กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/1173
ชื่อเรื่อง: การเสียสิทธิทางกฎหมายของบุคคลล้มละลายในธุรกิจ
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ธนเดช อังคะนาวิน
คำสำคัญ: กฎหมาย
บุคคลล้มละลาย
การเสียสิทธิ
ธุรกิจ
วันที่เผยแพร่: 23-มิถุนายน-2551
บทคัดย่อ: การศึกษาค้นคว้ามีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาข้อจำกัดของบุคคลล้มละลายภาคเอกชน เรื่องการเสียสิทธิของลูกจ้างในภาคเอกชนนั้นหากตกเป็นบุคคลล้มละลาย ก็ยังเป็นปัญหาในทางปฏิบัติอยู่ว่าควรจะดำเนินการอย่างไรกับบุคคลเหล่านั้น เพราะบางบริษัทก็กำหนดเป็นคุณสมบัติไว้ บางบริษัทก็ไม่กำหนดไว้ในข้อบังคับการทำงาน ดังนั้นเมื่อมีการเลิกจ้างจะถือว่าขัดต่อกฎหมายหรือไม่ และจะต้องจ่ายค่าชดเชยหรือค่าเสียหายต่างๆ รวมถึงการต้องบอกกล่าวล่วงหน้าหรือไม่ซึ่งยังไม่มีการบัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 ไว้แต่อย่างใด อีกทั้งยังไม่เคยมีคำพิพากษากำหนดเป็นบรรทัดฐานเอาไว้ จึงควรที่จะมีการกำหนดสิทธิของลูกจ้าง ไว้ให้ชัดเจนเพื่อเป็นผลดีต่อทุกๆ ฝ่ายในอนาคตต่อไป การศึกษาข้อจำกัดของบุคคลล้มละลายภาคราชการ พบว่า สิทธิและสถานภาพของบุคคลล้มละลายซึ่งเป็นข้าราชการนี้ นอกจากจะต้องออกจากราชการแล้ว เงินเดือน บำเหน็จ บำนาญ เบี้ย-หวัด หรือเงินอื่นๆ ก็จะต้องถูกเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มารับเงินดังกล่าวไป เพื่อรวบรวมไปชำระแก่เจ้าหนี้ เพื่อให้ลูกหนี้ผู้ล้มละลายหลุดพ้นจากการล้มละลายโดยเร็ว แต่ในความเป็นจริงแทบจะทำไม่ได้เลย เพราะข้าราชการผู้ล้มละลายนั้น ขาดทั้งสถานภาพทางสังคมและขาดทั้งรายได้จากการรับราชการเนื่องจากต้องออกจากราชการ จึงทำให้การหลุดพ้นจากการล้มละลายทำได้ยากยิ่งขึ้น การศึกษาข้อจำกัดของบุคคลล้มละลายภาคการเมือง ในทางการเมืองควรมีการเปิดกว้างในเรื่องคุณสมบัติของผู้ลงสมัครเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา และผู้แทนราษฎร โดยเปิดโอกาสให้บุคคลล้มละลายสามารถสมัครรับเลือกตั้งได้ เพราะผู้ที่จะตัดสินก็คือ ประชาชน ไม่ใช่ถูกจำกัดสิทธิ โดยข้อห้ามของกฎหมายรัฐธรรมนูญฉบับที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ในเรื่องการเสียสิทธิและสถานภาพของบุคคลล้มละลายในภาคราชการและการเมืองนั้นหากเป็นบุคคลล้มละลาย ไม่ว่าจะเป็นข้าราชการประเภทใด ระดับใด ตำแหน่งอะไร ก็จะต้องถูกออกจากราชการโดยทันที โดยไม่มีข้อยกเว้นใดๆ ทั้งสิ้น เพราะถือว่าขาดคุณสมบัติข้าราชการพลเรือน ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการ พลเรือน พ.ศ.2535 เช่นเดียวกับข้าราชการการเมือง ซึ่งหากเป็นบุคคลล้มละลายไม่ว่าจะอยู่ในฐานะใด ก็ต้องพ้นสภาพการเป็นข้าราชการการเมืองโดยทันที โดยไม่มีข้อยกเว้นใดทั้งสิ้นซึ่งเป็นไปตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540 การศึกษาค้นคว้านี้ ได้กระทำโดยการศึกษาจากเอกสาร ระเบียบต่างๆ ข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ซึ่งโดยทั่วไปพบว่าส่วนใหญ่ยังเห็นว่าไม่ควรมีการจำกัดสิทธิของบุคคลล้มละลายอย่างที่เป็นอยู่ แต่เนื่องจากไม่มีระเบียบกฎหมายกำหนดห้ามไว้ จึงต้องกระทำตามระเบียบข้อกำหนดของกฎหมายเดิมไปก่อนจนกว่าจะมีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่น ผู้ศึกษาค้นคว้าได้เสนอแนวทางในการพิจารณาแก้ไข การเสียสิทธิของบุคคลล้มละลายในสังคมไทยไว้ทั้งในภาคเอกชน ภาคราชการ และภาคการเมือง เพื่อใช้เป็นแนวทางที่อาจเป็นประโยชน์ต่อเจ้าหน้าที่ ผู้ประกอบการ ผู้บริหาร และเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้ปฏิบัติ รวมทั้ง นักกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เพื่อเป็นแนวทางพิจารณาต่อไป
URI: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/1173
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:สารนิพนธ์

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
title.pdf22.66 kBAdobe PDFดู/เปิด
abstract.pdf55.47 kBAdobe PDFดู/เปิด
null29.48 kBAdobe PDFดู/เปิด
cont.pdf34.33 kBAdobe PDFดู/เปิด
chap1.pdf90.05 kBAdobe PDFดู/เปิด
chap2.pdf141.62 kBAdobe PDFดู/เปิด
chap3.pdf175.95 kBAdobe PDFดู/เปิด
chap4.pdf113.24 kBAdobe PDFดู/เปิด
chap5.pdf64.72 kBAdobe PDFดู/เปิด
bib.pdf46.26 kBAdobe PDFดู/เปิด
appen.pdf71.33 kBAdobe PDFดู/เปิด
profile.pdf28.9 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น