กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/4432
ชื่อเรื่อง: ปัญหาและอุปสรรคทางกฎหมายเกี่ยวกับการจัดสรรที่ดินของรัฐในรูปแบบโฉนดชุมชน
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: เกศรา ระจะนิตย์
คำสำคัญ: การจัดสรรที่ดิน
การรับรองสิทธิ
โฉนดชุมชน
วันที่เผยแพร่: 16-ตุลาคม-2556
บทคัดย่อ: วิทยานิพนธ์นี้มุ่งศึกษาการจัดสรรที่ดินของรัฐในรูปแบบโฉนดชุมชนนั้นมีประเด็น ปัญหาความเสมอภาคของประชาชนเกี่ยวกับการให้สิทธิในโฉนดชุมชนและการกำหนดขอบเขต และลักษณะเกี่ยวกับความหมายของชุมชนและโฉนดชุมชนที่กำหนดไว้ในระเบียบสำนัก นายกรัฐมนตรีว่าด้วยการจัดการโฉนดชุมชน พ.ศ.2553 นั้น และก่อให้เกิดปัญหาการจำแนก ประเภทผู้ถือสิทธิครอบครองในโฉนดชุมชนและการพิสูจน์สิทธิเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ของโฉนด ชุมชนไม่อาจพิสูจน์สิทธิความเป็นเจ้าของได้และปัญหาการให้สำนักนายกรัฐมนตรีเป็น ผู้ดำเนินการตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการจัดการโฉนดชุมชน พ.ศ.2553 นั้น จากการศึกษาพบว่า การดำเนินการของรัฐในการจัดสรรที่ดินเกี่ยวกับโฉนดชุมชนเป็น การดำเนินการที่ขัดต่อหลักความเสมอภาคเพราะการที่รัฐมอบโฉนดชุมชนให้กับชุมชนตามที่ กำหนดไว้ในเงื่อนไขของระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีนั้นเป็นการจำกัดสิทธิชุมชนอื่นที่ไม่ได้ เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในระเบียบ ส่วนการกำหนดขอบเขตและลักษณะเกี่ยวกับ ความหมายของชุมชนและโฉนดชุมชนที่กำหนดไว้ในระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการ จัดการโฉนดชุมชน พ.ศ.2553 นั้น เป็นลักษณะนามธรรมโดยปราศจากการรองรับจากกฎหมายใน ระดับพระราชบัญญัติหรือประมวลกฎหมายหมายจนทำให้ปราศจากสถานะภาพทางกฎหมายและ ไม่อาจจะประกันความเป็นธรรมให้แก่ประชาชนผู้ได้รับสิทธิตามโฉนดชุมชนได้ ส่วนปัญหาการ จำแนกประเภทผู้ถือสิทธิครอบครองในโฉนดชุมชน เมื่อชุมชนใดได้โฉนดชุมชนมาถือครองแล้ว ใครที่จะสามารถเข้าไปบริหารจัดการได้ ถึงแม้ว่าตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีจะกำหนดให้อยู่ ในรูปแบบของคณะกรรมการก็ตาม แต่มิได้หมายความว่าทุกคนจะสามารถเข้าไปทำกินในพื้นที่โฉนดชุมชนได้ซึ่งขึ้นอยู่กับการกำหนดเงื่อนไขและหลักเกณฑ์จากคณะกรรมการ ดังนั้นจึงมีปัญหา ทำให้ประชาชนมีการทับซ้อนบริเวณทำกินและก่อให้เกิดความขัดแย้งภายในชุมชนและปัญหาการ กำหนดอำนาจหน้าที่ของหน่วยงานรัฐในการดำเนินการตามระเบียบของสำนักนายกรัฐมนตรี ซึ่ง เป็นหน่วยงานที่มิได้มีจุดเกาะเกี่ยวในการจัดสรรที่ดินแต่กลับให้สำนักนายกรัฐมนตรีเป็น หน่วยงานหลักในการดำเนินการจัดทำโฉนดชุมชนซึ่งอำนาจในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม เกี่ยวกับที่ดินปัจจุบันเป็นอำนาจของกรมที่ดินในการดำเนินการถ้าปรากฏว่ามีการโอนโฉนดชุมชน จะมีหน่วยงานใดเป็นผู้รับผิดชอบระหว่างให้สำนักนายกรัฐมนตรีหรือกรมที่ดินเป็นผู้จดทะเบียน สิทธิและนิติกรรม จากการศึกษาขอเสนอแนะว่า รัฐควรที่จะจัดสรรให้ทั่วถึงและยุติธรรม เพราะบุคคลที่อยู่ ภายในป่าก่อนมีการประกาศใช้ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการจัดการโฉนดชุมชน พ.ศ. 2553 ถือว่าเป็นผู้บุกรุกส่วนปัญหาการพิสูจน์สิทธิในการถือครองกรรมสิทธิ์ของโฉนดและปัญหา การจำแนกประเภทผู้ถือสิทธิครอบครองในโฉนดชุมชน รัฐบาลควรออกกฎหมายในระดับ พระราชบัญญัติหรือประมวลกฎหมายรับรองสิทธิในโฉนดชุมชนและสิทธิชุมชนโดยการบัญญัติ เพิ่มเติมไว้ในประมวลกฎหมายที่ดินในลักษณะของกรรมสิทธิ์ร่วมหรือโฉนดชุมชน โดยไม่มี กำหนดระยะเวลาและให้สามารถสืบทอดทางมรดกได้ โดยการกำหนดเงื่อนไขให้รัฐสามารถที่จะ เพิกถอนโฉนดชุมชนได้ทั้งแปลงหากชุมชนไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงร่วมระหว่างรัฐกับชุมชนและ รัฐบาลควรจะยกระดับที่ดินเป็นพื้นที่โฉนดชุมชนได้โดยกำหนดให้ทำข้อตกลง ระเบียบและกติกา ร่วมที่ชัดเจนจะช่วยให้ชุมชนเมืองสามารถพัฒนาชุมชนได้ดียิ่งขึ้นรวมถึงจะช่วยแก้ไขปัญหาชุมชน เมืองซึ่งเป็นปัญหาของเมืองใหญ่ทั่วประเทศ
รายละเอียด: นิติศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรี
URI: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/4432
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ปริญญาโท

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
11profile.pdf50.79 kBAdobe PDFดู/เปิด
5chap1.pdf151.52 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น