กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/4447
ชื่อเรื่อง: ปัญหาทางกฎหมายในการใช้สิทธิเลือกตั้งของผู้ต้องหาและจำเลยในคดีอาญา
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: นภัสถวัลย์ บุนนาค
คำสำคัญ: การเลือกตั้ง
สิทธิของผู้ต้องหาและจำเลย
คดีอาญา
วันที่เผยแพร่: 21-ตุลาคม-2556
บทคัดย่อ: การเลือกตั้ง (Elections) ถือว่าเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่มนุษย์ทุกคนจะพึงมีและได้รับไม่ว่า จะอยู่ในสถานะใดและเป็นหลักสำคัญกับการปกครองระบอบประชาธิปไตยในการแสดงออกซึ่ง เจตนารมณ์ที่จะมีสิทธิทางการเมืองการปกครองจึงก่อให้เกิดปัญหาว่าบุคคลที่เป็นผู้ต้องหาหรือ จำเลยในคดีอาญาจะมีสิทธิในการเลือกตั้งหรือแสดงสิทธิของตนผ่านการเลือกตั้งได้มากน้อย เพียงใด จากการศึกษาวิเคราะห์ว่า การที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 72 บัญญัติให้บุคคลมีหน้าที่ไปใช้สิทธิเลือกตั้งและถ้าไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้งจะถูกตัดสิทธิ ตามที่กฎหมายกำหนดไว้ การที่กฎหมายรัฐธรรมนูญกำหนดไว้เช่นนี้ก็เท่ากับว่าประชาชนที่มีสิทธิ เลือกตั้งจะต้องไปใช้สิทธิเลือกตั้ง เพราะการเลือกตั้งถือว่าเป็น “หน้าที่” มิใช่เป็น “สิทธิ” ของ ประชาชน แต่เมื่อพิจารณาถึงสถานะของผู้ต้องหาหรือจำเลยในคดีอาญาย่อมไม่สิทธิในการเลือกตั้ง ประกอบกับเพื่อความมั่นคงของรัฐ การหลบหนีของผู้ต้องหรือจำเลยในคดีอาญาหรือกฎหมาย ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภาและการเลือกตั้ง ส่วนท้องถิ่นกำหนดให้คุณสมบัติของบุคคลที่ไม่มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งได้กำหนดไว้ในมาตรา 100 (3) บัญญัติห้ามบุคคลที่ต้องคุมขังอยู่โดยหมายของศาลหรือโดยคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย ดังนั้นย่อมทำให้ผู้ต้องหาหรือจำเลยในคดีอาญาไม่มีสิทธิในการแสดงเจตนารมณ์ของตนผ่านระบบ การเลือกตั้งได้ จากการศึกษาผู้ศึกษาเสนอแนะว่า เพื่อมิให้บุคคลเหล่านี้ถูกมอบข้ามในทางสังคมควร ได้รับสิทธิเลือกตั้งโดยควรมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญและกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภาและการเลือกตั้งส่วนท้องถิ่นด้วย โดยตัด บทบัญญัติที่ให้กำหนดคุณสมบัติของบุคคลที่ไม่มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งตามมาตรา 100 (3) ออก ถ้าหากผู้ต้องหาและจำเลยในคดีอาญาไม่ได้รับการปล่อยตัวชั่วคราวและนำไปคุมขังไว้ในเรือนจำ หรือทัณฑสถาน ควรจัดให้มีคูหาเลือกตั้งภายในเรือนจำ เพื่อให้สะดวกต่อการจัดการเลือกตั้ง ส่วน การตรวจสอบรายชื่อของผู้ต้องหาและจำเลยในคดีอาญากับนักโทษอื่น ๆ เป็นไปได้โดยง่ายอยู่แล้ว เพราะตามพระราชบัญญัติราชทัณฑ์ พุทธศักราช 2479 บัญญัติให้มีการแยกการคุมขังต่างหากจาก กัน ส่วนการกำหนดภูมิลำเนาของผู้ต้องหาและจำเลยในคดีอาญา ซึ่งถือว่าเป็นผู้บริสุทธิ์จนกว่าจะมี คำพิพากษาของศาลถึงที่สุดว่ากระทำผิดจริง ก็ให้ถือภูมิลำเนาเดิมของผู้ต้องและจำเลยในคดีอาญา นั่นเอง ส่วนภูมิลำเนาของผู้ถูกจำคุกตามคำพิพากษาถึงที่สุดกำหนดให้อยู่ในเรือนจำหรือทัณฑ สถานที่ถูกจำคุกอยู่จนกว่าจะได้รับการปล่อยตัวซึ่งเป็นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 47 นอกจากนั้นเพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกให้กับผู้ต้องหาและจำเลยในคดีอาญาในวัน เลือกตั้งควรจะมีการแก้ไขกฎหมายหรือข้อบังคับให้ยอมให้ผู้ต้องหาและจำเลยในคดีอาญาไป ลงคะแนนเสียงที่ใดก็ได้ที่เป็นหน่วยเลือกตั้งที่ตนถูกคุมขังอยู่ในขณะนั้นโดยไม่จำเป็นต้องเดินทาง กลับไปยังภูมิลำเนาที่ตนมีทะเบียนบ้านอยู่เพื่อเลือกผู้สมัครที่ตนต้องการ แต่ให้มีการลงทะเบียน แสดงเจตจำนงในการลงคะแนนในที่นั้น ๆ เป็นการล่วงหน้าก่อนและควรเปิดโอกาสให้ นักการเมืองและพรรคการเมืองต่าง ๆ ได้เข้ามาหาเสียงในเรือนจำได้ด้วย เพื่อให้นักการเมืองจะ ทราบถึงปัญหาต่าง ๆ ของผู้ต้องหาและจำเลยในคดีอาญา
รายละเอียด: นิติศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรี
URI: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/4447
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ปริญญาโท

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
11profile.pdf51.72 kBAdobe PDFดู/เปิด
5chap1.pdf130.65 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น