กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/5893
ชื่อเรื่อง: การวิเคราะห์กำลังต้านทานแผ่นดินไหวของโครงสร้างที่มีผนังก่ออิฐแบบมีช่องเปิดบางส่วนเสริมกำลังด้วยเฟอร์โรซีเมนต์และตะแกรงเหล็กฉีก
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ศักดา ชมภูยันต์
ไพบูลย์ ปัญญาคะโป
คำสำคัญ: ตะแกรงเหล็กฉีก, เฟอร์ซีเมนต์, การเสริมกำลังต้าทานแผ่นดินไหว, ผนังก่อที่มีช่องเปิด
expanded metal, ferrocement, strengthening, opening infilledframe
วันที่เผยแพร่: 2018
บทคัดย่อ: บทความนี้นำเสนอการวิเคราะห์กำลังต้านทานแผ่นดินไหวของโครงอาคารเรียนที่มีการก่อผนังเพียงบางส่วน ซึ่งมีการติดตั้งหน้าต่างขนาดกว้าง และมีการเสริมกำลังเสา คานและผนังก่ออิฐด้วยเฟอร์โรซีเมนต์เสริมตะแกรงเหล็กฉีก โดยเสนอแบบจำลองค้ำยันเทียบเท่าเพื่อการคำนวณกำลังต้านทานแผ่นดินไหวของโครงอาคารที่มีผนังก่ออิฐแบบมีช่องเปิดบางส่วน โครงสร้างอาคารตัวอย่างที่ใช้ในการวิเคราะห์จำลองจากโครงอาคารชั้นล่างเพียงช่วงเดียว ซึ่งเป็นรูปแบบทั่วไปของอาคารเรียนตามแบบมาตรฐานกระทรวงศึกษาธิการขนาดความสูง 3 ชั้น และวิเคราะห์ด้วยวิธีการผลักอาคารแบบวัฏจักร ด้วยรูปแบบการเคลื่อนที่เช่นเดียวกับการทดสอบในห้องปฏิบัติการ โดยศึกษาขนาดของช่องเปิดร้อยละ40 ของพื้นที่ผนังก่ออิฐ ผลการวิเคราะห์พบว่า ค่ากำลังต้านทาน ค่าความเหนียว และค่าสติฟเนสของโครงสร้างเสริมกำลังเทียบกับโครงสร้างเดิมมีค่าเพิ่มขึ้นคิดเป็น 47.37%,31.51% และ 103.61% ตามลำดับโครงอาคารผนังก่ออิฐบางส่วนที่มีการเสริมกำลัง มีกำลังต้านทานแรงกระทำด้านข้างใกล้เคียงกับแบบจำลองที่นำเสนอ นอกจากนี้ ยังพบว่า ผนังส่วนบนมีค่าแรงต้านทานสูงกว่าผนังส่วนล่าง เนื่องจากแรงกระทำทางด้านข้างมีการถ่ายแรงเข้าสู่ผนังส่วนบนมากกว่าผนังส่วนล่าง การวิบัติของแผ่นผนังส่วนบนจะมีโอกาสเกิดขึ้นได้มากกว่าแผ่นผนังส่วนล่าง
URI: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/5893
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:ผลงานวิจัย

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
SPUCON 2018_Seismic Analysis of Partial Opening Masonry Infilled Frame.pdfMain article395.36 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น