กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/4264
ชื่อเรื่อง: การศึกษามาตรฐานความปลอดภัยด้านอัคคีภัย เพื่อการรับรองมาตรฐานระดับสากล กรณีศึกษา โรงพยาบาลเอกชนในอาคารสูง
ชื่อเรื่องอื่นๆ: FIRE SAFETY STANDARDOF INTERNATIONAL ACCREDITATION STANDARD A CASE STUDY OF HOSPITALS PRIVATE BUSINESS IN HIGH RISE BUILDING
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: เสริมสกุล ศรีน้อย
คำสำคัญ: ความปลอดภัยด้านอัคคีภัย
โรงพยาบาลเอกชนในอาคารสูง
วันที่เผยแพร่: 30-พฤษภาคม-2556
แหล่งอ้างอิง: เสริมสกุล ศรีน้อย. 2556. “การศึกษามาตรฐานความปลอดภัยด้านอัคคีภัย เพื่อการรับรองมาตรฐานระดับสากล กรณีศึกษา โรงพยาบาลเอกชนในอาคารสูง.” การค้นคว้าอิสระวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารทรัพยากรอาคาร คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
บทคัดย่อ: อาคารกรณีศึกษา จัดเป็นอาคารสูง และอาคารขนาดใหญ่พิเศษประเภทโรงพยาบาล ตามกฎกระทรวง ฉบับที่33 ( พ.ศ. 2535 ) ซึ่งเป็นโรงพยาบาลเอกชน ปัจจุบันมีเตียงรองรับผู้ป่วย 350 เตียง มีห้องตรวจกว่า 70 ห้อง สามารถให้การบริการ ผู้ป่วยนอกวันละ 1,500-2,000 คน ด้วยศูนย์บริการทางการแพทย์เฉพาะทางครบทุกสาขา แพทย์ประจํา 50 ท่าน, แพทย์ที่ปรึกษา 250 ท่าน อุปกรณ์ทางการแพทย์ที่สําคัญ และยังได้รับการรับรองคุณภาพ มาตรฐาน ISO 9001:2000 ซึ่งทางโรงพยาบาลมีแนวทางบริการ ด้วยความตั้งใจจริงที่ต้องการให้คนไทยมีสุขภาพที่ดี และมีทางเลือกในการดูแลรักษาพยาบาลตนเองมากขึ้น จึงนํามาตรฐานระดับสากลที่ยอมรับกันทั่วไป คือ มาตรฐานการรับรอง Joint Commission International (JCI) สําหรับโรงพยาบาล เป็นการยกระดับและขีดความสามารถในการให้บริการแก่ผู้ป่วยและผู้ใช้อาคาร อาคารกรณีศึกษา จึงนํามาตรฐานการรับรอง Joint Commission International (JCI) สําหรับโรงพยาบาล ซึ่งเป็นส่วนงานหนึ่งของ Joint Commission Resources, Inc. โดยพันธะกิจของ JCI คือการยกระดับคุณภาพและความปลอดภัยการดูแลผู้ป่วยในชุมชนนานาชาติด้วยการให้การศึกษา สิ่งพิมพ์ คําปรึกษา และการประเมินผล โปรแกรมการศึกษาและสิ่งพิมพ์ของ Joint Commission Resources Inc. ที่ให้การสนับสนุนกิจกรรมรับรองคุณภาพของ Joint Commission International แต่แยกเป็นอิสระออกจากกัน ดังนั้นเพื่อเป็นการเพิ่มความปลอดภัยและคุณภาพของการดูแลผู้ป่วยในระดับมาตรฐานสากล ซึ่งมาตรฐานการรับรองฯ ประกอบไปด้วย 2 ส่วนหลัก คือ ส่วนที่ 1. มาตรฐานด้านผู้ป่วย (Patient-Centered Standards) ส่วนที่ 2. มาตรฐานด้านการจัดการองค์กร (Healthcare Management Standards) โดยที่ในส่วนที่ 2. เรื่องมาตรฐานการจัดการสิ่งอํานวยความสะดวกและความปลอดภัย (Facility Management and Safet ) หัวข้อ ความปลอดภัยด้านอัคคีภัย จึงให้ความสําคัญในการศึกษาครั้งนี้เพราะ อัคคีภัยเป็นสาธารณภัยที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนอย่างสูง และสร้างมูลค่าความเสียหายส่งผลสําคัญต่อความสูญเสียในระบบเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาคารประเภทโรงพยาบาล ที่ถือว่าเป็นสถานที่ที่ให้การดูแลรักษาชีวิตของประชาชน ผู้ทําการศึกษาจึงเล็งเห็นถึงความจําเป็นและสําคัญในการที่จัดทําการศึกษามาตรฐานความปล อดภัยด้านอัคคีภัยระดับสากลที่ทั่วไปให้การยอมรับ ของสมาคม National Fire Protection Association, USA ( NFPA ) เพื่อเป็นการประเมินระบบความปลอดภัยด้านอัคคีภัยเบื้องต้น ซึ่งจัดว่าเป็นส่วนหนึ่งในการบริหารทรัพยากรอาคารและเป็นพื้นฐานในด้านความปลอดภัยของผู้ใช้ อาคารกรณีศึกษานี้จะเป็นแนวทางการศึกษาเบื้องต้นที่สรุปตามเกณฑ์มาตรฐานของ NFPA ระบบความปลอดภัยด้านอัคคีภัยในอาคาร ซึ่งทําให้ทราบถึงข้อบกพร่องของระบบความปลอดภัยด้านอัคคีภัยที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งนําไปสู่การแก้ไข ตามมาตรฐานสากล
URI: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/4264
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:ARC-03. บทความวิชาการ/วิจัย (อื่นๆ)



รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น