Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/5615
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorธัญญาภรณ์ ชูเอี่ยมen_US
dc.date.accessioned2018-09-27T08:42:43Z-
dc.date.available2018-09-27T08:42:43Z-
dc.date.issued2561-
dc.identifier.citationธัญญาภรณ์ ชูเอี่ยม. ปัญหาเกี่ยวกับบทลงโทษกรณีปฏิเสธการตรวจวัดแอลกอฮอล์ ของกฎหมายไทยเปรียบเทียบกฎหมายต่างประเทศ. สารนิพนธ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต กลุ่มวิชากฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรมทางอาญา คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม พ.ศ.2561.en_US
dc.identifier.urihttp://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/5615-
dc.descriptionธัญญาภรณ์ ชูเอี่ยม. ปัญหาเกี่ยวกับบทลงโทษกรณีปฏิเสธการตรวจวัดแอลกอฮอล์ ของกฎหมายไทยเปรียบเทียบกฎหมายต่างประเทศ. สารนิพนธ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต กลุ่มวิชากฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรมทางอาญา คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม พ.ศ.2561.en_US
dc.description.abstractประเทศไทยในปัจจุบันเกิดอุบัติเหตุทางจราจรจำนวนเพิ่มมากขึ้น และสาเหตุที่สำคัญประการหนึ่งที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุพบว่า เกิดจากการที่ผู้ขับขี่มึนเมาจากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ซึ่งพฤติกรรมการขับขี่ที่เห็นได้ชัด คือ ความประมาทในการขับขี่และการดื่มสุราก่อนขับขี่ ถึงแม้ทางภาครัฐจะมีการป้องกันโดยหน่วยงานของรัฐและองค์กรอิสระร่วมกันรณรงค์และแก้ปัญหาเมาแล้วขับและยังมีพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 บังคับใช้แล้วก็ตาม แต่การแก้ปัญหาโดยบทลงโทษที่มีอยู่นั้น แนวโน้มยังไม่ดีขึ้น ดังนั้น สารนิพนธ์ฉบับนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ สภาพปัญหา มาตรการทางกฎหมายปัญหาเกี่ยวกับบทลงโทษกรณีปฏิเสธการตรวจวัดแอลกอฮอล์ จากการศึกษาเบื้องต้นพบว่า ตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 ของประเทศไทยนั้น มีประเด็นปัญหาเกี่ยวกับการแจ้งสิทธิให้ผู้ขับขี่ทราบก่อนที่จะมีการกักตัวและประเด็นในส่วนของบทลงโทษยังถือว่ามีอัตราโทษที่น้อย เมื่อเทียบกับต่างประเทศที่ได้ทำการศึกษา ส่งผลให้มีการกระทำความผิดมากขึ้นในทุกปี ทั้งนี้เพราะอัตราโทษที่น้อยและไม่ได้สัดส่วนกับการกระทำความผิดทำให้ผู้ขับขี่ไม่เคารพกฎหมายอย่างเคร่งครัด และยังอาศัยช่องว่างของกฎหมายในการปฏิเสธการตรวจวัดระดับแอลกอฮอล์ นอกจากนั้นตัวบทกฎหมายบางมาตราตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 ยังขาดความแน่นอนชัดเจนและมีปัญหาการบังคับใช้อยู่บางประการ ด้วยเหตุนี้ ข้อเสนอแนะของการวิจัยจึงขอเสนอให้มีการแก้ไขพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 ในส่วนของการแจ้งสิทธิตามมาตรา 142 และที่เกี่ยวกับบทลงโทษตามมาตรา 157/1 โดยเทียบเคียงกับกฎหมายต่างประเทศ และขอเสนอให้กำหนดหลักเกณฑ์ของอัตราโทษที่จะได้รับตามระดับแอลกอฮอล์ในเลือดที่ตรวจวัดได้ในขณะที่กระทำความผิดและตามจำนวนครั้งที่กระทำความผิด เพื่อให้สอดคล้องกับหลักกฎหมายของต่างประเทศen_US
dc.description.sponsorshipหลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต กลุ่มวิชากฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรมทางอาญา คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยศรีปทุมen_US
dc.relation.ispartofseriesSPU_ธัญญาภรณ์ ชูเอี่ยม _2561en_US
dc.subjectการตรวจวัดแอลกอฮอล์en_US
dc.subjectกฎหมายจราจรen_US
dc.titleปัญหาเกี่ยวกับบทลงโทษกรณีปฏิเสธการตรวจวัดแอลกอฮอล์ ของกฎหมายไทยเปรียบเทียบกฎหมายต่างประเทศen_US
dc.title.alternativePROBLEMS RELATING TO PENALTY IN CASE OF DENIAL OF ALCOHOL TEST UNDER THAI LAW IN COMPARISON TO FOREIGN LAWen_US
dc.typeArticleen_US
Appears in Collections:LAW-08. ผลงานนักศึกษา

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
บทความ.pdf468.62 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.