Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/4435
Title: มาตรการทางกฎหมายในการคุ้มครองผู้บริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
Authors: อุมาพร พงศ์โสภิตานันท์
Keywords: คุ้มครองผู้บริโภค
เครื่องดื่มแอลกอฮอล์
Issue Date: 16-October-2556
Abstract: ประชากรในประเทศไทยมีการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มาเป็นเวลานานนับจากอดีต สืบเนื่องมาจากการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ มักใช้ดื่มเพื่อเฉลิมฉลองในงานพิธีมงคลหรือพิธี อวมงคลต่างๆ หรือความเชื่อที่ว่าการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์สามารถใช้แทนยาบำรุงร่างกายหรือ รักษาโรคได้ ซึ่งพฤติกรรมเหล่านี้ได้ปฏิบัติสืบเนื่องกันมาจนถึงปัจจุบัน จึงเป็นผลให้อัตราการ บริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของประชากรไทยมีอัตราเพิ่มสูงขึ้นทุกๆปี โดยเฉพาะในกลุ่มเยาวชน และประชากรเพศหญิง ทำให้ปัจจุบันประเทศไทยมีอัตราการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์สูงเป็น อันดับที่ 5 ของโลก และมีแนวโน้มว่าจะเพิ่มสูงขึ้นอีก โดยดูจากอัตราการจำหน่ายเครื่องดื่ม แอลกอฮอล์ที่เพิ่มสูงขึ้นทุกปีเช่นกัน ทั้งๆที่ผลกระทบที่เกิดจากการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มี มากมายหลายประการทั้งต่อสุขภาพของผู้ดื่มเองที่ทำให้เกิดโรคต่างๆ ผลกระทบต่อสภาพเศรษฐกิจ และสังคมที่รัฐจะต้องเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาผู้ที่ป่วยและได้รับผลกระทบจากการบริโภค และต่อ วัฒนธรรมที่ดีงามของประเทศไทย จึงเห็นได้ว่าหากปล่อยให้ประชาชนหรือเยาวชนที่จะเป็น อนาคตของประเทศ มีอิสระที่จะบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์โดยไม่มีการให้ความคุ้มครองหรือ ควบคุม ย่อมก่อให้เกิดปัญหาและความเสียหายอย่างมาก ประเทศย่อมไม่สามารถพัฒนาหรือ เจริญก้าวหน้าได้ทัดเทียมประเทศอื่น อันสืบเนื่องจากปัญหาการติดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของ ประชากร ดังนั้น ในการประกอบธุรกิจของผู้ประกอบการเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ จึงจำเป็นที่จะต้องมี หลักเกณฑ์ที่ใช้ในการควบคุม ตลอดจนการหามาตรการที่เป็นธรรมในการให้ความคุ้มครองแก่ ผู้บริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ให้เหมาะสม และมีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น จากการศึกษาพบว่าประเทศไทยมีกฎหมายที่เกี่ยวกับการให้ความคุ้มครองแก่ผู้บริโภค เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ตลอดจนการควบคุมการประกอบธุรกิจเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อยู่มาก แต่ในความเป็นจริงกลับพบว่า ได้เกิดปัญหาในการใช้มาตรการดังกล่าวหลายประการด้วยกัน กล่าวคือ กฎหมายที่ใช้ในการคุ้มครองและควบคุมผู้บริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ยังขาดความชัดเจน ผู้ใช้ และผู้ถูกบังคับใช้เกิดความสับสนจนนำไปสู่การไม่เห็นความสำคัญต่อมาตรการต่างๆ โดยยังพบ ปัญหาเกี่ยวกับการกำหนดเขตพื้นที่การจำหน่ายและสถานที่บริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ปัญหา เกี่ยวกับการกำหนดอายุขั้นต่ำของผู้ซื้อเครื่องดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ปัญหาเกี่ยวกับวันและเวลาที่ อนุญาตให้ผู้ประกอบการจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ปัญหาเกี่ยวกับบทกำหนดโทษและค่าปรับ และปัญหาเกี่ยวกับการที่ยังไม่มีการกำหนดให้เครื่องดื่มแอลกอฮอล์จัดเป็นสินค้าที่ไม่ปลอดภัย ซึ่ง ปัญหาเหล่านี้แสดงให้เห็นว่ามาตรการดังกล่าวขาดประสิทธิภาพในการคุ้มครองและบังคับใช้ ไม่ สามารถควบคุมอัตราการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ได้อย่างแท้จริง ดังนั้นเพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาดังกล่าวอันจะมีผลให้มาตรการในการคุ้มครองผู้บริโภค เครื่องดื่มแอลกอฮอล์มีประสิทธิภาพและสามารถควบคุมอัตราการบริโภคได้ จึงจะต้องมีการแก้ไข บทบัญญัติของกฎหมายบางประการ เพื่อให้สอดคล้องกับการให้ความคุ้มครองและควบคุมแก่ ผู้บริโภค และผู้ประกอบธุรกิจเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ กล่าวคือ จะต้องมีการดำเนินการแก้ไขและ เพิ่มเติมบทบัญญัติของกฎหมายให้เหมาะสม ทั้งในเรื่องของการกำหนดเขตพื้นที่จำหน่ายและ บริโภคให้สอดคล้องกัน การกำหนดอายุของผู้ซื้อไว้ที่อายุไม่ต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์ การกำหนดวัน และเวลาที่อนุญาตให้จำหน่ายได้อย่างเหมาะสม การกำหนดบทลงโทษที่รุนแรงเพิ่มขึ้นของผู้ที่ฝ่า ฝืนต่อกฎหมาย และการกำหนดให้เครื่องดื่มแอลกอฮอล์จัดเป็นสินค้าที่ไม่ปลอดภัย ทั้งนี้เพื่อให้ มาตรการต่างๆเหล่านี้มีประสิทธิภาพและเหมาะสม สามารถที่จะให้ความคุ้มครองแก่ผู้บริโภค เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ได้อย่างแท้จริงในสถานการณ์ปัจจุบัน
Description: นิติศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรี
URI: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/4435
Appears in Collections:วิทยานิพนธ์ปริญญาโท

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
11profile.pdf52.61 kBAdobe PDFView/Open
5chap1.pdf121.81 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.