กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/4494
ชื่อเรื่อง: หลักเกณฑ์การคิดค่าชดเชยทรัพย์สิน เพื่อพิจารณาลดผลกระทบต่อโครงการ กรณีศึกษาการพัฒนาโครงการแหล่งน้ำ
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สมพร จุลสุทธิ
คำสำคัญ: หลักเกณฑ์การคิดค่าชดเชยทรัพย์สิน
การพัฒนาโครงการแหล่งน้ำ
วันที่เผยแพร่: 19-พฤศจิกายน-2557
บทคัดย่อ: การศึกษาหลักเกณฑ์การคิดค่าชดเชยทรัพย์สิน เพื่อพิจารณาลดผลกระทบต่อโครงการ กรณีศึกษาโครงการแหล่งน้ำ มีวัตถุประสงค์ของการศึกษา เพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติงานที่ชัดเจนอย่างเป็นรายลักษณ์อักษร ที่แสดงถึงรายละเอียดขั้นตอนการปฏิบัติงานด้านชดเชยทรัพย์สินให้กับหน่วยงานที่สนใจ ทำให้สามารถรับทราบขั้นตอนในรายละเอียดอย่างถูกต้องเพื่อให้เป็นไปตามกฎหมาย คำสั่ง ระเบียบ และหลักเกณฑ์ และนำไปปฏิบัติเพื่อเป็นแนวทางลดผลกระทบที่เกิดขึ้นกับราษฎรที่ต้องสูญเสียที่ดินทำกินและทรัพย์สิน ซึ่งจะต้องเผชิญกับปัญหาต่างๆ ในการดำเนินชีวิต โดยจะต้องดำเนินการจ่ายค่าทดแทนหรือค่าชดเชยทรัพย์สินให้กับผู้ที่ได้รับผลกระทบอย่างเป็นธรรมและเพียงพอที่จะไปประกอบอาชีพในพื้นที่ใหม่ โดยให้เขามีชีวิตที่ไม่ด้อยไปกว่าที่เดิม หรือให้มีชีวิตที่ดีกว่าเดิม ผลของการศึกษา ถ้ามีการก่อสร้างโครงการเขื่อนแม่วงก์ จังหวัดนครสวรรค์ จะต้องมีการดำเนินงานพัฒนาและก่อสร้างระบบชลประทาน และองค์ประกอบโครงการต่างๆ จะต้องมีการเวนคืนที่ดิน หรือจ่ายค่าทดแทนสิ่งปลูกสร้างของราษฎรและของรัฐ พร้อมทั้งจ่ายค่าชดเชยพืชผลและไม้ยืนต้น จากการสำรวจและคำนวณค่าชดเชยที่ดินและทรัพย์สินประกอบไปด้วยค่าชดเชยที่ดินประมาณ 781 ล้านบาท ค่าทดแทนสิ่งปลูกสร้างประมาณ 15 ล้านบาท ค่าชดเชยพืชผลและ ไม้ยืนต้นประมาณ 19 ล้านบาท ซึ่งรวมทั้งสิ้นประมาณ 815 ล้านบาท หรือคิดจากงบประมาณ ค่าก่อสร้าง / แผนงานก่อสร้างทั้งหมด 13,150 ล้านบาท หรือค่าชดเชยทรัพย์สินทั้งหมดคิดเป็น ร้อยละ 6.20 ของโครงการ
รายละเอียด: มหาวิทยาลัยศรีปทุม
URI: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/4494
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:S_PAY-03. บทความวิชาการ/วิจัย (อื่นๆ)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
บทความ สมพร CM-2556.pdf687.85 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น