Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/3576
Title: ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับค่าเสียหายต่อจิตใจภายใต้พระราชบัญญัติความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย พ.ศ. 2551
Other Titles: LEGAL ISSUE CONCERNING MENTAL DAMAGES UNDER THE ACT ON LIABILITY FOR INJURY CAUSED BY DEFECTIVE PRODUCTS B.E. 2551 (2008)
Authors: พัฒนพงค์ สุธรรมชัย
Keywords: ค่าเสียหายต่อจิตใจ
สินค้าไม่ปลอดภัย
Issue Date: 2555
Citation: พัฒนพงค์ สุธรรมชัย. 2553. "ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับค่าเสียหายต่อจิตใจภายใต้พระราชบัญญัติความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย พ.ศ. 2551." สารนิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
Abstract: เนื่องจากปัจจุบันสภาพเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมมีวิวัฒนาการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมมีการผลิตหรือนำเข้าหรือการจำหน่ายสินค้ากันมากขึ้นและกระบวนการในการผลิตสินค้ามีการนำเอาเทคโนโลยีขั้นสูงมาใช้ในการผลิตสินค้าเพื่อลดต้นทุนและเพิ่มปริมาณการผลิตให้เพิ่มมากขึ้น ดังนั้นจึงทำให้สินค้าต่างๆ ที่ผลิตออกมานั้นมีการกระจายสู่ท้องตลาดอย่างรวดเร็วและมีจำนวนมาก ทำให้ผู้บริโภคไม่สามารถตรวจสอบได้ว่าสินค้าหรือผลิตภัณฑ์เหล่านั้นขาดความปลอดภัยหรือชำรุดบกพร่องหรือไม่ เมื่อผู้บริโภคได้ซื้อสินค้านั้นไปใช้อาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้บริโภคได้ แต่เดิมความรับผิดที่เกิดจากสินค้าชำรุดบกพร่องนั้น ผู้บริโภคสามารถฟ้องผู้ขายได้ตามกฎหมายสัญญาและกฎหมายละเมิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ แต่บุคคลที่จะฟ้องร้องให้ผู้ขายรับผิดได้นั้นจะต้องเป็นคู่สัญญา ดังนั้นบุคคลภายนอกที่ได้รับความเสียหายจากสินค้าที่ชำรุดบกพร่องนั้น ไม่สามารถฟ้องให้ผู้ขายรับผิดได้ ถ้าจะฟ้องร้องตามกฎหมายละเมิดโดยผู้บริโภคจะต้องพิสูจน์ให้ได้ว่าผู้ผลิตหรือผู้ขายกระทำโดยจงหรือประมาทเลินเล่อหรือไม่ ซึ่งหากผู้บริโภคไม่สามารถพิสูจน์ถึงความจงใจหรือประมาทเลินเล่อเหล่านั้นได้ทำให้ผู้บริโภคไม่สามารถได้รับความคุ้มครองและได้รับการเยียวยาความเสียหายได้อย่างเพียงพอ ปัจจุบันได้มีการตราพระราชบัญญัติความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย พ.ศ.2551 บัญญัติขึ้นเพื่อให้ผู้บริโภคได้รับความคุ้มครองและได้รับการเยียวยาความเสียหายจากการใช้สินค้าที่ไม่ปลอดภัยและพระราชบัญญัติดังกล่าวในมาตรา 11 ยังเปิดโอกาสให้ผู้บริโภคนอกจากจะเรียกค่าสินไหมทดแทนเพื่อการละเมิดแล้วยังสามารถเรียกค่าเสียหายต่อจิตใจได้อีกด้วย ซึ่งไม่เคยปรากฏในกฎหมายของประเทศไทยมาก่อน และหลักเกณฑ์ในการคำนวณค่าเสียหายต่อจิตใจนั้น มิได้บัญญัติไว้เป็นการเฉพาะจึงต้องอาศัยมาตรา 438 ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาบังคับใช้โดยอนุโลม ซึ่งขึ้นอยู่กับดุลพินิจของศาลและก็ไม่อาจถือว่าเป็นหลักเกณฑ์ในการคำนวณค่าเสียต่อจิตใจเหมือนดังกฎหมายต่างประเทศและการที่จะได้รับค่าเสียหายต่อจิตใจนั้นจะต้องเป็นความเสียหายต่อจิตใจที่มีผลเนื่องจากความเสียหายต่อร่างกาย สุขภาพ หรืออนามัยเท่านั้น ดังนั้น หากไม่มีความเสียหายแก่ร่างกาย สุขภาพ อนามัย แต่เป็นการได้รับความเสียหายต่อจิตใจอย่างรุนแรง ก็อาจจะไม่ได้รับความคุ้มครองต่อจิตใจตามพระราชบัญญัตินี้และค่าเสียหายในเชิงลงโทษยังถูกจำกัดให้เพียงไม่เกิน 2 เท่าของค่าเสียหายจริง ดังนั้น จึงได้นำเสนอหลักเกณฑ์ในการคำนวณค่าเสียหายและหลักเกณฑ์ในการเรียกร้องค่าเสียหายต่อจิตใจ รวมทั้งค่าเสียหายเชิงลงโทษ เพื่อเป็นแนวทางในการพิจารณาต่อศาลไทยต่อไป
URI: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/3576
Appears in Collections:GRA-11. การค้นคว้าอิสระ/สารนิพนธ์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
บทคัดย่อ.pdf67.17 kBAdobe PDFView/Open
หน้าปก.pdf39.89 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

Admin Tools