กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/4591
ชื่อเรื่อง: ความพึงพอใจของประชาชนต่อบริการสำรวจข้อมูลภาคสนามด้านแผนที่ภาษีและทะเบียนทรัพย์สินขององค์การบริหารส่วนตำบลแพรกหนามแดง : PEOPLE’S SATISFACTION OF TAXATION MAPPING AND PROPERTY REGISTRATION’S SURVEY SERVICES GIVEN BY PHRAGNAMGANG MUNICIPALITY
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: มัทญา พัชนี
คำสำคัญ: ความพึงพอใจของประชาชนต่อบริการ
สำรวจข้อมูลภาคสนามด้านแผนที่ภาษีและทะเบียนทรัพย์สิน
วันที่เผยแพร่: 25-กรกฎาคม-2559
บทคัดย่อ: งานศึกษาฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับความพึงพอใจของประชาชนต่อบริการ (2) ศึกษาระดับความพึงพอใจของประชาชนต่อบริการและเปรียบเทียบความพึงพอใจของประชาชนต่อบริการตามคุณลักษณะส่วนบุคคล และความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับบริการสำรวจข้อมูลภาคสนามด้านแผนที่ภาษีและทะเบียนทรัพย์สินของผู้รับบริการ โดยใช้แบบสอบถามและกลุ่มตัวอย่างจากจำนวนครัวเรือนที่ต้องทำการสำรวจข้อมูลภาคสนามจำนวน 288 คน ผลการศึกษาพบว่า ข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง 25-50 ปี ประกอบอาชีพเกษตรกรรม และรับจ้างทั่วไป มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนต่ำกว่า 10,000 บาท ส่วนใหญ่จบการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี มีจำนวนเนื้อที่แปลงที่ดินตามเอกสารสิทธิ์ ที่ถือครองระหว่าง 1-5 ไร่ มีความพึงพอใจของประชาชนต่อบริการสำรวจข้อมูลภาคสนามด้านแผนที่ภาษีและทะเบียนทรัพย์สินขององค์การบริหารส่วนตำบลแพรกหนามแดง โดยรวมอยู่ในระดับมาก (xˉ=3.66) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ด้านเจ้าหน้าที่ให้บริการ (xˉ=3.85) ด้านกระบวนการให้บริการ (xˉ=3.61) ด้านส่งเสริมแนะนำบริการ (xˉ=3.54) ตามลำดับ ซึ่งเปรียบเทียบความพึงพอใจของประชาชนต่อบริการ แยกตามปัจจัยส่วนบุคคล และระดับความรู้เบื้องต้น พบว่า เพศ อายุ อาชีพ รายได้ ระดับการศึกษา และระดับความรู้เบื้องต้น ของผู้รับบริการที่แตกต่างกัน ไม่ทำให้เกิดความพึงพอใจของประชาชนต่อบริการที่แตกต่างกัน มีเพียงปัจจัยเรื่องจำนวนเนื้อที่แปลงที่ดินตามเอกสารสิทธิ์ที่ผู้รับบริการถือครองต่างกัน จะมีความคิดเห็นเกี่ยวกับบริการสำรวจข้อมูลภาคสนามด้านแผนที่ภาษีและทะเบียนทรัพย์สินขององค์การบริหารส่วนตำบลแพรกหนามแดง โดยรวมแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยที่ (1) ผู้รับบริการที่มีจำนวนเนื้อที่แปลงที่ดินตามเอกสารสิทธิ์ต่ำกว่า 1 ไร่ มีความพึงพอใจด้านเจ้าหน้าที่ให้บริการ มากกว่า ผู้รับบริการ ที่มีจำนวนเนื้อที่แปลงที่ดินตามเอกสารสิทธิ์มากกว่า 5ไร่ ขึ้นไป (2) ผู้รับบริการที่มีจำนวนเนื้อที่แปลงที่ดินตามเอกสารสิทธิ์ต่ำกว่า 1 ไร่ มีความพึงพอใจด้านกระบวนการให้บริการ มากกว่า ผู้รับบริการที่มีจำนวนเนื้อที่แปลงที่ดินตามเอกสารสิทธิ์ระหว่าง 1-5ไร่ และมากกว่าผู้รับบริการที่มีจำนวนเนื้อที่แปลงที่ดินตามเอกสารสิทธิ์มากกว่า 5ไร่ ขึ้นไป (3) ผู้รับบริการที่มีจำนวนเนื้อที่แปลงที่ดินตามเอกสารสิทธิ์ต่ำกว่า 1 ไร่ มีความพึงพอใจด้านส่งเสริมแนะนำบริการ มากกว่า ผู้รับบริการที่มีจำนวนเนื้อที่แปลงที่ดินตามเอกสารสิทธิ์มากกว่า 5ไร่ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 นอกจากนี้ ผู้ศึกษายังได้นำผลการวิเคราะห์ที่พบว่ามีค่าเฉลี่ยต่ำกว่าค่าเฉลี่ยรวม มาร่างเป็นข้อเสนอแนะในการพัฒนาบริการบริการสำรวจข้อมูลภาคสนามด้านแผนที่ภาษีและทะเบียนทรัพย์สินขององค์การบริหารส่วนตำบลแพรกหนามแดง ด้านกระบวนการให้บริการ และด้านส่งเสริมแนะนำบริการ มีความพึงพอใจอยู่ในระดับต่ำกว่าค่าเฉลี่ยรวม ซึ่งข้อเสนอแนะที่จัดทำขึ้นนั้น จะเกี่ยวกับความชัดเจนของข้อมูลต่าง ๆ ในการบริการสำรวจข้อมูลภาคสนามด้านแผนที่ภาษีและทะเบียนทรัพย์สินขององค์การบริหารส่วนตำบลแพรกหนามแดง ที่ผู้รับบริการจำนวนมากมักจะไม่มีความรู้เกี่ยวกับขั้นตอนการให้บริการ ตลอดจนไม่ทราบว่าต้องจัดเตรียมเอกสารหลักฐานอะไรบ้างในการติดต่อรับบริการ ดังนั้นการส่งเสริมแนะนำบริการ(ประชาสัมพันธ์) และให้ข้อมูลที่ชัดเจนด้านกระบวนการให้บริการ จึงเป็นปัจจัยหนึ่งที่ช่วยให้ผู้รับบริการสำรวจข้อมูลภาคสนามด้านแผนที่ภาษีและทะเบียนทรัพย์สินขององค์การบริหารส่วนตำบลแพรกหนามแดง ได้รับความสะดวก และพึงพอใจในบริการดังกล่าวมากยิ่งขึ้น
รายละเอียด: "หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีปทุม"
URI: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/4591
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:GRA-03. บทความวิชาการ/วิจัย (อื่นๆ)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
มัทญา พัชนี .pdf312.36 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น

เครื่องมือสำหรับผู้ดูแลระบบ