การประยุกต์ใช้การวิเคราะห์แบบ เอบีซี และการควบคุมการมองเห็นเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการเบิก - จ่ายสินค้า กรณีศึกษา : บริษัทผู้แทนจำหน่ายและนำเข้าอาหารปลาสวยงาม

กำลังโหลด...
รูปภาพขนาดย่อ

วันที่

2563

ผู้เขียน

ชื่อวารสาร

วารสาร ISSN

ชื่อหนังสือ

สำนักพิมพ์

มหาวิทยาลัยศรีปทุม

เชิงนามธรรม

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการเบิก-จ่ายสินค้าภายในคลังสินค้าและลดการหยิบสินค้าผิด โดยผู้วิจัยศึกษาถึงระบบการทำงานปัจจุบันภายในคลังสินค้าของบริษัทกรณีศึกษาโดยผู้วิจัยได้ออกแบบการจัดเรียงสินค้าใหม่โดยแบ่งตามประเภทของตราสินค้าโดยใช้การประยุกต์ใช้ทฤษฏี ABC analysis และการจัดทำป้ายวางที่ชั้นวางสินค้า จัดทำโซนสินค้าโดยมีป้ายแสดงตราสินค้าตามช่องที่วางสินค้าโดยนำทฤษฏี Visual control (การควบคุมด้วยการมองเห็น) เข้ามาปรับใช้ให้เหมาะสมกับคลังสินค้าที่ผู้วิจัยได้ทำการทดลอง เพื่อเปรียบเทียบจำนวนสินค้าที่หยิบสินค้าผิดทั้งแบบชนิดกระสอบ และชนิดแบบกล่อง ผลการวิจัยพบว่าการนำทฤษฏี ABC analysisและทฤษฏี Visual control (การควบคุมด้วยการมองเห็น) เข้ามาปรับใช้ภายในคลังสินค้า สามารถช่วยลดการหยิบผิดของสินค้าลดลงได้จาก 514 กล่องและ 539 กระสอบต่อเดือน ลดลงไปเหลือแค่หยิบสินค้าผิดต่อเดือน 17 กล่องและ 6 กระสอบต่อเดือนจากสินค้าภายในคลังสินค้าทั้งหมด 115 รายการ 3799 สินค้า คิดเป็น 0.44% แบบกล่องและ 0.15% แบบกระสอบต่อเดือนและสามารถลดระยะเวลาจากการเข้าไปหยิบสินค้าได้จากเดิมใช้ระยะ เวลา 10-20 นาทีต่อกล่อง/กระสอบเหลือแค่ 5-10 นาทีต่อกล่อง/กระสอบ

คำอธิบาย

วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน วิทยาลัยโลจิสติกส์และซัพพลายเชน มหาวิทยาลัยศรีปทุม

คำหลัก

คลังสินค้า, การวิเคราะห์แบบ เอบีซี และการควบคุม

การอ้างอิง

นิตยา พูลผล. 2561. "การประยุกต์ใช้การวิเคราะห์แบบ เอบีซี และการควบคุมการมองเห็นเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการเบิก - จ่ายสินค้า กรณีศึกษา : บริษัทผู้แทนจำหน่ายและนำเข้าอาหารปลาสวยงาม." วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน วิทยาลัยโลจิสติกส์และซัพพลายเชน มหาวิทยาลัยศรีปทุม.