กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/3552
ชื่อเรื่อง: ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับมาตรฐานการพิสูจน์ : ศึกษากรณีฟ้องหย่า
ชื่อเรื่องอื่นๆ: LEGAL PROBLEMS AS TO STANDARD OF PROOF : STUDY ON DIVORCE CASE
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: จิราวรรณ กิตติทรัพย์เจริญ
วันที่เผยแพร่: 2555
แหล่งอ้างอิง: จิราวรรณ กิตติทรัพย์เจริญ. 2553. "ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับมาตรฐานการพิสูจน์ : ศึกษากรณีฟ้องหย่า." สารนิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
บทคัดย่อ: ในการรับฟังพยานหลักฐานเพื่อนำไปสู่การพิจารณาพิพากษาคดี ศาลจะต้องทำการวิเคราะห์น้ำหนักพยานหลักฐานว่าควรเชื่อข้อเท็จจริงไปในทิศทางใด โดยการนำไปเปรียบเทียบกับมาตรฐานการพิสูจน์ที่กฎหมายกำหนดไว้ในคดีประเภทนั้น แล้วจึงจะสามารถใช้ดุลพินิจในการวินิจฉัยข้อเท็จจริงโดยให้น้ำหนักพยานหลักฐานในแต่ละคดีอย่างมีหลักมีเกณฑ์ หากไม่มีมาตรฐานการพิสูจน์การใช้ดุลพินิจในการวิเคราะห์น้ำหนักพยานหลักฐานจะกลายเป็นการใช้ความรู้สึกที่ขาดหลักเกณฑ์ ประเทศไทยได้มีการบัญญัติมาตรฐานการพิสูจน์สำหรับการพิสูจน์ความผิดของจำเลยในคดีอาญาไว้ในมาตรา ๒๒๗แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา โดยที่มิได้บัญญัติมาตรฐานการพิสูจน์สำหรับคดีแพ่งไว้เป็นการเฉพาะแต่ศาลได้ได้นำมาตรฐานการพิสูจน์ให้เห็นถึงพยานหลักฐานที่น่าเชื่อถือกว่าหรือที่รู้จักในชื่อ มาตรฐานการพิสูจน์คดีแพ่งทั่วไป มาใช้ในการพิจารณาพิพากษาคดีแพ่งทุกประเภท โดยจะเห็นได้จากแนวคำพิพากษา คดีหย่าถือเป็นคดีแพ่งประเภทหนึ่งที่แม้ผลของคำพิพากษาจะมิได้มีผลกระทบถึงชีวิต ร่างกาย เสรีภาพของจำเลย ดังเช่น คดีอาญาก็ตาม แต่อาจจะกระทบถึงสิทธิของบุคคลภายนอกคดีที่มิได้เป็นผู้กระทำผิดหรือร่วมกระทำผิดแต่ต้องมารับในผลจากการกระทำดังกล่าว เช่น บุตร หรือ ญาติของคู่สมรส เนื่องจากการที่คู่สมรสจะร้องขอต่อศาลให้พิพากษาหย่าขาดจากกันจะต้องอ้างเหตุหย่าตามที่ได้บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๕๑๖ ซึ่งเหตุหย่าบางเหตุเป็นเหตุที่เกิดจากความผิดของคู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง เมื่อคดีหย่าเป็นคดีที่มีความสำคัญและมีผลกระทบที่รุนแรงมากกว่าคดีประเภทอื่นๆ ในการพิจารณาคดีจึงควรมีการพิสูจน์ด้วยพยานหลักฐานที่น่าเชื่อถืออย่างชัดเจนมากกว่าคดีแพ่ง ดังนั้น ผู้เขียนจึงได้ทำการศึกษาเกี่ยวกับเหตุหย่าและมาตรฐานการพิสูจน์ในคดีหย่าของกฎหมายไทยและต่างประเทศ พร้อมทั้งเสนอข้อเสนอแนะเพื่อเป็นแนวทางในการพิจารณาคดีหย่าของศาลไทยต่อไป
URI: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/3552
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:GRA-11. การค้นคว้าอิสระ/สารนิพนธ์

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
บทคัดย่อ.pdf186.48 kBAdobe PDFดู/เปิด
หน้าปก.pdf37.96 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น

เครื่องมือสำหรับผู้ดูแลระบบ