ผลกระทบอันเกิดจากการแก้ไขกฎหมายแรงงาน; ศึกษาเปรียบเทียบพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑ กับพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ ๒) และ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๑

dc.contributor.authorสุวรรณน้อย, เจียมจิต
dc.date.accessioned2553-07-09T03:17:52Z
dc.date.available2553-07-09T03:17:52Z
dc.date.issued2552
dc.description.abstractวิทยานิพนธ์ฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑ แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) และ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๑ โดยเปรียบเทียบกับพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑ โดยศึกษาถึงประวัติความเป็นมาและวิวัฒนาการในการคุ้มครองแรงงาน แนวคิดพื้นฐาน แนวทางและความหมายของการคุ้มครองแรงงาน รวมถึงการให้ความคุ้มครองตามมาตรฐานแรงงานระหว่างประเทศ เริ่มต้นจากสังคมในยุคโบราณจนพัฒนาความสัมพันธ์ขึ้นในลักษณะจ้างแรงงาน ต่อมาในยุคการปฏิวัติอุตสาหกรรมศตวรรษที่ ๑๘ ถึงต้นศตวรรษที่ ๑๙ ภายหลังการปฏิวัติอุตสาหกรรม นายจ้างส่วนใหญ่อยู่ในฐานะที่ได้เปรียบลูกจ้าง ทำให้เกิดปัญหาข้อพิพาทแรงงานเพิ่มขึ้น รัฐจึงเข้าแทรกแซงเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมโดยวิธีตรากฎหมายคุ้มครองแรงงาน ในอดีตของไทยตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาตลอดมาจนถึงกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น มีระบบจ้างงานลักษณะคล้ายสัญญาเช่าหรือยืม บทบัญญัติกฎหมายตราสามดวงแสดงถึงการปะปนกันอยู่ของสัญญาประเภทต่าง ๆ ไม่ชัดเจน ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ ๕ มีการเลิกทาส เริ่มมีความคิดนำกฎหมายอย่างประเทศตะวันตกมาใช้ จนกระทั่งปลายสมัยรัชกาลที่ ๖ จึงได้ยกเลิกกฎหมายตราสามดวงและนำประมวลกฎหมาย (Code Law) มาใช้แทน สมัยรัชกาลที่ ๗ ได้ประกาศใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ ๑ ถึงบรรพ ๔ และสมัยรัชกาลที่ ๘ ได้ประกาศใช้ บรรพ ๕ และบรรพ ๖ การยกร่างประมวลกฎหมายทั้งหกบรรพจึงเสร็จสมบูรณ์ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ ๓ ลักษณะ ๖ ว่าด้วยจ้างแรงงาน ได้วางแนวคิดและพื้นฐานให้คู่สัญญาแสดงเจตนาทำข้อตกลงบนพื้นฐานหลักเสรีภาพในการแสดงเจตนาที่เท่าเทียมกัน แต่นายจ้างส่วนใหญ่อาศัยความได้เปรียบของตนกำหนดให้ลูกจ้างเข้าทำสัญญาจ้างแรงงานตามที่นายจ้างกำหนดแต่ฝ่ายเดียว ด้วยเหตุนี้รัฐในฐานะผู้ปกครองจึงเข้าแทรกแซง รวมทั้งทำหน้าที่เป็นคนกลางคอยไกล่เกลี่ยความขัดแย้งเพื่อยุติปัญหาโดยสันติวิธี เครื่องมือที่รัฐจะใช้ในการสร้างสมดุลอำนาจต่อรองของนายจ้างกับลูกจ้าง คือ การออกกฎหมายคุ้มครองแรงงาน (Labour Protection Law) ขึ้นใช้บังคับเพื่อกำหนดหลักเกณฑ์มาตรฐานการใช้แรงงาน โดยวางมาตรฐานขั้นต่ำ (Minimum Standard) ในการใช้แรงงาน เพื่อให้ผู้ทำงานมีสุขภาพอนามัยที่ดี มีความปลอดภัยในชีวิตร่างกาย และได้รับค่าตอบแทนที่เป็นธรรมตามสมควร ฝ่ายนายจ้างมีความมั่นคงของแรงงานไว้ใช้ในการผลิตหรือบริการที่คงสภาพในระยะยาว การศึกษาผู้วิจัยได้กำหนดหัวข้อในพิจารณาเกี่ยวกับการแก้ไขพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ ๒) และ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๑ โดยเปรียบเทียบกับพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑ ประกอบแนวทางการให้ความคุ้มครองแรงงานตามมาตรฐานแรงงานระหว่างประเทศ โดยกำหนดหัวข้อตามลำดับที่มีการแก้ไข คือ ลูกจ้างรับเหมาค่าแรง สัญญาจ้างที่นายจ้างได้เปรียบลูกจ้างเกินสมควร อัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือ ดอกเบี้ยค่าชดเชยพิเศษแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า การเรียกหรือรับหลักประกัน ลำดับแห่งบุริมสิทธิ การล่วงเกินทางเพศต่อลูกจ้าง ลูกจ้างทดลองงาน การแจ้งการดำเนินการต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ กำหนดเวลาทำงาน การใช้แรงงานหญิง การใช้แรงงานหญิงมีครรภ์ การใช้แรงงานเด็ก ค่าล่วงเวลาและค่าล่วงเวลาในวันหยุดในงานเร่ขายหรือชักชวนซื้อสินค้า ค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปี เงินชดเชยกรณีนายจ้างจำเป็นต้องหยุดกิจการ การเลิกจ้างโดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย การย้ายสถานประกอบกิจการ การฝ่าฝืนคำสั่งให้จ่ายเงินของพนักงานตรวจแรงงาน และสิทธิในการอุทธรณ์คำสั่งของพนักงานตรวจแรงงาน ผลการศึกษาพบว่า จากการแก้ไขพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ ๒) และ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๑ มีทั้งข้อดีและข้อเสียซึ่งผู้วิจัยได้กล่าวไว้โดยละเอียดในบทที่ ๔ พร้อมสรุปและข้อเสนอแนะในการปรับปรุงกฎหมายคุ้มครองแรงงานแล้ว หวังว่างานวิจัยฉบับนี้จะเป็นประโยชน์แก่ผู้สนใจกฎหมายคุ้มครองแรงงานอยู่บ้างตามสมควรen_US
dc.identifier.urihttps://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/1813
dc.publisherมหาวิทยาลัยศรีปทุมen_US
dc.subjectการแก้ไขกฎหมายคุ้มครองแรงงานen_US
dc.subjectสิทธิของลูกจ้างen_US
dc.titleผลกระทบอันเกิดจากการแก้ไขกฎหมายแรงงาน; ศึกษาเปรียบเทียบพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑ กับพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ ๒) และ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๑en_US
dc.typeThesisen_US

ไฟล์

ชุดต้นฉบับ
ตอนนี้กำลังแสดง1 - 1 ของ 1
กำลังโหลด...
รูปภาพขนาดย่อ
ชื่อ:
51 อ.เจียมจิต.pdf
ขนาด:
3.69 MB
รูปแบบ:
Adobe Portable Document Format
มัดใบอนุญาต
ตอนนี้กำลังแสดง1 - 1 ของ 1
ไม่มีรูปขนาดย่อ
ชื่อ:
license.txt
ขนาด:
1.73 KB
รูปแบบ:
Item-specific license agreed upon to submission
คำอธิบาย: