กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/5588
ชื่อเรื่อง: การศึกษาสมรรถนะของบุคลากรด้านโลจิสติกส์ 4.0 ด้วยเทคนิคการแปลงหน้าที่เชิงคุณภาพ (QFD)
ชื่อเรื่องอื่นๆ: A STUDY OF COMPETENCY OF LOGISTICS 4.0 WORKFORCE BY USING QUALITY FUNCTION DEPLOYMENT (QFD) METHOD
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ภคพล พิงพิทยากุล
คำสำคัญ: สมรรถนะของบุคลากร
โลจิสติกส์
วันที่เผยแพร่: 2561
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยศรีปทุม
แหล่งอ้างอิง: ภคพล พิงพิทยากุล. 2560. "การศึกษาสมรรถนะของบุคลากรด้านโลจิสติกส์ 4.0 ด้วยเทคนิคการแปลงหน้าที่เชิงคุณภาพ (QFD)." การค้นคว้าอิสระวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน วิทยาลัยโลจิสติกส์และซัพพลายเชน มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
หมายเลขชุด/รายงาน: SPU_ภคพล _2559
บทคัดย่อ: การศึกษาสมรรถนะของบุคลากรด้านโลจิสติกส์ 4.0 นี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิด ทฤษฎีของสมรรถนะที่จำเป็นของบุคลากรด้านโลจิสติกส์ และเพื่อกำหนดรายการสมรรถนะที่จำเป็นของบุคลากรด้านโลจิสติกส์ เพื่อรองรับแนวคิดโลจิสติกส์ 4.0 ผลการวิจัย พบว่า การวิเคราะห์สมรรถนะที่มีความสำคัญและจำเป็นของบุคลากรด้านโลจิสติกส์ในยุคโลจิติกส์ 4.0 ผู้ตอบแบบสอบถามบุคลากรส่วนใหญ่เป็นผู้บริหารระดับกลาง (เช่น ผู้อำนวยการ ผู้จัดการ ผู้ช่วยผู้จัดการ หัวหน้าศูนย์) ประเภทหน่วยงานเป็นผู้ให้บริการด้านโลจิสติกส์ ประเภทธุรกิจตามกลุ่มสินค้าที่หน่วยงานของบุคลากรเป็นประเภทธุรกิจยานยนต์ และชิ้นส่วนอะไหล่ยนต์และประเภทธุรกิจสินค้าอุปโภคบริโภค ตามลำดับ ผลการวิเคราะห์สมรรถนะของบุคลากรด้านความรู้ ส่วนใหญ่เป็นบุคลากรมีความสามารถในการวิเคราะห์ข้อมูลปัญหาเบื้องต้น ด้านคุณธรรมจริยธรรม ส่วนใหญ่เป็นบุคลากรมีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ ด้านภาวะผู้นำ ส่วนใหญ่เป็นบุคลากรมีทักษะการรับสินค้า ด้านภาวะผู้นำ ส่วนใหญ่เป็นบุคลากรมีการรับรู้ความต้องการเป้าหมายขององค์กร ตามลำดับ และผลการวิเคราะห์ความเห็นเกี่ยวกับวิธีการพัฒนาบุคลากรด้านโลจิสติกส์บุคลากรด้านโลจิสติกส์ ส่วนใหญ่บุคลากรมีความคิดเห็นในเรื่องของศึกษาเรียนรู้ด้วยตนเอง คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของบุคลากรส่วนใหญ่มีความสามารถปรับตัวได้ทันกับเทคโนโลยีในการทำงานและวิธีการจำเป็นต้องพัฒนาบุคลากรส่วนใหญ่เป็นการไปศึกษาดูงาน
รายละเอียด: ภคพล พิงพิทยากุล. การศึกษาสมรรถนะของบุคลากรด้านโลจิสติกส์ 4.0 ด้วยเทคนิคการแปลงหน้าที่เชิงคุณภาพ (QFD). การค้นคว้าอิสระนี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน วิทยาลัยโลจิสติกส์และซัพพลายเชน มหาวิทยาลัยศรีปทุม ปีการศึกษา 2559.
URI: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/5588
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:CLS-11. การค้นคว้าอิสระ/สารนิพนธ์



รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น