำกำไรen_US
dc.subjectcorporation governance mechanismen_US
dc.subjectprice - earnings ratioen_US
dc.subjectตลาดหลักทรัพย์ MAIen_US
dc.titleความสัมพันธ์ระหว่างกลไกการกำกับดูแลกิจการกับตัวชี้วัด ความสามารถในการทำกำไรของบริษัทจดทะเบียน ในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอen_US
dc.title.alternativeTHE RELATIONSHIP BETWEEN CORPORATION GOVERNANCE MECHANISM AND INDEX OF PROFITABILITY OF LISTED COMPANIES IN MARKET FORALTERNATIVE INVESTMENTen_US
dc.typeArticleen_US

ไฟล์

ชุดต้นฉบับ
ตอนนี้กำลังแสดง1 - 1 ของ 1
กำลังโหลด...
รูปภาพขนาดย่อ
ชื่อ:
SPU_ยุวดี เครือรัฐติกาล_บทความวิจัยความสัมพันธ์ระหว่างกลไกการกำกับดูแลกิจการกับตัวชี้วัดความสามารถในการทำกำไรของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ MAI.pdf
ขนาด:
1.09 MB
รูปแบบ:
Adobe Portable Document Format
มัดใบอนุญาต
ตอนนี้กำลังแสดง1 - 1 ของ 1
ไม่มีรูปขนาดย่อ
ชื่อ:
license.txt
ขนาด:
1.71 KB
รูปแบบ:
Item-specific license agreed upon to submission
คำอธิบาย: