Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/4482
Title: การศึกษาปัจจัยที่ทำให้เกิดความล่าช้าภายในโครงการสร้างถนน กรณีศึกษาเทศบาลนครปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี
Authors: เจน จำลองราช
Keywords: ปัจจัยที่ทำให้เกิดความล่าช้าภายในโครงการก่อสร้าง
Issue Date: 17-November-2557
Abstract: การศึกษาครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาปัจจัยความล่าช้าในโครงการก่อสร้างของเทศบาลนครปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี โดยมีข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม ได้แก่ เพศ อายุ สถานภาพ ระดับการศึกษา สายงานที่ทำงานอยู่ในปัจจุบัน ระยะเวลาในการปฏิบัติงาน รายได้ต่อเดือน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาคือ กลุ่มตัวอย่างสังกัดภาคราชการ และสังกัดภาคเอกชนเทศบาลนครปากเกร็ด กลุ่มตัวอย่างละ 30 คน โดยเก็บรวบรวมข้อมูลแบบสอบถาม เดือนตุลาคม 2556 จำนวน 60 ชุด และนำข้อมูลดังกล่าวมาวิเคราะห์โดยวิธีการทางสถิติ ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์และเรียงลำดับจากดัชนีความรุนแรง ซึ่งเป็นการรวมค่าระดับความถี่และระดับผลกระทบของแต่ละปัจจัยเพื่อหาปัจจัยความล่าช้าสำคัญ ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยที่ทำให้เกิดความล่าช้าภายในโครงการก่อสร้างถนน ฝ่ายราชการและฝ่ายผู้รับเหมา จำนวน 60 คน มีความเห็นตรงกัน 6 ปัจจัย ได้แก่ แบบก่อสร้างไม่มีความชัดเจน คลุมเครือหรือไม่ละเอียดพอ การที่ไม่มีเครื่องจักรประจำเป็นของตัวเอง ติดระบบท่อประปาใต้ดิน ผู้รับจ้างเข้าดำเนินการในพื้นที่ช้า ผู้ควบคุมงานขาดการประสานงานกับผู้รับจ้าง ความคลุมเครือของสัญญาจ้าง และจากการทดสอบค่าทางสถิติของปัญหาร่วมของโครงการก่อสร้างถนนของฝ่ายราชการและฝ่ายผู้รับเหมาที่มีความคิดเห็นตรงกันที่เกิดขึ้นภายในโครงการก่อสร้างถนน ได้แก่ ปัจจัยผู้ควบคุมงานขาดการประสานงานกับผู้รับจ้างเกิดขึ้นบ่อยครั้งมากและมีผลกระทบความรุนแรงอยู่ในระดับสูง และปัจจัยความคลุมเครือของสัญญาจ้าง เกิดขึ้นบ่อยครั้งมากและมีผลกระทบความรุนแรงในระดับสูง ผู้ศึกษาหวังว่าปัจจัยความล่าช้าที่ระบุในการศึกษาจะได้รับการพิจารณาอย่างระมัดระวังสำหรับผู้ที่เกี่ยวข้องในการบริหารโครงการ
Description: มหาวิทยาลัยศรีปทุม
URI: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/4482
Appears in Collections:S_PAY-03. บทความวิชาการ/วิจัย (อื่นๆ)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
บทความ นายเจน จำลองราช.pdf183.17 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.