กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/5394
ชื่อเรื่อง: ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการจัดเก็บภาษีการรับมรดก
ชื่อเรื่องอื่นๆ: LEGAL PROBLEMS RELATING TO THE COLLECTION OF INHERITANCE TAX
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: อดุลย์ มีสมนัย
คำสำคัญ: ภาษีมรดก
การจัดเก็บภาษีการรับมรดก
พระราชบัญญัติภาษีการรับมรดก พ.ศ. 2558
วันที่เผยแพร่: 2560
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยศรีปทุม
แหล่งอ้างอิง: อดุลย์ มีสมนัย. ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการจัดเก็บภาษีการรับมรดก. สารนิพนธ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต กลุ่มวิชากฎหมายธุรกิจ. คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม พ.ศ.2560.
หมายเลขชุด/รายงาน: SPU _อดุลย์_2560
บทคัดย่อ: การวิจัยเรื่อง ปัญหาการจัดเก็บภาษีการรับมรดกตามพระราชบัญญัติภาษีการรับมรดก พ.ศ. 2558 มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิวัฒนาการ ทฤษฎี และหลักการจัดเก็บภาษีมรดก ศึกษาและวิเคราะห์ข้อดี ข้อเสีย และปัญหาเกี่ยวกับการจัดเก็บภาษีมรดกของไทยเปรียบเทียบกับของต่างประเทศ ตลอดจนศึกษาแนวทางการแก้ไขปัญหาการจัดเก็บภาษีมรดก จากการศึกษาการจัดเก็บภาษีมรดกตามพระราชบัญญัติภาษีการรับมรดก พ.ศ.2558 นั้น กำหนดให้จัดเก็บภาษีการรับมรดกจากผู้รับมรดกก่อให้เกิดการจัดเก็บภาษีซ้ำซ้อน กล่าวคือ มรดกกองเดียวอาจเสียภาษีมากกว่าหนึ่งครั้ง สร้างความไม่เป็นธรรม ไม่ลดความเหลื่อมล้ำในสังคม ซึ่งในสหรัฐอเมริกาจัดเก็บภาษีมรดกจากกองมรดกทำให้ไม่เกิดปัญหาการจัดเก็บภาษีซ้ำซ้อนนอกจากนี้ สหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่นยังจัดเก็บภาษีจากการให้โดยเสน่หาควบคู่ไปกับการจัดเก็บภาษีมรดก จากทรัพย์สินทุกประเภททั้งที่อยู่ในประเทศและที่อยู่ในต่างประเทศ รวมถึงสิทธิอื่นๆ ที่อาจตีเป็นมูลค่าเงินได้ทำให้ลดปัญหาการหลบเลี่ยงภาษีได้เป็นอย่างดี แต่สำหรับไทยจัดเก็บภาษีมรดกเพียงอย่างเดียว มิได้จัดเก็บภาษีจากการให้โดยเสน่หาอย่างเป็นรูปธรรมสอดคล้องกับการจัดเก็บภาษีมรดก และจัดเก็บจากทรัพย์สินค่อนข้างจำกัดเฉพาะทรัพย์สินที่มีทะเบียนควบคุม และส่วนมากเป็นทรัพย์สินที่อยู่ภายในประเทศ ทำให้เกิดปัญหาการหลบเลี่ยงภาษีได้ง่าย ดังนั้น ผู้วิจัยจึงเห็นควรเสนอให้มีการจัดเก็บภาษีมรดกจากกองมรดกและภาษีจากการให้โดยเสน่หา โดยจัดเก็บจากทรัพย์สินทุกประเภททั้งที่อยู่ภายในประเทศและที่อยู่ในต่างประเทศ เหมือนกับที่กำหนดไว้ในกฎหมายของประเทศสหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่นซึ่ง จะทำไทยจัดเก็บภาษีมรดกเพียงอย่างเดียว มิได้จัดเก็บภาษีจากการให้โดยเสน่หาอย่างเป็นรูปธรรมสอดคล้องกับการจัดเก็บภาษีมรดก และจัดเก็บจากทรัพย์สินค่อนข้างจำกัดเฉพาะทรัพย์สินที่มีทะเบียนควบคุม และส่วนมากเป็นทรัพย์สินที่อยู่ภายในประเทศ ทำให้เกิดปัญหาการหลบเลี่ยงภาษีได้ง่าย
รายละเอียด: อดุลย์ มีสมนัย. ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการจัดเก็บภาษีการรับมรดก. สารนิพนธ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต กลุ่มวิชากฎหมายธุรกิจ. คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม พ.ศ.2560.
URI: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/5394
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:LAW-08. ผลงานนักศึกษา

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
บทความปัญหาทางกฎหมาย.pdf228.47 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น