กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/1527
ชื่อเรื่อง: องค์ประกอบที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาแคลคูลัส 1 ของนักศึกษาหลักสูตรวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันอุดมศึกษาเอกชน ในเขตกรุงเทพมหานคร
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Factors Influencing the Achievement in Calculus I of Engineering Program Students in Private Universities in Bangkok
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ธัญกร คำแวง
คำสำคัญ: องค์ประกอบที่มีอิทธิพล
ผลสัมฤทธิ์
วันที่เผยแพร่: 2552
บทคัดย่อ: การวิจัยเรื่อง “องค์ประกอบที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาแคลคูลัส 1 ของนักศึกษาหลักสูตรวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันอุดมศึกษาเอกชน ในเขตกรุงเทพมหานคร” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบ ทางด้านครอบครัว ด้านแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ ด้านเจตคติต่อการเรียน ด้านพฤติกรรมการเรียน ด้านการปรับตัวของนักศึกษา ด้านความสัมพันธ์กับกลุ่มเพื่อน ด้านการบริการของสถานศึกษา ที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาแคลคูลัส 1 ของนักศึกษาหลักสูตรวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันอุดมศึกษาเอกชน ในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 8 แห่ง ตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ นักศึกษาหลักสูตรวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันอุดมศึกษาเอกชน ในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 8 แห่ง ที่เรียนวิชาแคลคูลัส 1 ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2551 รวม 360 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม ตอนที่ 1 เป็นคำถามเกี่ยวกับข้อมูลทั่วไปของนักศึกษา ตอนที่ 2 เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับองค์ประกอบทางการเรียน คือ ด้านครอบครัว ด้านแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ ด้านเจตคติต่อการเรียน ด้านพฤติกรรมการเรียน ด้านการปรับตัวของนักศึกษา ด้านความสัมพันธ์กับกลุ่มเพื่อน ด้านการบริการของสถานศึกษา โดยลักษณะของแบบสอบถามเป็นแบบมาตรส่วนประมาณค่า (Rating Scale) สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยใช้วิธีการหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบพหุคูณ (Multiple Regression) การศึกษาองค์ประกอบที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาแคลคูลัส 1 และการหาค่าสัมประสิทธิ์ในการพยากรณ์ ใช้วิธีวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบปกติ (Enter Multiple Regression) และการคัดเลือกองค์ประกอบที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่ดีที่สุด ใช้วิธีวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน (Stepwise Multiple Regression) ผลการศึกษาพบว่า 1. องค์ประกอบที่มีความสัมพันธ์ทางบวก ต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชา แคลคูลัส 1 มีระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ได้แก่ องค์ประกอบด้านครอบครัว (X1) ด้านแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ (X2) ด้านพฤติกรรมการเรียน (X4) ด้านการปรับตัวของนักศึกษา (X5) ด้านความสัมพันธ์กับกลุ่มเพื่อน (X6) 2. องค์ประกอบที่มีความสัมพันธ์ทางลบ ต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชา แคลคูลัส 1 มีระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ได้แก่ องค์ประกอบทางด้านเจตคติต่อการเรียน (X3) ด้านการบริการของสถานศึกษา (X7) 3. การศึกษาองค์ประกอบที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาแคลคูลัส 1 ของนักศึกษาหลักสูตรวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันอุดมศึกษาเอกชน ในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 8 แห่ง โดยการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน (Stepwise Multiple Regression) เพื่อคัดเลือกองค์ ประกอบที่ดีที่สุด พบว่า มีองค์ประกอบเพียง 4 ด้าน โดยเรียงลำดับจากตัวพยากรณ์ที่ส่งผลมากไปน้อย คือ ด้านแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ (X2) ด้านความสัมพันธ์กับกลุ่มเพื่อน (X6) ด้านการบริการของสถานศึกษา (X7) ด้านเจตคติต่อการเรียน (X3) สามารถพยากรณ์ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ได้ร้อยละ 8.5 มีระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 4. สมการที่ใช้ในการพยากรณ์ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาแคลคูลัส 1 ของนักศึกษาหลักสูตรวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันอุดมศึกษาเอกชน ในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 8 แห่ง มีดังนี้ สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบ คือ สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐาน คือ
URI: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/1527
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัยมหาวิทยาลัยศรีปทุม

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
50 อ.ธัญกร.pdfรายงานวิจัย3.12 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น