Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/1597
Title: มาตรการทางกฎหมายในการให้ความคุ้มครองนักลงทุนรายย่อยในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย: ศึกษาเฉพาะกรณี บริษัทมหาชน จำกัด ที่อยู่ในระหว่างฟื้นฟูกิจการ
Authors: ศักดิ์ดา นิสสัยสุข
Keywords: มาตรการกฎหมาย
ความคุ้มครอง
นักลงทุนรายย่อย
ตลาดหลักทรัพย์
Issue Date: 9-October-2552
Abstract: การที่ตลาดหลักทรัพย์กำหนดแนวทางให้บริษัทจดทะเบียนที่เข้าข่ายอาจถูกเพิกถอน ออกจากตลาดหลักทรัพย์ ได้มีโอกาสแก้ไขฐานะการเงินการบริหารของบริษัทเหล่านั้นโดยคำนึงถึงประโยชน์ของผู้ถือหุ้นรายย่อยที่อาจได้รับความเสียหายเพราะอาจขาดสภาพคล่องในการซื้อหรือขายหลักทรัพย์นั้นต่อไป หากตลาดหลักทรัพย์ได้ทำการเพิกถอนหลักทรัพย์ของบริษัทนั้นออกจากการซื้อขายในระบบของตลาดหลักทรัพย์ โดยเปิดโอกาสให้บริษัทที่เข้าข่ายอาจถูกเพิกถอนจัดทำแผนฟื้นฟูกิจการเพื่อแก้ไขฐานะทางการเงินและผลการดำเนินงานโดยเร็ว เพื่อกลับเข้ามาทำการ ซื้อขายเป็นปกติดังเช่นหลักทรัพย์จดทะเบียนอื่นๆ ด้วยการยื่นคำร้องขอต่อศาลเสนอแผนฟื้นฟูกิจการตามพระราชบัญญัติล้มละลาย จากการศึกษาพบว่า มาตรการในการคุ้มครองผู้ลงทุนรายย่อยต่อบริษัทที่อยู่ในระหว่างฟื้นฟูกิจการของตลาดหลักทรัพย์ที่กำหนดไว้ไม่เพียงพอต่อการคุ้มครองนักลงทุน อีกทั้งยังเป็นการเปิดโอกาส หรือเอื้อประโยชน์ให้กับกลุ่มผู้ลงทุนรายใหม่เข้ามาร่วมทุน หรือซื้อกิจการจากเจ้าของเดิมได้ โดยข้อกำหนดและเงื่อนไขต่างๆ ตามประกาศที่กำหนดไว้ไม่มีมาตรการหรือข้อกำหนดห้ามกระทำการบางอย่าง ทำให้ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ หรือเจ้าของกิจการหาช่องว่างหรือข้อยกเว้นของกฎระเบียบที่วางไว้แสวงหาประโยชน์ในตลาดหลักทรัพย์ โดยการเอารัดเอาเปรียบผู้ถือหุ้นรายย่อยในเรื่อง การเพิ่มทุนหรือลดทุนจดทะเบียน ข้อกำหนดระยะเวลาการขายหุ้นของผู้บริหารหรือผู้มีส่วนร่วมในการบริหารงานของบริษัท การกำหนดเพดานการขึ้นลงของหลักทรัพย์ที่เข้าซื้อขายในวันแรก เป็นเหตุให้ผู้ถือหุ้นรายย่อยที่ไม่รู้เท่าทันเล่ห์เหลี่ยมนักลงทุนรายใหญ่ที่เข้ามาซื้อขายหุ้นได้รับความเสียหายเป็นอย่างมาก ซึ่งการกระทำ ดังกล่าวทำให้นักลงทุนขาดความเชื่อมั่นและบรรยากาศในการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ และถือว่าเป็นการบ่อนทำลายระบบเศรษฐกิจของประเทศ หากตลาดหลักทรัพย์ขาดความเด็ดขาดเอาจริงเอาจังในการตรวจสอบดำเนินคดีกับกลุ่มบุคคลเหล่านั้น ตลาดหลักทรัพย์ก็อาจจะกลายเป็นบ่อนการพนัน ดั่งเช่นที่มีการกล่าวถึง ผู้ศึกษามีข้อเสนอแนะให้ตลาดหลักทรัพย์ออกมาตรการต่างๆ เกี่ยวกับการคุ้มครอง นักลงทุนรายย่อยให้มากกว่าเดิม เช่นห้ามมิให้บริษัทจดทะเบียนที่อยู่ในระหว่างฟื้นฟูกิจการทำการลดทุนการจดทะเบียนที่เรียกชำระแล้วเกินกว่าร้อยละ 80 การเพิ่มทุนจดทะเบียนขึ้นใหม่จะต้องให้สิทธิแก่ผู้ถือหุ้นเดิมได้สิทธิในการซื้อหุ้นตามสัดส่วนที่ถือหุ้นในราคาเดียวกันกับผู้ถือหุ้นรายใหม่ ระยะเวลาการห้ามขายหุ้นของผู้ถือหุ้นที่มีส่วนร่วมในการบริหารงานของบริษัทต้องกำหนดให้มีระยะเวลานานกว่าเดิม โดยระยะเวลาที่เหมาะสมคือ 3 ปี การเปิดซื้อขายหุ้นในวันแรกนั้นจะต้องมีการกำหนดเพดานการขึ้นลงไว้ อีกทั้งต้องมีมาตรการการตรวจสอบข้อมูลทางบัญชีของบริษัทจดทะเบียนให้เข้มงวดกว่าเดิมรวมถึงมาตรการเสริมอื่นๆ เพิ่มขึ้น
URI: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/1597
Appears in Collections:S_CHO-09. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
1title.pdf26.06 kBAdobe PDFView/Open
2abstract.pdf55.2 kBAdobe PDFView/Open
3acknow.pdf30.78 kBAdobe PDFView/Open
4content.pdf47.2 kBAdobe PDFView/Open
5chap1.pdf70.02 kBAdobe PDFView/Open
6chap2.pdf208.97 kBAdobe PDFView/Open
7chap3.pdf272.46 kBAdobe PDFView/Open
8chap4.pdf173.2 kBAdobe PDFView/Open
9chap5.pdf70.49 kBAdobe PDFView/Open
10bib.pdf63.28 kBAdobe PDFView/Open
11profile.pdf28.99 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.