Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/1789
Title: ความสามารถและวิธีการของการจัดการนวัตกรรมสำหรับอุตสาหกรรมไทย ศึกษาเฉพาะอุตสาหกรรมการผลิตสิ่งทอสิ่งถักขนาดกลางและขนาดย่อม
Other Titles: Capability and Managerial Approach for Innovation of Thai Industry :A Case Study of Small and Medium Textile Enterprises
Authors: สรพล บูรณกูล
Keywords: นวัตกรรม
การจัดการนวัตกรรม
อุตสาหกรรมการผลิตสิ่งทอสิ่งถักขนาดกลางและขนาดย่อม
Issue Date: 2553
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสำรวจความสามารถด้านนวัตกรรมของอุตสาหกรรมการ ผลิตสิ่งทอสิ่งถักขนาดกลางและขนาดย่อม 2) เพื่อศึกษาวิธีการของการจัดการในแต่ละหน้าที่งานของอุตสาหกรรมการผลิตสิ่งทอสิ่งถักขนาดกลางและขนาดย่อม 3)เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความสามารถด้านนวัตกรรมด้านค่าใช้จ่ายในการทำวิจัยและพัฒนากับผลประกอบการของอุตสาหกรรมการผลิตสิ่งทอสิ่งถักขนาดกลางและขนาดย่อม 4) เพื่อศึกษาผลของวิธีการจัดการในแต่ละหน้าที่งานต่อความสามารถด้านนวัตกรรมของอุตสาหกรรมการผลิตสิ่งทอสิ่งถักขนาดกลางและขนาดย่อม สำรวจข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นเจ้าของกิจการ ผู้บริหารระดับต่างๆ จำนวน 52 กิจการ ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ค่าเฉลี่ยจำนวนรายการต่อกิจการ ของความสามารถด้านนวัตกรรมด้านนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ ที่ทำโดยกิจการเอง มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด คือ ปรับปรุงผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่เดิม ในส่วนที่ทำร่วมกับหน่วยงานภายนอก มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด คือ ผลิตภัณฑ์ใหม่ที่ไม่เคยมีมาก่อนในตลาดค่าเฉลี่ยจำนวนรายการต่อกิจการ ของความสามารถด้านนวัตกรรมด้านนวัตกรรมกระบวนการที่ทำโดยกิจการเอง มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด คือ พัฒนากระบวนการผลิตใหม่ ในส่วนที่ทำร่วมกับหน่วยงานภายนอก มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด คือ พัฒนากระบวนการผลิตใหม่และพัฒนาบริการใหม่ ค่าเฉลี่ยจำนวนคนต่อกิจการ ของความสามารถด้านนวัตกรรมด้านนวัตกรรมการบริหารจัดการ จำนวนบุคลากรด้านวิจัยและพัฒนานวัตกรรมในธุรกิจเฉลี่ย 2.94 คน/กิจการ/ปี จำนวนของบุคลากรที่ผ่านการฝึกอบรมด้านนวัตกรรมวิจัยและพัฒนา เฉลี่ย 2.81 คน/กิจการ/ปี จำนวนบุคลากรที่ปฏิบัติงานด้านวิจัยและพัฒนาและนวัตกรรมที่รับเข้ามาใหม่ เฉลี่ย 1.21 คน/กิจการ/ปี และพบว่ากิจการส่วนใหญ่ไม่มีระบบการจูงใจและส่งเสริมการสร้างนวัตกรรมให้แก่พนักงาน ประเภทของค่าใช้จ่ายในการทำกิจกรรมนวัตกรรม สูงที่สุดเป็นการซื้อเครื่องจักรหรืออุปกรณ์ รองลงมาเป็นการฝึกอบรม อันดับสุดท้ายเป็นการซื้อความรู้จากภายนอก กิจการมีค่าใช้จ่ายในการทำวิจัยและพัฒนาและนวัตกรรมเป็นร้อยละของรายได้ต่อปี คือ 0.0 - 0.5% แหล่งข้อมูลในการทำนวัตกรรมของกิจการส่วนใหญ่ได้จากลูกค้า การคุ้มครองด้านทรัพย์สินทางปัญญาที่กิจการได้รับ สูงที่สุดคือ เครื่องหมายการค้า 2. การศึกษาวิธีการของการจัดการในแต่ละหน้าที่งานของอุตสาหกรรมการผลิตสิ่งทอสิ่งถักขนาดกลางและขนาดย่อมจากผลการวิจัย พบว่า ระดับการดำเนินงานเกี่ยวกับการจัดการนวัตกรรมด้านการบริหารการจัดการ ด้านการบริหารการผลิต ด้านการบริหารการตลาด อยู่ในระดับมากทุกด้าน 3. ผลการทดสอบสมมุติฐาน โดยทดสอบความสัมพันธ์ไค – สแควร์ (Chi – Square) พบว่า ความสามารถด้านนวัตกรรมด้านค่าใช้จ่ายในการทำวิจัยและพัฒนากับผลประกอบการของกิจการ มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แสดงว่า หากความสามารถด้านนวัตกรรมด้านค่าใช้จ่ายในการทำวิจัยและพัฒนาต่ำ จะส่งผลให้ผลประกอบการของกิจการต่ำไปด้วย ในทางกลับกัน หากผลประกอบการของกิจการต่ำ ความสามารถด้านนวัตกรรมด้านค่าใช้จ่ายในการทำวิจัยและพัฒนาก็จะต่ำไปด้วย เช่นกัน 4. ผลการทดสอบสมมุติฐาน ด้วยการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression Analysis) พบว่า วิธีการจัดการในแต่ละหน้าที่งานไม่มีผลต่อความสามารถด้านนวัตกรรมของอุตสาหกรรมการผลิตสิ่งทอสิ่งถักขนาดกลางและขนาดย่อม แต่หากแยกพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านการบริหารการตลาด ส่งผลต่อความสามารถด้านนวัตกรรมของกิจการ ซึ่งมีร้อยละของการพยากรณ์ได้ร้อยละ 10.4 ส่วนด้านการบริหารการผลิตและด้านการบริการการจัดการไม่ส่งผลต่อความสามารถด้านนวัตกรรมของกิจการ
URI: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/1789
Appears in Collections:รายงานการวิจัยมหาวิทยาลัยศรีปทุม

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
51 อ.สรพล.pdfรายงานวิจัย1.85 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.