ผลของการใช้เทคนิคการทดสอบย่อยที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาในรายวิชา ACT314 การบัญชีบริหาร สาขาวิชาการบัญชี คณะบัญชี มหาวิทยาลัยศรีปทุม

กำลังโหลด...
รูปภาพขนาดย่อ

วันที่

2555-10-26

ชื่อวารสาร

วารสาร ISSN

ชื่อหนังสือ

สำนักพิมพ์

มหาวิทยาลัยศรีปทุม

เชิงนามธรรม

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอนในรายวิชา ACT314 การบัญชีบริหาร มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยเทคนิคการทดสอบย่อย โดยมีกลุ่มตัวอย่างจากนักศึกษาสาขาวิชาการบัญชี คณะบัญชี มหาวิทยาลัยศรีปทุม ซึ่งลงทะเบียนเรียนวิชาการบัญชีบริหารในภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2554 จานวน 64 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย (1) แผนการจัดการเรียนการสอนรายวิชา ACT314 (2) การทดสอบย่อยก่อนเรียน (Pretest) และการทดสอบย่อยหลังเรียน (Posttest) ในเนื้อหาเรื่องการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของต้นทุน-จำนวน-กาไร แนวคิดเกี่ยวกับการใช้ข้อมูลเพื่อการตัดสินใจ การประเมินโครงการลงทุน และการวัดผลการปฏิบัติงานของส่วนงาน โดยสถิติที่ใช้ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบที ผลการวิจัยพบว่า 1. การเรียนแบบมีการทดสอบย่อยก่อนเรียนและทดสอบย่อยหลังเรียน และมีการให้ข้อมูลป้อนกลับ ทาให้นักศึกษามีผลสัมฤทธิ์ในการเรียนเพิ่มขึ้นจากระดับต่ำ (x = 6.98) เป็นระดับสูง ( x = 17.95) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. พัฒนาการของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษามีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งหมายความว่านักศึกษามีการเตรียมตัวอ่านหนังสือมาล่วงหน้า และมีความตั้งใจในเรียนมากขึ้น The objective of this quasi-experimantal research with the single group pretest-posttest design was to compare learning achievement of students taught by using the effects of formative tests before and after the instruction. The sample of this research were 64 students of Department of Accounting, Faculty of Accounting, Sripatum University who were studying in Management Accounting course in the first semester of the academic year 2011. The research instruments use were : (1) The lesson plan, (2) The Pretest and Posttest in details of Cost-Volume-Profit Analysis, Decision Making and Relevant Information, Capital Budgeting, and Performance Measurement. The statistics were frequency, percentage, means, standard deviation and the t-test. The results of this research were as follow : 1. The method learning by using pretest and posttest and give information feedback made the learning achievement scores of the studens were statistically significantly higher than before toward significant increased at the .05 level. 2. The development of learning achievement scores of students continuously trend to increase that’s mean students prepare in reading before study in the class.

คำอธิบาย

คำหลัก

การบัญชีบริหาร, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน, การทดสอบย่อย, Management Accounting, Learning Achievement, Formative test

การอ้างอิง

จิตรลดา วิวัฒน์เจริญวงศ์. (2555). ผลของการใช้เทคนิคการทดสอบย่อยที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาในรายวิชา ACT314 การบัญชีบริหาร สาขาวิชาการบัญชี คณะบัญชี มหาวิทยาลัยศรีปทุม. ในการประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยศรีปทุม ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีปทุม