การศึกษาค่าความเที่ยงตรงของแบบหล่อบล็อกประสาน CLC

กำลังโหลด...
รูปภาพขนาดย่อ

วันที่

2565

ผู้เขียน

ชื่อวารสาร

วารสาร ISSN

ชื่อหนังสือ

สำนักพิมพ์

มหาวิทยาลัยศรีปทุม

เชิงนามธรรม

งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาความเที่ยงตรงของแบบหล่อบล็อกประสาน CLC มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแบบหล่อรูปทรงบล็อกประสาน CLC ให้มีประสิทธิภาพและมีความเที่ยงตรงในกระบวนการผลิตมากขึ้น โดยคำนึงถึงความคลาดเคลื่อนของแบบหล่อบล็อกประสาน เริ่มจากออกแบบและพัฒนาแบบหล่อ แล้วทการผลิตอิฐบล้อกประสานด้วยการใช้คอนกรีตมวลเบา ในอัตราส่วนผสมตั้งต้นที่ชนิด C10 และ C16 ตามมาตรฐานการผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมคอนกรีตมวลเบาแบบเติมฟองอากาศ มอก.2601 – 2556 โดยมีอัตราส่วนปูนซีเมนต์ : ทรายละเอียด : น้ำ : สารนกำเนิดโฟม ที่อัตาส่วน C10 เท่ากับ 1 : 0.85 : 0.55 : 0.0018 และ C16 เท่ากับ 1 : 0.85 : 0.55 : 0.0015 จากผลการวิเคราะห์การถ่ายทอดความคลาดเคลื่อน และรากของค่าความคลาดเคลื่อนกำลังสองเฉลี่ยของตัวบล้อก เมื่อนำไปเปรียบเทียบกับขนาดและเกณฑ์ความคลาดเคลื่อน ตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม คอนกรีตมวลเบาแบบเติมฟองอากาศ มอก. 2601 – 2556 จึงได้ค่าการถ่ายทอดความคลาดเคลื่อน ที่อัตาส่วน C10 เท่ากับ 0.904 # 0.044 “c” “m”^”3” ที่อัตราส่วน C16 เท่ากับ 0.929 # 0.035 “c” “m” ^ “3” และค่ารากของความคลาดเคลื่อนกำลังสองเฉลี่ยของตัวบล็อกทุกๆด้าน ที่อัตราส่วน C10 และอัตราส่วน C16 มีค่าอยู่ในเกณฑ์ที่มาตรฐานกำหนด

คำอธิบาย

คำหลัก

ค่าความเที่ยงตรง, แบบหล่อบล็อกประสาน, เซลลูลาร์

การอ้างอิง

ณภัทร ไชยมา. 2561. “การศึกษาค่าความเที่ยงตรงของแบบหล่อบล็อกประสาน CLC.” สารนิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารงานก่อสร้าง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม.