กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/5349
ชื่อเรื่อง: ปัญหาและอุปสรรคทางกฎหมายเกี่ยวกับการควบคุม การขายทอดตลาดและค้าของเก่า
ชื่อเรื่องอื่นๆ: LEGAL PROBLEMS AND OBSTACLE RELATED TO CONTROL OF AUTION AND ANTIQUE TRADE
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ธนพล ภาคสุข
คำสำคัญ: ควบคุมการขายทอดตลาด
ควบคุมการค้าของเก่า
ขายทอดตลาด
ค้าของเก่า
CONTROL OF AUTION
CONTROL OF ANTIQUE TRADE
AUTION
ANTIQUE TRADE
วันที่เผยแพร่: 2559
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยศรีปทุม
แหล่งอ้างอิง: ธนพล ภาคสุข. 2559. ปัญหาและอุปสรรคทางกฎหมายเกี่ยวกับการควบคุม การขายทอดตลาดและค้าของเก่า.
หมายเลขชุด/รายงาน: 2559
บทคัดย่อ: สารนิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและวิเคราะห์เกี่ยวกับการควบคุมการใช้บังคับกฎหมาย รวมทั้งปัญหาเกี่ยวกับการออกใบอนุญาตการขายทอดตลาดและค้าของเก่า ซึ่งบัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติควบคุมการขายทอดตลาดและค้าของเก่า พุทธศักราช 2474 มาตรา 11 ซึ่งบัญญัติว่า “ท่านว่าใบอนุญาตตามพระราชบัญญัตินี้เป็นใบอนุญาตเฉพาะตัว โอนกันไม่ได้ และสมบูรณ์เพียงวันที่ 31 ธันวาคมทุกปี” โดยปัญหาที่เกิดขึ้นเป็นกรณีที่ใบอนุญาตดังกล่าวเป็นใบอนุญาตเฉพาะตัวไม่สามารถโอนกันได้ จึงทำให้เกิดปัญหาในเรื่องของการโอนใบอนุญาต การขายทอดตลาดและการค้าของเก่า และประเด็นปัญหาในเรื่องระยะเวลาของใบอนุญาต การขายทอดตลาดและค้าของเก่าที่มีระยะเวลาจำกัด ซึ่งมีผลทำให้เกิดความเดือนร้อนแก่ผู้ขอรับใบอนุญาต โดยศึกษาเปรียบเทียบแนวคิด ทฤษฎี และหลักเกณฑ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องดังกล่าวทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ จากการศึกษาและพิเคราะห์พบว่าในกรณีของการใช้บังคับพระราชบัญญัติควบคุม การขายทอดตลาดและค้าของเก่า พุทธศักราช 2474 ตามมาตรา 11 นั้น พบว่าบทบัญญัติดังกล่าวนั้นยังไม่สอดคล้องกับหลักนิติรัฐ (Rechtsstaatsprinzip) หลักความชอบของการกระทำทางปกครอง และหลักการควบคุมตรวจสอบการกระทำทางปกครอง (Control and Examination of Administrative Act) การกระทำทางปกครองดังกล่าวที่เป็นอำนาจหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ ซึ่งได้ควบคุมการประกอบธุรกิจดังกล่าวยังเกิดปัญหา และยังไม่เป็นธรรมต่อประชาชนมากเท่าที่ควร กรณีดังกล่าวอาจเกิดจาก ความล้าสมัยของกฎหมายไม่สอดคล้องกับสภาพสังคมในปัจจุบัน และอาจขัดต่อสิทธิและเสรีภาพของประชาชน ตลอดจนปัญหาการควบคุมการออกใบอนุญาตการขายทอดตลาดและค้าของเก่า ซึ่งเป็นการใช้อำนาจของเจ้าพนักงานผู้ออกใบอนุญาต ดังนั้น การปรับปรุงบทบัญญัติของกฎหมายเพื่อให้มีความสอดคล้องกับสภาวการณ์ในปัจจุบัน โดยนำหลักการดังกล่าวมาแก้ไขเพิ่มเติมเพื่อให้กฎหมายที่ใช้บังคับอยู่นั้นมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
รายละเอียด: มหาวิทยาลัยศรีปทุม
URI: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/5349
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:LAW-08. ผลงานนักศึกษา

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
บทความ-ธนพล ภาคสุข-กฎหมายมหาชน-2559.pdf300.77 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น