การบำรุงรักษาเชิงแก้ไข(นั่งร้านแบบริงล็อค)

เชิงนามธรรม

โครงงานนี้มีวัตถุประสงค์ในการทำ Corrective Maintenance วิเคราะห์และซ่อมบำรุงแบบมีการวางแผนให้เป็นระบบ เพื่อหาสาเหตุของปัญหาและแนวทางการแก้ไขในการซ่อมบำรุง ในการทำโครงการนี้เริ่มจากการศึกษาข้อมูลปัจจุบันของบริษัทกรณีศึกษาโดยใช้การสังเกต สอบถาม สัมภาษณ์และจดบันทึกข้อมูลจากพนักงานบริษัท การศึกษาขั้นต้นจะทำการหาเก็บข้อมูลปัญหาที่เกิดขึ้นมากที่สุดในการซ่อมบำรุง โดยเก็บข้อมูลจากสถิติสรุปผลในเดือนกันยายน-ธันวาคม 2560 ของบริษัทกรณีการซอมบำรุงในรูปแบบเก่า เพื่อหาสาเหตุที่เกิดขึ้นบ่อยที่สุดและมีการเสียมากที่สุด จากนั้นได้ศึกษาการกระบวนการซ่อมบำรุงแบบการทำ Corrective Maintenance จากการได้พบปัญหาข้อบกพร่องแล้วได้นำมาทำการวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้นเพื่อหาปัจจัยหลักที่ทำให้เกิดปัญหาโดยใช้ทฤษฎีของ แผนภูมิพาเรโตในการหาชิ้นงานที่ผิดพลาดมากที่สุด แล้วจึงนำแผนภูมิก้างปลาเข้ามาช่วยในการหาสาเหตุที่แท้จริง

คำอธิบาย

โครงงานสหกิจศึกษา

คำหลัก

Corrective Maintenance, แผนภูมิพาเรโต, แผนภูมิก้างปลา

การอ้างอิง

นที ปิ่นวงษ์เพชร. 2560. "การบำรุงรักษาเชิงแก้ไข(นั่งร้านแบบริงล็อค)." ผลงานนักศึกษาวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม.