Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/1185
Title: ปัญหาเกี่ยวกับการนำสืบพิสูจน์ค่าเสียหายในคดีละเมิดลิขสิทธิ์
Authors: มิตรชาย ก่ำทอง
Keywords: ค่าเสียหาย
ละเมิดลิขสิทธิ์
ลิขสิทธิ์
Issue Date: 1-July-2551
Abstract: การศึกษาในเรื่อง “ปัญหาเกี่ยวกับการนำสืบพิสูจน์ค่าเสียหายในคดีละเมิดลิขสิทธิ์” ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 ผู้ศึกษามีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาถึงบทบัญญัติทางกฎหมายในเรื่องปัญหาเกี่ยวกับการนำสืบพิสูจน์ค่าเสียหาย ในคดีละเมิดลิขสิทธิ์ตามกฎหมายไทย และกฎหมายต่างประเทศ เพื่อให้ได้มาซึ่งแนวทางในการแก้ไข ปรับปรุง กฎหมายลิขสิทธิ์ของไทย โดยข้อมูลที่นำมาเป็นฐานในการศึกษานี้ ได้มาจากบทบัญญัติทางกฎหมาย ตำราทางวิชาการ บทความ เอกสารสัมมนา และคำพิพากษาของศาลต่างๆที่เกี่ยวข้อง รวมถึงความสัมพันธ์กับเรื่องปัญหาในการนำสืบพิสูจน์ค่าเสียหายในคดีละเมิดลิขสิทธิ์ทั้งของประเทศไทย และต่างประเทศเป็นสำคัญ ผลการศึกษาพบว่า การที่พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ของไทย ฉบับที่ใช้ในปัจจุบัน เป็นการบังคับเกี่ยวกับกรณีที่เกิดจากการละเมิดลิขสิทธิ์โดยตรง และก็ไม่ได้บัญญัติหลักเกณฑ์ที่ว่าด้วยการกำหนดค่าเสียหายประเภทต่าง ๆ รวมถึงปัญหา และวิธีการนำสืบพิสูจน์ค่าเสียหายไว้ อันมีผลทำให้ศาล และคู่ความในคดีไม่มีหลักเกณฑ์ที่ชัดเจนเพียงพอสำหรับใช้เป็นแนวทางในการแก้ปัญหาการนำสืบพิสูจน์ของค่าเสียหายได้อย่างเหมาะสมกับข้อพิพาท ซึ่งในกรณีที่ได้เกิดการละเมิดลิขสิทธิ์ขึ้น ในประเด็นในเรื่องเดียวกันนี้ กฎหมายต่างประเทศจะมีหลักเกณฑ์ทางกฎหมายที่มีความชัดเจนและสมบูรณ์มากกว่าของไทย อำนาจของศาลนั้นเป็นอำนาจอิสระ และเป็นดุลพินิจของศาลแต่ละท่าน ดังนั้น เมื่อมีหลักเกณฑ์ขึ้นมาแล้วศาลซึ่งเป็นผู้พิจารณาคดีจะได้มีแนวทางในการใช้ดุลพินิจกำหนดค่าเสียหายที่เป็นธรรมแก่ผู้เสียหายตามความเป็นจริง เพราะศาลจะต้องรับฟังพยานหลักฐานรูปแบบใหม่ ๆ ที่มีความสลับซับซ้อน และมีปริมาณของข้อมูลต่าง ๆ มากกว่าคดีทั่ว ๆไป ประเทศไทยจึงควรศึกษา และนำหลักเกณฑ์ของกฎหมายต่างประเทศดังกล่าวมาวิเคราะห์ เพื่อปรับใช้เป็นแนวทาง การพัฒนา และแก้กฎหมายของประเทศไทยในเรื่องเดียวกันต่อไป สารนิพนธ์นี้ มีข้อเสนอแนะให้มีการแก้ไขเพิ่มเติม พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 64 และมาตรา 65 และข้อกำหนดคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2540 ข้อ 12 โดยบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมให้ชัดเจนถึงคำร้องว่าควรจะเป็นคำขอฝ่ายเดียว และการบัญญัติให้สิทธิแก่จำเลย หรือบุคคลที่ถูกกล่าวอ้างว่าได้กระทำละเมิด สามารถทำการยื่นคำร้องเปลี่ยนแปลงคำสั่งให้ระงับ หรือละเว้นการกระทำ และการให้วางประกันความเสียหายอันจะเกิดขึ้นได้ รวมถึงการบัญญัติถึงระยะเวลาสิ้นสุดของคำสั่งให้ระงับ หรือละเว้นการกระทำ โดยควรมีการบัญญัติให้มีหลักเกณฑ์ทางกฎหมายในเรื่องประเภท หรือลักษณะของค่าเสียหาย อันเนื่องมาจากการทำละเมิด หลักเกณฑ์ และวิธีการเกี่ยวกับปัญหาการนำสืบพิสูจน์ค่าเสียหายในคดีแต่ละประเภท รวมถึงการกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ มาตรการการบังคับพยานที่มาให้เป็นพยาน หรือบันทึกถ้อยคำไว้แล้วไม่มาศาล เพื่อให้ศาลได้ใช้ดุลพินิจเพิ่มเติม ให้คำพิพากษาของศาลมีความชัดเจน และเป็นบรรทัดฐานเดียวกัน
URI: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/1185
Appears in Collections:สารนิพนธ์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
title.pdf27.43 kBAdobe PDFView/Open
abstract.pdf55.77 kBAdobe PDFView/Open
null25.45 kBAdobe PDFView/Open
cont.pdf38.12 kBAdobe PDFView/Open
chap1.pdf84.83 kBAdobe PDFView/Open
chap2.pdf239.16 kBAdobe PDFView/Open
chap3.pdf304.85 kBAdobe PDFView/Open
null116.12 kBAdobe PDFView/Open
chap5.pdf87.72 kBAdobe PDFView/Open
bib.pdf58.02 kBAdobe PDFView/Open
profile.pdf29.94 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.