สถาบันอุดมศึกษากับแนวทางการประกันคุณภาพการศึกษา
กำลังโหลด...
วันที่
2550
ผู้เขียน
ชื่อวารสาร
วารสาร ISSN
ชื่อหนังสือ
สำนักพิมพ์
เชิงนามธรรม
ในสังคมของกลุ่มคนที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา ทุกคนคงปฏิเสธไม่ได้ว่ารู้จักหรือคุ้นเคยกับ
“การประกันคุณภาพการศึกษา”
มาตรฐานการศึกษาระดับอุดมศึกษาจะเป็นข้อกำหนดเกี่ยวกับคุณลักษณะ คุณภาพที่พึงประสงค์
ที่ต้องการให้เกิดขึ้นในสถานศึกษาระดับอุดมศึกษาทุกแห่ง เพื่อใช้ในการเทียบเคียงสำหรับเพื่อให้เกิดการส่งเสริมและกำกับดูแล การตรวจสอบ การประเมินผล และการพัฒนาคุณภาพการศึกษาระดับอุดมศึกษาต่อไป
การประกันคุณภาพการศึกษาระดับอุดมศึกษามีทั้งการประกันคุณภาพภายใน เป็นการตรวจประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ที่เป็นการประเมินผลและการติดตามตรวจสอบคุณภาพโดยบุคลากรของสถานศึกษาแห่งนั้น และการประกันคุณภาพภายนอก ที่เป็นการประเมินคุณภาพการจัดการศึกษา มีการตรวจประเมินคุณภาพการศึกษาภายนอก ซึ่งกระทำโดยสำนักรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา(สมศ.) หรือผู้ประเมินภายนอกแล้วแต่กรณี ทำให้การประกันคุณภาพการผลิตบัณฑิตในปัจจุบันอ้างอิงถึงเกณฑ์มาตรฐานเดียวกันและกำหนดตัวบ่งชี้ชุดเดียวกันซึ่งช่วยให้ระบบอุดมศึกษามีเอกภาพได้ดี(เทียนฉาย กีระนันทน์. 2548 : 11)
รูปแบบที่ใช้กันทั่วไปเพื่อให้เกิดการพัฒนาปรับปรุงคุณภาพการศึกษาที่ใช้กันมากคือการประเมินเชิงพัฒนาตาม PDCA (Plan = วางแผน, Do = ปฏิบัติ, Check = ตรวจสอบ และ Act = ปรับปรุง) และการประเมินเชิงเทียบสมรรถนะ(benchmark) (ประดิษฐ์ มีสุข. 2546 : 3)
แต่โดยทั่วไปจะพบว่าไม่ว่าจะเป็นการประกันคุณภาพภายในหรือภายนอกก็ตาม จะเป็นการเตรียมการแบบผักชีโรยหน้ามากกว่าทำเพื่อปรับปรุงคุณภาพการศึกษา
การประกันคุณภาพการศึกษาเป็นกระบวนการที่นำไปสู่การพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา มิใช่การดำเนินการเพื่อเพียงแต่การตรวจสอบจากแฟ้ม จากเอกสารที่ได้รวบรวมเอาไว้ เพื่อให้ผู้ตรวจประเมินได้ตรวจสอบหลักฐานและใช้อ้างอิงเท่านั้น แต่ควรมุ่งเน้นที่การปฏิบัติจริง ปรับปรุงอย่างต่อเนื่องเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผล
ดังนั้นผู้เขียนจึงขอประมวลความเข้าใจในความสำคัญของการประกันคุณภาพการศึกษา ตลอดจนหลักการและแนวทางในการประกันคุณภาพการศึกษาและสภาพการประกันคุณภาพการศึกษาระดับอุดมศึกษาในปัจจุบัน สุดท้ายที่ประเด็นคำถามหรือปัญหาของการประกันคุณภาพการศึกษา
คำอธิบาย
คำหลัก
การประกันคุณภาพการศึกษา