กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/1129
ชื่อเรื่อง: สีสกัดจากใบมังคุดเพื่อการมัดย้อมและบาติก
ชื่อเรื่องอื่นๆ: TIED-DYE AND BATIK COLORS FROM THE EXTRACTING OF GARCINIA MANGOSTANA LINN. GUFFIFERAE (MANGOSTEEN LEAVES)
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: เสาวนิตย์ กาญจนรัตน์
คำสำคัญ: การสกัดสี
บาติก
ใบมังคุด
มัดย้อม
วันที่เผยแพร่: 2550
บทคัดย่อ: มังคุดเป็นพืชเศรษฐกิจที่ปลูกมากที่สุดในเขตพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราช เพื่อเป็นการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุดใบมังคุดจึงถูกนำมาสกัดทำเป็นสีย้อมผ้าใช้ในงานหัตถกรรมสิ่งทอพื้นบ้าน งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการสกัดสีจากใบมังคุดใช้เป็นสีสำหรับทำมัดย้อมและทำบาติกอย่างเป็นระบบ โดยวิธีการต้มใบมังคุดสด ใบมังคุดสดหมัก และใบมังคุดสดต้มแล้วหมัก (เวลาในการหมัก 9 วัน) แล้วกรองแยกน้ำกับกากใบมังคุด น้ำสีที่ได้นำมาย้อมร้อนและย้อมเย็นลงบนผ้าดิบไม่ฟอก และเพื่อให้สีติดบนผ้าได้ทนนานจึงนำผ้าจุ่มลงในน้ำปูนขาวซึ่งเป็นสารช่วยติดสีและปรับสภาพความเป็นกรดด่าง เครื่องวัดค่าความเข้มของสีระบบ CIE ถูกนำมาใช้ในการวัดค่าความเข้มข้นน้ำสีก่อนย้อมลงบนผ้า สีบนผ้าหลังการย้อมร้อน และย้อมเย็น จากการทดลองจะพบว่าน้ำสีก่อนย้อมจากการต้มใบสดเป็นสีน้ำตาลแต่ให้สีบนผ้าจากการย้อมร้อนและย้อมเย็นเป็นสีน้ำตาลแดงและสีส้มตามลำดับ ในขณะที่การต้มใบสดหมักได้น้ำสีย้อมเป็นสีน้ำตาลเข้มซึ่งให้สีบนผ้าหลังย้อมร้อนเป็นสีน้ำตาลคล้ำและสีบนผ้าหลังย้อมเย็นเป็นสีส้มเข้ม สำหรับการต้มใบสดต้มหมักได้สีน้ำย้อมเป็นสีม่วงดำ สีบนผ้าหลังย้อมร้อนเป็นสีม่วงคล้ำและสีบนผ้าหลังย้อมเย็นเป็นสีม่วงเข้มเหมือนเปลือกมังคุดสุก ดังนั้น สรุปผลการวิจัยได้ว่าการสกัดสีจากใบมังคุดเพื่อใช้ทำมัดย้อมและบาติกสามารถใช้วิธีการต้มตามแบบภูมิปัญญาดั้งเดิมได้อย่างเป็นระบบด้วยอัตราส่วนต่างๆ ซึ่งจะให้ค่าความเข้มข้นของสีย้อมแตกต่างกันตามลำดับมากไปน้อยดังนี้คือ สีน้ำก่อนย้อม สีบนผ้าย้อมเย็นและสีบนผ้าย้อมร้อน
URI: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/1129
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:บทความที่นำเสนอในการประชุมวิชาการ ปีการศึกษา 2550

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
เสาวนิตย์ กาญจนรัตน์.pdf232.82 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น