กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/4256
ชื่อเรื่อง: ศึกษาปัญหาของการปรับปรุงสิ่งปลูกสร้างและปรับปรุงภูมิทัศน์บริเวณอ่างเก็บน้ําเขาสามสิบเพื่อเป็นแหล่ง ท่องเที่ยวของตําบลเขาสามสิบ
ชื่อเรื่องอื่นๆ: A PROBLEM OF BUILDINGS ADAPTATION AND ADJUST THE MOUNTAIN NOT SEE THIRTY RESERVOIR HIS AREA FOR ARE THE TOURIST ATTRACTION OF KHAOSAMSIB TUMBOL
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ทองอินทร์ ชมโท
คำสำคัญ: ตําบลเขาสามสิบ
อ่างเก็บน้ําเขาสามสิบ
วันที่เผยแพร่: 30-พฤษภาคม-2556
แหล่งอ้างอิง: ทองอินทร์ ชมโท. 2556. “ศึกษาปัญหาของการปรับปรุงสิ่งปลูกสร้างและปรับปรุงภูมิทัศน์บริเวณอ่างเก็บน้ําเขาสามสิบเพื่อเป็นแหล่ง ท่องเที่ยวของตําบลเขาสามสิบ.” การค้นคว้าอิสระวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารงานก่อสร้าง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)เพื่อศึกษาปญหาของการปรับปรุงสิ่งปลูกสร้างและปรับปรุง ภูมิทัศน์บริเวณอ่างเก็บน้ําเขาสามสิบเพื่อเป็นแหล่งท่องเท่ียวของตําบลเขาสามสิบ 2)เพื่อศึกษากระบวนการ ปรับปรุงสิ่งปลูกสร้างและปรับปรุงภูมิทัศน์บริเวณอ่างเก็บน้ําเขาสามสิบเพื่อเป็นแหล่งท่องเท่ียวของตําบล เขาสามสิบ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้คัดเลือกส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง จํานวน 5 แห่ง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นการสัมภาษณ์แบบไร้โครงสร้าง สถิติที่ใช้เป็นการบรรยายเชิงพรรณนา ผลการศึกษาได้พบว่า 1. ปัญหาที่พบ - ในส่วนของกรมชลประทาน งานท่ีจะต้องปรับปรุงและบํารุงรักษา เป็นงานที่มีการ เปลี่ยนแปลงส่วนหนึ่งส่วนใดของอาคารชลประทานที่ได้ออกแบบ/ก่อสร้างไว้เดิม หรือมีการออกแบบ/ ก่อสร้างขึ้นใหม่ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการส่งน้ําและการระบายน้ําเป็นหลักใหญ่ - ในส่วนของกรมป่าไม้ จะพบว่าการก่อสร้างขัดกับหน้าที่ เพราะในส่วนของกรมป่าไม้ (โครงการพัฒนาพื้นที่ราบเชิงเขาป่าเขาฉกรรจ์(บ้านเขาสามสิบ)อันเนื่องมาจากพระราชดําริ) มีอํานาจหน้าที่ ในการอนุรักษ์ สงวน คุ้มครอง ฟื้นฟู ดูแลรักษา ส่งเสริมทํานุบํารุงป่าและการดําเนินการเกี่ยวกับป่าไม้ การ ทําไม้ การเก็บหาของป่า การใช้ประโยชน์ในที่ดินป่าไม้และการอื่นเกี่ยวกับป่าและอุตสาหกรรมป่าไม้ ทั้งนี้ เฉพาะที่ไม่อยู่ในอํานาจหน้าที่ของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ปา และพันธุ์พืช - ในส่วนขององค์การบริหารส่วนตําบลเขาสามสิบ จะพบว่าขาดผู้ชํานาญการออกแบบงาน ก่อสร้าง เนื่องจากปัญหาที่เกิดขึ้นมีผลมาจากการออกแบบก่อสร้างที่ผิดพลาด ซึ่งส่งผลกระทบต่อการ ทํางานเป็นอย่างมาก เพราะมีการผิดพลาดเกิดขึ้น จะต้องรอแก้ไขแบบก่อสร้าง รอวิธีการแก้ไขงาน รอการอนุมัติแก้ไขงานจากผู้ออกแบบหรือเจ้าของโครงการ มีการเปลี่ยนแปลงการทํางาน เปลี่ยนแปลง ปริมาณงาน สรุป การปรับปรุงสิ่งปลูกสร้างและปรับปรุงภูมิทัศน์บริเวณอ่างเก็บน้ําเขาสามสิบเพื่อเป็นแหล่ง ท่องเที่ยวของตําบลเขาสามสิบ จะต้องมีการศึกษาวิธีการในการปรับปรุง บนพื้นฐานของหลักวิชาการ ประกอบกับความเป็นไปได้ซึ่งยากกว่า การดําเนินการสําหรับอาคารที่ออกแบบใหม่ เพราะหากไม่มีการพิจารณาในลักษณะนี้ ก็จะไม่ได้รับการยอมรับและความร่วมมือจากเจ้าของหน่วยงานที่ดูและสถานที่ ให้ดําเนินการตามขั้นตอนดังนี้ - จัดทําโครงการปรับปรุงสิ่งปลูกสร้างและปรับปรุงภูมิทัศน์บริเวณอ่างเก็บน้ําเขาสามสิบ เพื่อเป็นแหล่งท่องเที่ยวของตําบลเขาสามสิบแนบแบบก่อสร้าง รายละเอียดสถานะของสิ่งปลูกสร้างทางด้านความปลอดภัย และมั่นคงของตัวอาคารที่จะทําการปรับปรุง ข้อแนะนําในการปรับปรุงสิ่งปลูกสร้าง งบประมาณในการปรับปรุง และรวมถึงแผนงานด้วย - ดําเนินการยื่นคําขอ ณ โครงการชลประทานเจ้าของพื้นที่ - ยื่นเรื่องขออนุญาตใช้พื้นที่ต่อป่าไม้จังหวัดท้องที่ที่ป่านั้นตั้งอยู่ - ตั้งคณะทํางานการพัฒนาการท่องเที่ยว เพื่อทําหน้าที่ในการร่วมกําหนดทิศทางในการพัฒนาด้านการท่องเที่ยว การสร้างมาตรฐานด้านการบริการและความปลอดภัยให้กับนักท่องเที่ยว
URI: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/4256
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:ARC-03. บทความวิชาการ/วิจัย (อื่นๆ)



รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น