กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/3159
ชื่อเรื่อง: พฤติกรรมการรับฟังวิทยุและการมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาและช่วยเหลือสังคมของผู้ฟังรายการร่วมด้วยช่วยกันในเขตกรุงเทพมหานคร
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Listening behavior and participation in community service of Ruam Duay Chuay Kan's listeners in Bangkok Metropolis
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สุกัญญา มากล้น
คำสำคัญ: การฟังวิทยุ
ร่วมด้วยช่วยกัน
นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
วันที่เผยแพร่: 2552
สำนักพิมพ์: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีปทุม
บทคัดย่อ: ในการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์(1) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการรับฟังวิทยุของผู้ฟังรายการร่วมด้วยช่วยกันในเขตกรุงเทพมหานคร (2) เพื่อเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาและช่วยเหลือสังคม ของผู้ฟังรายการร่วมด้วยช่วยกัน ในเขตกรุงเทพมหานคร จำแนกตามพฤติกรรมการรับฟังวิทยุของผู้ฟังรายการร่วมด้วยช่วยกัน (3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของรูปแบบการนำเสนอกับการมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาและช่วยเหลือสังคม ของผู้ฟังรายการร่วมด้วยช่วยกัน ในเขตกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ ผู้ฟังรายการวิทยุร่วมด้วยช่วยกันในเขตกรุงเทพมหานครจากการบันทึกข้อมูลของทางสถานีวิทยุร่วมด้วยช่วยกัน ตั้งแต่วันที่ 1มกราคม– 31 ธันวาคม พ.ส. 2551 จำนวน 240 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่า t-test การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว และ ไดสแควร์ ผลวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. พฤติกรรมการรับฟังวิทยุของผู้ฟังรายการร่วมด้วยช่วยกันมนเขตกรุงเทพมหานคร ผู้ฟังส่วนใหญ่รับฟังรายการร่วมด้วยช่วยกันมากกว่า 5 ปี ฟังรายการเฉลี่ยต่อวัน 1-2 ชม./วัน จะฟังรายการในวันจันทร์ – อาทิตย์ (ฟังทุกวัน) และรับฟังรายการช่วงเวลา 19.30 – 00.00 น. จะติดตามรับฟังรายการขณะขับรถ/ระหว่างเดินทาง นอกจากติดตามรับฟังรายการร่วมด้วยช่วยกันแล้วไม่ได้ฟังรายการประเภทอื่นเลย รับฟังรายการลักษณะฟังเพลินๆ เสมือนเป็นเพื่อน มีวัตถุประสงค์ในการฟังเพื่อรู้ทันเหตุการณ์ ปัจจุบันที่กำลังเกิดขึ้นและไม่ตกข่าว และจะติดต่อสื่อสารกับรายการแบบเร่งด่วนได้แก่ โทรศัพท์ ส่ง SMS และวิทยุข่ายประชาชน CB 245 2. ผู้ฟังรายการร่วมด้วยช่วยกัน ในเขตกรุงเทพมหานคร ที่มีพฤติกรรมการรับฟังวิทยุแตกต่างกันมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาและช่วยเหลือสังคม แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. ความสัมพันธ์ของรูปแบบการนำเสนอกับการมีส่วนร่วมในการไขปัญหาและช่วยเหลือสังคม ในภาพรวมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ซึ่งได้แบ่งออกเป็น 3 ระดับดังต่อไปนี้ ระดับ 1 ได้แก่ การโทรศัพท์ หรือ ส่ง SMS แสดงความคิดเห็น ถ่ายทอดประสบการณ์ส่งเสริมเชิดชูคนดี ระดับ 2 ได้แก่ การแจ้งเหตุด่วนเหตุร้าย เตือนภัย ให้คำแนะนำในการแก้ไขปัญหา ให้กำลังใจ ระดับ 3 ได้แก่ การสละทรัพย์สิน ให้ยืม สละแรงงานเพื่อช่วยผู้เดือดร้อน ณ จุดเกิดเหตุ หรือเข้าร่วมกิจกรรมกับรายการนำเสนอมีความสัมพันธ์กันกับการมีส่วนร่วมทั้ง 3 ระดับพบว่ารูปแบบการนำเสนอมีความสัมพันธ์กันกับการมีสว่นร่วมทั้ง 3 ระดับอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
URI: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/3159
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ปริญญาโท

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
สุกัญญา มากล้น.pdfFull text7.85 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น