Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/1046
Title: การศึกษาความหนาแน่นต่อหน่วยพักอาศัยเพื่อสภาวะความสบายทางอุณหภูมิของอาคารประเภทแฟลต
Other Titles: A STUDY OF THE LIVING DENSITY PER UNIT FOR THERMAL COMFORT IN FLAT-TYPE RESIDENCE CASE STUDY : DINDAENG HOUSING PROJECT, BANGKOK.
Authors: กัญจนี ญาณะชัย
Issue Date: 2550
Abstract: โครงการวิจัย นี้เป็นการหาคำตอบในเรื่องการกำหนดค่าความหนาแน่นเพื่อการอยู่อาศัยที่เกี่ยวเนื่องกับสภาพภูมิอากาศในแต่ละพื้นที่ที่มีอย่างเฉพาะเจาะจง รวมทั้งพฤติกรรมในการประกอบกิจกรรมต่างๆ และสภาพแวดล้อมทางกายภาพของสถานที่ที่นำมาพิจารณา เริ่มต้นขบวนการศึกษาโดยการค้นหาค่าปริมาตรที่ว่างที่เหมาะสมของแต่ละพฤติกรรม ภายใต้ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงของค่าปริมาตรดังกล่าว เพื่อนำไปสู่การสรุปผลการวิจัยในเรื่องการกำหนดค่าความหนาแน่นในการอยู่อาศัยต่อหน่วย รวมทั้งยกแฟลตดินแดงเป็นกรณีศึกษา เพื่อการเปรียบเทียบค่าความหนาแน่นที่หน่วยราชการกำหนด 1. ศึกษาข้อมูลการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศ ในแต่ละเดือน แต่ละปี และราย 3 ชั่วโมง 2. ศึกษาขบวนการชีวะภาพของการเผาผลาญอาหารภายในร่างกายของมนุษย์ผู้ชาย ซึ่งนำไปสู่การผลิตความร้อน ที่แปรตามพฤติกรรมที่เกิดขึ้นขณะนั้น เช่น อัตราค่าเฉลี่ยการเผาผลาญอาหารต่อคน ที่แปรตามพฤติกรรม ของการนอนหลับ มีค่าเท่ากับ 70 กิโลแคลอรีต่อชั่วโมง, การนั่งพักผ่อน มีค่าเท่ากับ 100 กิโลแคลอรีต่อชั่วโมง และพฤติกรรมการทำงานเบาๆมีค่าเท่ากับ 120 กิโลแคลอรีต่อชั่วโมง 3. ศึกษาขบวนการแลกเปลี่ยนความร้อน ระหว่างผิวกายรอบนอก ของมนุษย์และอากาศที่อยู่รอบๆโดยการแผ่รังสี การพาความร้อน และการระเหยกลายเป็นไอ 4. ศึกษาผลที่เกิดเนื่องมาจากสภาพภูมิอากาศท้องถิ่น ลักษณะสภาพแวดล้อมทางกายภาพของบริเวณที่ตั้งอาคารในโครงการ รวมทั้งปริมาตรของหน่วยพักอาศัย 5. ศึกษาสองทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง ดังนี้ ทฤษฎีแรกเกี่ยวกับดัชนีสภาวะความสบายทางอุณหภูมิ เรียก The index of thermal stress (ITS.) ซึ่งเป็นทฤษฎีการจำลองชีวะภาพที่อธิบายถึงค่ากลไกความร้อนที่เปลี่ยนแปลงระหว่างร่างกายและสภาพแวดล้อม โดยใช้ทฤษฎี Thermal Stress Index (ITS.) ดังแสดงข้างล่าง S = M – 0.2 (m-100)   V 0.3 ( ta – 350 ) e 0.6( E/Emax – 0.12 ) และทฤษฎีสภาวะความสบายด้วยการระบายอากาศส่วนทฤษฎีที่สองจะเกี่ยวกับสภาวะความสบายที่เกิดจากการระบายความร้อน แสดงถึงสภาพของร่างกายที่ไม่มีความชื้นที่ผิวรอบนอกของร่างกาย ซึ่งขึ้นอยู่กับสภาวะของอากาศที่เคลื่อนที่ในขณะนั้น อัตราการพาความร้อน และปริมาตรอากาศที่แวดล้อม S = (1300 x ACH x Volumetric Space/Person x  T) / 3600 6. สรุปผลค่าความหนาแน่นของผู้อาศัยต่อหน่วยโดยนำค่าผลสรุปปริมาตรต่อคน นำมาใช้กับปริมาตรของห้องอเนกประสงค์ และในที่สุดนำมาเปรียบเทียบค่าความหนาแน่นที่หน่วยราชการกำหนด
URI: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/1046
Appears in Collections:บทความที่นำเสนอในการประชุมวิชาการ ปีการศึกษา 2550

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
กัญจนี ญาณะชัย.pdf129.77 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.