ตัวแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของสัญญาการบริการจากมุมมองของผู้ประกอบการรถบรรทุกในประเทศไทย

กำลังโหลด...
รูปภาพขนาดย่อ

วันที่

2565

ชื่อวารสาร

วารสาร ISSN

ชื่อหนังสือ

สำนักพิมพ์

มหาวิทยาลัยศรีปทุม

เชิงนามธรรม

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความสัมพันธ์เชิงสาเหตุระหว่างการออกแบบสัญญาการบริการต่อความไว้วางใจจากมุมมองผู้ประกอบการรถบรรทุก 2) พัฒนาตัวแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของสัญญาการบริการศูนย์บริการรถบรรทุก 3) นำเสนอแนวทางการวางแผนกลยุทธ์ในการออกแบบสัญญาการบริการให้กับศูนย์บริการรถบรรทุกในประเทศไทย แบบผสานวิธี ได้แก่ การวิจัยเชิงคุณภาพ สัมภาษณ์ข้อมูลเชิงลึกสำคัญกับผู้ประกอบการรถบรรทุก 10 คน การวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง 400 คน เครื่องมือวิจัยคือ แบบสัมภาษณ์และแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหาและข้อสรุปแบบอุปนัย วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้สถิติเชิงบรรยาย วิเคราะห์สหสัมพันธ์เพื่อตรวจสอบความตรงของตัวแบบและขนาดอิทธิพลทางตรงและอิทธิพลทางอ้อมด้วยโปรแกรมสําเร็จรูปทางสังคมศาสตร์ ผลการวิจัยพบว่า 1) ตัวแบบที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วยความสามารถในการออกแบบสัญญา ความเฉพาะเจาะจงของสัญญา ความซับซ้อนของสัญญาและความไว้วางใจ 2) ตัวแบบร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของความไว้วางใจได้ร้อยละ 89.4 โดยความเฉพาะเจาะจงของสัญญาการบริการและความซับซ้อนของสัญญาการบริการมีอิทธิพลเชิงบวกต่อความไว้วางใจ ในขณะที่ความสามารถในการออกแบบสัญญาการบริการสามารถมีอิทธิพลเชิงลบต่อความไว้วางใจและตัวแบบสัญญาการบริการมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ X2 = 80.459, df = 1, Relative X2 = 1.662, p = .197, RMSEA = .041, RMR = .004, GFI = .999, AGFI = .942, NFI = 1.000, TLI = .992. 3) การสื่อสารด้วยภาษาที่ง่ายจะทำให้ผู้ประกอบการรถบรรทุกเข้าใจสิทธิในสัญญาบริการเพิ่มขึ้น

คำอธิบาย

ตารางและรูปภาพประกอบ

คำหลัก

ตัวแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ, สัญญาการบริการ, ผู้ประกอบการรถบรรทุก

การอ้างอิง

อภิชาติ มาศมาลัย. 2563. "ตัวแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของสัญญาการบริการจากมุมมองของผู้ประกอบการรถบรรทุกในประเทศไทย." วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน วิทยาลัยโลจิสติกส์และซัพพลายเชน มหาวิทยาลัยศรีปทุม.