แลนด์มาร์คในศตวรรษที่ 21
กำลังโหลด...
วันที่
2561
ผู้เขียน
ชื่อวารสาร
วารสาร ISSN
ชื่อหนังสือ
สำนักพิมพ์
มหาวิทยาลัยศรีปทุม
เชิงนามธรรม
สถาปัตยกรรมที่เป็นแลนด์มาร์คของพื้นที่ล้วนถูกออกแบบมาเพื่อเป็นที่หมายตาในวงกว้าง ซึ่งการจะเป็นแลนด์มาร์คที่มีประสิทธิภาพนั้นต้องทำงานควบคู่กับทำเลที่ตั้ง และปัจจัยอื่นร่วมด้วย นอกจากเพื่อการเป็นที่หมายตาแล้ว แลนด์มาร์คยังเป็นโครงการที่ส่งผลกระทบเป็นวงกว้าง ทั้งการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพของพื้นที่ และทัศนคติของผู้คน
วิธีการศึกษา และผลการศึกษา เริ่มโดยการศึกษาสถาปัตยกรรมที่เป็นแลนด์มาร์ค นามาวิเคราะห์บทบาทของแลนด์มาร์คในแต่ละพื้นที่ รวมถึงผลกระทบที่เกิดขึ้น เพื่อนำมาใช้เป็นข้อเปรียบเทียบ และจำแนกแลนด์มาร์คตามกายภาพของพื้นที่ตั้งโครงการ นำไปสู่ขั้นตอนในการเลือกย่านที่เหมาะสม และการเลือกทำเลที่ตั้งของโครงการในพื้นที่ย่านนั้น
ผลการนำไปประยุกต์ออกแบบ สามารถกำหนดเกณฑ์เพื่อพิจารณาเลือกย่านและทำเลที่ตั้งที่สนับสนุนสถาปัตยกรรมให้เป็นแลนด์มาร์คได้ มีส่วนในการกระตุ้นให้เกิดการฟื้นฟูและพัฒนาพื้นที่โดยรอบของย่านเมืองเก่าสงขลา โดยนำข้อมูลที่ได้จากกรณีศึกษาขั้นที่ 1 และกรณีศึกษาขั้นที่ 2 มาใช้กำหนดเกณฑ์พิจารณาเลือกทำเลที่ตั้งโครงการ พื้นที่ใช้สอยหลักภายในสถาปัตยกรรมที่เป็นแลนด์มาร์ค ได้แก่ พื้นที่ให้ความรู้ทางประวัติศาสตร์เกี่ยวกับสงขลา พื้นที่จัดแสดงนิทรรศการหมุนเวียนเพื่อการจัดแสดงผลงานศิลปะที่เกี่ยวเนื่องกับสงขลา พื้นที่จำหน่ายสินค้าจากชุมชน ร้านค้า ร้านอาหาร พื้นที่พักผ่อนเพื่อการชื่นชมทัศนียภาพ และห้องประชุมอเนกประสงค์ ซึ่งได้มาจากการลงพื้นที่เพื่อสอบถามความต้องการพื้นที่ใช้สอยของชุมชนทั้งในย่านเมืองเก่าสงขลา และชุมชนในพื้นที่ใกล้เคียง นอกจากนี้ยังได้นำเอกลักษณ์ของย่านเมืองเก่าสงขลามาใช้ในการออกแบบรูปด้านของอาคาร เพื่อสร้างความรู้สึกเมื่อแรกเห็นให้รับรู้ถึงศิลปะทางสถาปัตยกรรมแบบสงขลา ช่องเปิดของอาคารได้ถอดแบบจากบานเฟี้ยม มีการปรับเปลี่ยนให้ดูทันสมัยยิ่งขึ้น
คำอธิบาย
สถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม
คำหลัก
แลนด์มาร์ค
การอ้างอิง
ฐภัคณา เลณภาวัลคุ์. 2561. "แลนด์มาร์คในศตวรรษที่ 21." ผลงานนักศึกษา คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม.