กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/1364
ชื่อเรื่อง: แนวปฏิบัติการบัญชีบริหารและผลต่อการเพิ่มขึ้นด้านผลการดำเนินงานของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในเขตกรุงเทพมหานคร
ชื่อเรื่องอื่นๆ: MANAGERIAL ACCOUNTING PRACTICES AND EFFECT ON INCRESING PERFORMANCE OF SMALL AND MEDIUM ENTERPRISES IN BANGKOK METROPOLITANCE AREA
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: พรทิพย์, ชุ่มเมืองปัก
คำสำคัญ: การบัญชีบริหาร
ผลการดำเนินงาน
วิสาหกิจขนาดกลาง
วิสาหกิจขนาดย่อม
วันที่เผยแพร่: 2548
บทคัดย่อ: จากการที่รัฐบาลได้ให้ความสำคัญกับการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในประเทศไทย การบัญชีบริหารจึงมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาและสร้างความสามารถในการแข่งขันทาง การค้ากับประเทศอื่น ๆ โดยการนำข้อมูลการบัญชีบริหารใช้สำหรับการวางแผน การควบคุม และ การตัดสินใจในการดำเนินวิสาหกิจ การศึกษาเรื่อง “แนวปฏิบัติการบัญชีบริหารและผลต่อการเพิ่มขึ้นด้าน ผลการดำเนินงานของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในเขตกรุงเทพมหานคร จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา แนวปฏิบัติการบัญชีบริหาร ประโยชน์และสภาพปัญหาจากการนำแนวคิดการบัญชีบริหารไปปฏิบัติในสถานประกอบการของวิสาหกิจฯ ในการศึกษาครั้งนี้ได้เก็บข้อมูลจากวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 297 ราย และจากการสำรวจโดยใช้แบบสอบถามที่ผ่านการตรวจสอบความเที่ยงตรงตามเนื้อหาและ การวิเคราะห์ความเชื่อมั่นโดยใช้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาได้เท่ากับ 0.8202 ทำการวิเคราะห์ข้อมูลจาก แบบสอบถามที่ได้เก็บรวบรวมจากกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้สถิติเชิงบรรยาย ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้สถิติเชิงสรุปอ้างอิง ได้แก่ การวิเคราะห์ความแปรปรวน ค่าสถิติที ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุ ในการหาคำตอบ ซึ่งพบว่า วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในเขตกรุงเทพมหานครที่ตอบแบบสอบถามได้นำแนวคิดการบัญชีบริหารไปใช้ในสถานประกอบการและประเมินประโยชน์จากการใช้มากที่สุด ได้แก่ แนวคิดการคำนวณต้นทุน รองลงไปเป็น แนวคิดการจัดทำงบประมาณและแนวคิดการวิเคราะห์กระแสเงินสด ตามลำดับ ในส่วนของการจัดเตรียม รายงาน วิสาหกิจฯ ได้จัดเตรียมรายงานการบัญชีบริหารโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนำไปวางแผน ควบคุม และ ตัดสินใจในการดำเนินวิสาหกิจฯ โดยใช้ระยะเวลาตามความต้องการ นอกจากนี้ ยังนำข้อมูลการบัญชีบริหาร ไปใช้ในกิจกรรมการดำเนินวิสาหกิจฯ ในด้านการจัดซื้อวัตถุดิบ/สินค้า ด้านการเงิน และด้านการตลาด ซึ่ง ส่งผลต่อการเพิ่มขึ้นด้านผลการดำเนินงานของวิสาหกิจฯ ได้แก่ การเพิ่มขึ้นของยอดขาย กำไรขั้นต้น อัตรากำไรสุทธิต่อยอดขายและอัตราผลตอบแทนจากการลงทุน และการลดลงของต้นทุน สำหรับสภาพปัญหา จากการนำแนวคิดการบัญชีบริหารไปใช้ในสถานประกอบการวิสาหกิจฯ ได้แก่ แนวคิดการคำนวณต้นทุน คือ การไม่ทราบต้นทุนสินค้า/บริการที่แน่นอน แนวคิดการวิเคราะห์กระแสเงินสด คือ การไม่ชำนาญในการวิเคราะห์ และแนวคิดการจัดทำงบประมาณ คือ การไม่สามารถดำเนินการตามงบประมาณที่ได้วางแผนไว้
รายละเอียด: ได้รับทุนอุดหนุนงานวิจัยสำหรับบุคลากรภายใน ปีการศึกษา 2547
URI: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/1364
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัยมหาวิทยาลัยศรีปทุม

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
47 พรทิพย์.pdfรายงานวิจัย1.38 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น