Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/5495
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorรัชพงศ์ จารุสินธุพงศ์en_US
dc.date.accessioned2018-01-09T10:22:51Z-
dc.date.accessioned2018-01-09T10:22:53Z-
dc.date.available2018-01-09T10:22:51Z-
dc.date.available2018-01-09T10:22:53Z-
dc.date.issued2560-
dc.identifier.citationรัชพงศ์ จารุสินธุพงศ์. (2560). ปัญหากฎหมายการห้ามโฆษณาเกี่ยวกับสุรา : กรณีศึกษาสุราพื้นบ้าน. สารนิพนธ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรนิติศาสตร์มหาบัณฑิต กลุ่มวิชากฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรมทางอาญา คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม พ.ศ.2560.en_US
dc.identifier.urihttp://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/5495-
dc.descriptionรัชพงศ์ จารุสินธุพงศ์. ปัญหากฎหมายการห้ามโฆษณาเกี่ยวกับสุรา : กรณีศึกษาสุราพื้นบ้าน. สารนิพนธ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรนิติศาสตร์มหาบัณฑิต กลุ่มวิชากฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรมทางอาญา คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม พ.ศ.2560.en_US
dc.description.abstractการศึกษาเรื่อง ปัญหากฎหมายการห้ามโฆษณาเกี่ยวกับสุรา กรณีศึกษาสุราพื้นบ้าน มีวัตถุประสงค์ ศึกษาถึงความหมาย ความเป็นมา วิวัฒนาการ แนวคิดทฤษฎีและนโยบายของรัฐเกี่ยวกับวิสาหกิจชุมชนและสุราพื้นบ้าน, ศึกษาถึงปัญหากฎหมายการควบคุมการโฆษณาสุราพื้นเมืองตามกฎหมายไทยและต่างประเทศ เสนอแนะแนวทางแก้ไขปัญหาปัญหากฎหมาย ข้อจำกัดในการโฆษณาสุราพื้นบ้าน สืบเนื่องจาก นโยบายส่งเสริมวิสาหกิจชุมชนให้ประชาชนผลิตสุราพื้นบ้าน แต่ประสบปัญหาการห้ามโฆษณา ซึ่งผลการศึกษาพบว่ามีปัญหาทางกฎหมายดังนี้ 1)ปัญหาความไม่สอดคล้องต่อนโยบายของรัฐ เกิดจากปัญหา (1) ความไม่ต่อเนื่องของรัฐบาล และ (2) ความไม่สอดคล้องกฎหมายควบคุมการโฆษณาสุราพื้นบ้าน ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2546 รัฐบาลส่งเสริมให้ประชาชนผลิตสุราพื้นบ้าน ปัญหาทางกฎหมายเกิดขึ้นเมื่อรัฐส่งเสริมสุราพื้นบ้านให้เป็นวิสาหกิจชุมชน แต่ไม่สามารถโฆษณาเพื่อขายได้เพราะมีข้อห้ามตามพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ.2551 2) ปัญหาหน่วยงานที่กำกับดูแล มีมากจนเกินไป เช่น (1) หน่วยงานที่มีอำนาจตามกฎหมายโดยตรงในการควบคุมโฆษณา คือ คณะกรรมการว่าด้วยการโฆษณามีอำนาจตาม พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.2522 และ สำนักงานคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และยาสูบ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุขมีอำนาจตามพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ.2551 และ (2) หน่วยงานที่ไม่มีอำนาจตามกฎหมายโดยตรงแต่มีอำนาจห้ามเผยแพร่หรือโฆษณาสุราพื้นบ้าน คือ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา และกรมประชาสัมพันธ์ 3) ปัญหาเนื้อความในโฆษณา (1) ผู้ผลิตสุราพื้นบ้านการบรรยายสรรพคุณสุราพื้นบ้านว่าผลิตจากสมุนไพร มีประโยชน์ต่อร่างกายและสุขภาพ หรือที่เรียกว่า “ยาดองเหล้า” การรักษาโรคด้วยยาดองเหล้านั้นเป็นภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยอย่างหนึ่ง การโฆษณาเป็นยาทำให้ต้องได้รับใบอนุญาตผู้ประกอบโรคศิลปะจากกระทรวงสาธารณสุข และ (2) การใช้ข้อความโฆษณาที่ผู้ผลิตสุราพื้นบ้านถูกเอาเปรียบผู้ประกอบการผลิตสุรารายใหญ่สามารถหลบเลี่ยงการโฆษณาทางตรงได้โดยการใช้การโฆษณาแฝง และ 4) ปัญหาเกี่ยวกับการลงโทษการลงโทษส่วนใหญ่เน้นที่โทษปรับเงิน เป็นการลงโทษที่ไม่มีผลกระทบต่อผู้ประกอบการขนาดใหญ่ ที่จะโฆษณาออกไปก่อนแล้วเสียค่าปรับในภายหลัง ขณะที่เงินค่าปรับนี้จะเป็นเงินจำนวนมากสำหรับผู้ผลิตสุราพื้นบ้านen_US
dc.description.sponsorshipSPU_นักศึกษาปริญญาโท คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุมen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยศรีปทุมen_US
dc.relation.ispartofseriesSPU_รัชพงศ์_2560en_US
dc.subjectการโฆษณาสุราen_US
dc.subjectสุราพื้นบ้านen_US
dc.subjectกฎหมายควบคุมแอลกอฮอล์en_US
dc.titleปัญหากฎหมายการห้ามโฆษณาเกี่ยวกับสุรา : กรณีศึกษาสุราพื้นบ้านen_US
dc.title.alternativeLEGAL PROBLEMATICAL ON THE PROHIBITION OF LIQUOR ADVERTISEMENT : A CASE STUDY OF NATIVE LIQUORen_US
dc.typeOtheren_US
Appears in Collections:LAW-08. ผลงานนักศึกษา
LAW-08. ผลงานนักศึกษา

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
บทความ.pdf132.62 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.