กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/1150
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยที่มีผลต่ออุปสงค์ของโทรศัพท์เคลื่อนที่ของนิสิต-นักศึกษาในระดับอุดมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร
ชื่อเรื่องอื่นๆ: FACTORS AFFECTING ON DEMAND FOR MOBILE PHONE OF UNIVERSITY STUDENTS IN BANGKOK METROPOLIS
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สุภาวดี, ฮะมะณี
คำสำคัญ: อุปสงค์
โทรศัพท์เคลื่อนที่
วันที่เผยแพร่: 2550
บทคัดย่อ: การศึกษา “ปัจจัยที่มีผลต่ออุปสงค์ของโทรศัพท์เคลื่อนที่ของนิสิต-นักศึกษาในระดับอุดมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาข้อมูลทั่วไป ศึกษาพฤติกรรมการใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่ออุปสงค์ของโทรศัพท์เคลื่อนที่ ควรทดสอบสมมติฐานและศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ของนิสิต-นักศึกษาที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง การศึกษาครั้งนี้ได้ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างจากนิสิต-นักศึกษาระดับปริญญาตรีที่อยู่ในเขตกรุงเทพมหานครที่ใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ โดยใช้แบบสอบถามจำนวน 400 ชุด โดยทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และการทดสอบสมมติฐานด้วย t-test และ F-test ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุระหว่าง 19-22 ปี ไม่เป็นนักศึกษากองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษาได้รับรายได้จากบิดา-มารดาโดยเฉลี่ยเดือนละ3,000-4,999 บาทโดยผู้ปกครองมีรายได้เฉลี่ยเดือนละ 20,000-39,999 บาท ส่วนใหญ่ใช้โทรศัพท์ยี่ห้อ Nokia ระบบ Orange ชำระค่าบริการโดยใช้บัตรเติมเงิน เวลาที่ใช้เฉลี่ย 5-14 นาทีต่อครั้ง ในช่วงเวลา 18.00-21.00 น. โดยใช้ 3-6 ครั้งต่อวันและใช้ติดต่อกับเพื่อนมากที่สุด เหตุผลสำคัญที่เลือกใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ลำดับแรกคือ เพื่อความสะดวกรวดเร็ว บริการเสริมที่ใช้มากที่สุดคือการแสดงหมายเลขรับสายและส่วนใหญ่เห็นว่าการมีโทรศัพท์เคลื่อนที่เป็นสิ่งจำเป็น ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีอิทธิพลต่ออุปสงค์โทรศัพท์เคลื่อนที่มากที่สุด คือ ปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับประสิทธิภาพการใช้งาน สำหรับปัจจัยด้านราคากลุ่มตัวอย่างจะให้ความสำคัญเรื่องราคาเครื่องโทรศัพท์เคลื่อนที่ ปัจจัยด้านสถานที่และช่องทางการจัดจำหน่ายกลุ่มตัวอย่างจะให้ความสำคัญเรื่องความน่าเชื่อถือของร้านที่จำหน่ายและปัจจัยด้านการส่งเสริมการขายให้ความสำคัญในเรื่องการบริการหลังการขาย จากการทดสอบสมมติฐานพบว่า ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ สถานภาพเป็นนักศึกษากองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษา และรายได้เฉลี่ยต่อเดือนของนักศึกษา มีความสัมพันธ์กับปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อโทรศัพท์เคลื่อนที่ 3 ปัจจัย ได้แก่ ด้านผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับฟังก์ชั่นการใช้งานและตรายี่ห้อ ด้านราคาเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายในการซ่อมบำรุง และด้านการส่งเสริมการขายเกี่ยวกับการมีโบนัสพิเศษ การศึกษาปัญหาและอุปสรรคของการใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่พบว่าสัญญาณเครือข่ายไม่ชัดเจน และราคาเครื่องโทรศัพท์ใหม่แพง
URI: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/1150
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:บทความที่นำเสนอในการประชุมวิชาการ ปีการศึกษา 2550

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
สุภาวดี ฮะมะณี.pdf164.25 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น