กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/5615
ชื่อเรื่อง: ปัญหาเกี่ยวกับบทลงโทษกรณีปฏิเสธการตรวจวัดแอลกอฮอล์ ของกฎหมายไทยเปรียบเทียบกฎหมายต่างประเทศ
ชื่อเรื่องอื่นๆ: PROBLEMS RELATING TO PENALTY IN CASE OF DENIAL OF ALCOHOL TEST UNDER THAI LAW IN COMPARISON TO FOREIGN LAW
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ธัญญาภรณ์ ชูเอี่ยม
คำสำคัญ: การตรวจวัดแอลกอฮอล์
กฎหมายจราจร
วันที่เผยแพร่: 2561
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยศรีปทุม
แหล่งอ้างอิง: ธัญญาภรณ์ ชูเอี่ยม. ปัญหาเกี่ยวกับบทลงโทษกรณีปฏิเสธการตรวจวัดแอลกอฮอล์ ของกฎหมายไทยเปรียบเทียบกฎหมายต่างประเทศ. สารนิพนธ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต กลุ่มวิชากฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรมทางอาญา คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม พ.ศ.2561.
หมายเลขชุด/รายงาน: SPU_ธัญญาภรณ์ ชูเอี่ยม _2561
บทคัดย่อ: ประเทศไทยในปัจจุบันเกิดอุบัติเหตุทางจราจรจำนวนเพิ่มมากขึ้น และสาเหตุที่สำคัญประการหนึ่งที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุพบว่า เกิดจากการที่ผู้ขับขี่มึนเมาจากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ซึ่งพฤติกรรมการขับขี่ที่เห็นได้ชัด คือ ความประมาทในการขับขี่และการดื่มสุราก่อนขับขี่ ถึงแม้ทางภาครัฐจะมีการป้องกันโดยหน่วยงานของรัฐและองค์กรอิสระร่วมกันรณรงค์และแก้ปัญหาเมาแล้วขับและยังมีพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 บังคับใช้แล้วก็ตาม แต่การแก้ปัญหาโดยบทลงโทษที่มีอยู่นั้น แนวโน้มยังไม่ดีขึ้น ดังนั้น สารนิพนธ์ฉบับนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ สภาพปัญหา มาตรการทางกฎหมายปัญหาเกี่ยวกับบทลงโทษกรณีปฏิเสธการตรวจวัดแอลกอฮอล์ จากการศึกษาเบื้องต้นพบว่า ตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 ของประเทศไทยนั้น มีประเด็นปัญหาเกี่ยวกับการแจ้งสิทธิให้ผู้ขับขี่ทราบก่อนที่จะมีการกักตัวและประเด็นในส่วนของบทลงโทษยังถือว่ามีอัตราโทษที่น้อย เมื่อเทียบกับต่างประเทศที่ได้ทำการศึกษา ส่งผลให้มีการกระทำความผิดมากขึ้นในทุกปี ทั้งนี้เพราะอัตราโทษที่น้อยและไม่ได้สัดส่วนกับการกระทำความผิดทำให้ผู้ขับขี่ไม่เคารพกฎหมายอย่างเคร่งครัด และยังอาศัยช่องว่างของกฎหมายในการปฏิเสธการตรวจวัดระดับแอลกอฮอล์ นอกจากนั้นตัวบทกฎหมายบางมาตราตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 ยังขาดความแน่นอนชัดเจนและมีปัญหาการบังคับใช้อยู่บางประการ ด้วยเหตุนี้ ข้อเสนอแนะของการวิจัยจึงขอเสนอให้มีการแก้ไขพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 ในส่วนของการแจ้งสิทธิตามมาตรา 142 และที่เกี่ยวกับบทลงโทษตามมาตรา 157/1 โดยเทียบเคียงกับกฎหมายต่างประเทศ และขอเสนอให้กำหนดหลักเกณฑ์ของอัตราโทษที่จะได้รับตามระดับแอลกอฮอล์ในเลือดที่ตรวจวัดได้ในขณะที่กระทำความผิดและตามจำนวนครั้งที่กระทำความผิด เพื่อให้สอดคล้องกับหลักกฎหมายของต่างประเทศ
รายละเอียด: ธัญญาภรณ์ ชูเอี่ยม. ปัญหาเกี่ยวกับบทลงโทษกรณีปฏิเสธการตรวจวัดแอลกอฮอล์ ของกฎหมายไทยเปรียบเทียบกฎหมายต่างประเทศ. สารนิพนธ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต กลุ่มวิชากฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรมทางอาญา คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม พ.ศ.2561.
URI: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/5615
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:LAW-08. ผลงานนักศึกษา

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
บทความ.pdf468.62 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น