Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/2576
Title: การพัฒนาเรือนแรม(โฮมสเตย์)ชุมชนเป็นแหล่งปัญญาที่เบิกบานกรณีศึกษาบ้านเขาแก้ว ต าบลดาวเรือง อ าเภอเมือง จังหวัดสระบุรี
Other Titles: Community Homestay Development as Spilit of Place at Baan Khao Kaew,Daorueng Sub-Didtrict, Muengsaraburi District, Saraburi Province.
Authors: มนต์ผกา วงษา
Keywords: รือนแรม(โฮมสเตย์)
แหล่งเรียนรู้
Issue Date: July-2554
Publisher: มหาวิทยาลัยศรีปทุม
Abstract: เขาแก้ว ต าบลดาวเรือง อ าเภอเมือง จังหวัดสระบุรี มีวัตถุประสงค์เพื่อหาค าตอบให้กับบ้านเขาแก้วว่าจะเป็นเรือนแรม(โฮมสเตย์)ชุมชนที่เป็นแหล่งปัญญาที่เบิกบานอย่างไร โดยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการสอบถามเฉพาะผู้ทรงคุณวุฒิท้องถิ่นได้แก่ เจ้าของเรือนแรม(โฮมสเตย์) เจ้าอาวาส ก านัน นายกอบต. และหัวหน้ากลุ่มแม่บ้าน โดยการใช้แบบสอบถามกับประชากร 3 กลุ่มได้แก่ กลุ่มเจ้าของเรือนแรม(โฮมสเตย์) กลุ่มชาวบ้านและผู้ที่อยู่อาศัยในชุมชนไทยวนสระบุรี และกลุ่มผู้เยี่ยมเยือนหรือผู้มาพักแรมที่บ้านเขาแก้ว รวมทั้งใช้การสังเกต การสัมภาษณ์เชิงลึก การเก็บรวบรวมชีวประวัติ การลงพื้นที่ส ารวจ และน าแนวทางงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นมาปรับใช้ ผู้ท าการวิจัยน าข้อมูลปฐมภูมิและทุติยภูมิที่รวบรวมมาพิสูจน์สมมุติฐานการวิจัย โดยใช้บ้านไตยวนวัฒนธรรมล้านนาที่ดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ และพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านจ่าทวีจังหวัดพิษณุโลกเป็นตัวตั้งเปรียบเทียบความเหมือนและความต่าง โดยใช้มาตรฐานบริการท่องเที่ยวมาตรฐานโฮมสเตย์(Homestay)ไทย พ.ศ.2551ของส านักงานพัฒนาการท่องเที่ยว กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กับหมู่บ้านแม่ก าปอง ต าบลห้วยแก้ว กิ่งอ าเภอแม่ออน จังหวัดเชียงใหม่เป็นกรอบการพิจารณาเพื่อเปรียบเทียบกับเรือนแรมบ้านเขาแก้วและโฮมสเตย์บ้านต้นตาลซึ่งอยู่ในหมู่บ้านติดกันด้วยการหาค่าเฉลี่ยโดยผลที่ได้รับต้องไม่ต่ ากว่าร้อยละ75 ผลการประเมินบ้านเขาแก้วด้านลักษณะสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นล้านนาใกล้เคียงกับบ้านไตยวน ที่ดอยสะเก็ดเชียงใหม่ร้อยละ83 ขณะที่โฮมสเตย์บ้านต้นตาลซึ่งเป็นเรือนไม้จริงใต้ถุนสูงมีลักษณะใกล้เคียงกับบ้านไตยวนที่ดอยสะเก็ดเชียงใหม่ร้อยละ33.33 แสดงว่าบ้านเขาแก้วมีลักษณะสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นล้านนามากกว่าโฮมสเตย์บ้านต้นตาลซึ่งมีลักษณะสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นล้านนาน้อยมาก เมื่อวิเคราะห์ด้านมาตรฐานโฮมสเตย์ไทย พ.ศ. 2551โฮมสเตย์บ้านต้นตาลได้ค่าเฉลี่ยร้อยละ61 และบ้านเขาแก้วได้ค่าเฉลี่ยร้อยละ48 แสดงว่าโฮมสเตย์บ้านต้นตาลได้มาตรฐานโฮมสเตย์ไทยมากกว่าบ้านเขาแก้วแต่ยังไม่ได้มาตรฐานโฮมสเตย์ไทยตามเกณฑ์ที่ส านักงานพัฒนาการท่องเที่ยวก าหนด สรุปได้ว่าบ้านเขาแก้วไม่ใช่โฮมสเตย์แต่มีประชาชนสนใจเข้าพักค้างแรมเพื่อสัมผัสบรรยากาศเรือนไทยริมแม่น้ าป่าสักอย่างต่อเนื่อง ด้วยความเป็นแหล่งเรียนรู้การย้ายถิ่นของกลุ่มชาติพันธุ์ไทยวนจากเมืองเชียงแสน มีการจัดแสดงนิทรรศการทางวัฒนธรรมพื้นบ้านไทยวน พิพิธภัณฑ์เรือลุ่มน้ าป่าสัก การรับประทานอาหารแบบขันโตกพร้อมชมการแสดงฟ้อนร าพื้นถิ่น และอยู่ใกล้หมู่บ้านต้นตาลซึ่งเป็นแหล่งที่ตั้งถิ่นฐานกลุ่มชาติพันธุ์ไทยวนครั้งแรกที่เมืองสระบุรีตั้งแต่พ.ศ.2347 โดยหมู่บ้านต้นตาลยังคงลักษณะทางภูมิศาสตร์ ลักษณะทางกายภาพของชุมชนล้านนาที่ตั้งใกล้แหล่งน้ า มีข่วง(ลานกลาง)หมู่บ้านซึ่งเป็นศูนย์รวมกิจกรรมทางประเพณีของชุมชน เป็นที่ตั้งของกลุ่มอาชีพสตรีทอผ้าบ้านต้นตาลผลิตผ้าฝ้ายทอมือซึ่งสืบทอดมาจากบรรพบุรุษและยินดีสอนการทอผ้าด้วยกี่กระตุกให้แก่ผู้สนใจ ส่วนบ้านเขาแก้วมีการวางผังบริเวณกลุ่มเรือนไทยคล้ายกับบ้านไตยวนที่ดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่แต่มีลักษณะเด่นที่แตกต่าง คือ มีข่วงบ้าน 2 แห่งที่หน้าบ้านริมถนนปากบางหรือถนนสายวัฒนธรรมไทยวนและที่ริมแม่น้ าป่าสักที่เตียน สะอาด ร่มรื่นและเชื้อเชิญตามวิถีชิวิตของชาวไตยวน นอกจากนี้บ้านเขาแก้วยังเป็นแหล่งศึกษาด้านองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมวัฒนธรรมล้านนา เป็นแหล่งเรียนรู้ด้านการประกอบอาหารแบบขันโตกและการแสดงฟ้อนร าพื้นถิ่น ทั้งบ้านเขาแก้วและบ้านต้นตาลมีผู้สอนถ่ายทอดความรู้และทักษะให้แก่ประชาชนทั่วไปด้วยความเต็มใจโดยไม่ปิดบัง ส่วนลูกหลานชาวบ้านที่มีความตั้งใจเรียนรู้ก็น าไปประยุกต์ใช้และน าไปสืบทอดด้วยความชื่นบานสดใส หากจะพัฒนาบ้านเขาแก้วเป็นโฮมสเตย์จะต้องมีการบริหารจัดการตามมาตรฐานโฮมสเตย์ไทยพ.ศ.2551 ใน 10 มาตรฐาน 31 ดัชนีชี้วัดด้วยการมีส่วนร่วมกับชุมชน ส่วนนโยบายขององค์การบริหารส่วนท้องถิ่นที่ให้ความส าคัญกับการสืบสานวัฒนธรรมไทยวนสระบุรีร่วมกันอย่างยั่งยืนด้วยการสร้างความร่วมมือจากหลายฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ควรมีการจัดการความรู้(Knowledge Management)ด้วยการสร้างความเข้าใจในวิธีวิทยางานวิจัยเชิงคุณภาพเพื่อท้องถิ่นโดยใช้เวทีชาวบ้าน รวมทั้งการสร้างความเข้าใจด้านสุนทรียภาพและการรักษาสิ่งแวดล้อมจะช่วยปรับแนวคิดในการพัฒนาทางกายภาพด้านภูมิทัศน์ การอนุรักษ์ศิลปกรรมล้านนาและสถานที่ส าคัญทางประวัติศาสตร์ ดังนั้นการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ท้องถิ่นและวิธีการปลูก(ก่อสร้าง)เรือนด้วยภูมิปัญญาช่างไทยเพื่อสืบทอดเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมล้านนานับเป็นแหล่งปัญญาที่เบิกบานสู่รุ่นลูกหลานซึ่งมีคุณค่า คุ้มค่าต่อความหมายที่ลุ่มลึกของค าว่า "เรือนแรม" ที่พักสัมผัสวัฒนธรรมชุมชนและวิถีชีวิตท้องถิ่นของไทยมิใช่เพียงค าว่า “โฮมสเตย์(Homestay)”
URI: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/2576
Appears in Collections:รายงานการวิจัยมหาวิทยาลัยศรีปทุม

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
20 เล่มรวมสมบูรณ์ 9 ส.ค.54.pdf11.02 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.