Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/5951
Title: ปัญหาการตีความของศาลรัฐธรรมนูญ: ศึกษากรณี สถานภาพของลูกจ้าง ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 267 และมาตรา 182 (7)
Other Titles: PROBLEMS OF INTERPRETATION OF CONSTITUTION COURT: CASE STUDY OF EMPLOYEE STATUS UNDER THE CONSTITUTION OF THE KINGDOM OF THAILAND OF 2007 SECTION 267 AND SECTION 182 (7)
Authors: เอกภพ อุปมาก
Keywords: การตีความ
ศาลรัฐธรรมนูญ
การตีความของศาลรัฐธรรมนูญ
ลูกจ้าง
Issue Date: 7-March-2562
Abstract: ในปัจจุบันรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายในการจัดตั้งองค์กรและการบริหารงานของรัฐ การ จัดตั้งองค์กรของรัฐนั้นเป็น “วิธีการที่ทำให้จุดหมายของการแก้ปัญหาต่างๆ สามารถบรรลุผลสำเร็จ ได้” รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ร่างขึ้นบนสถานการณ์ที่จะต้องนำพา ประเทศไปสู่การปกครองระบอบประชาธิปไตยที่สมบูรณ์จึงมีสาระสำคัญดังนี้ 1) คุ้มครองส่งเสริม และการขยายสิทธิเสรีภาพของประชาชน 2) ลดการผูกขาดอำนาจรัฐและขจัดการใช้อำนาจอย่างไม่ เป็นธรรม 3) ทำให้การเมืองมีความโปร่งใสมีคุณธรรมและจริยธรรม 4) ทำให้ระบบการตรวจสอบ มีความเข้มแข็งและทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจากความสำคัญของรัฐธรรมนูญ ศาล รัฐธรรมนูญ คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญตลอดจนตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ รัฐธรรมนูญแห่ง ราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 จึงได้บัญญัติให้ศาลรัฐธรรมนูญเป็นองค์กรสำคัญองค์กรหนึ่ง ที่เป็นที่พึ่งสูงสุดเพื่อช่วยปกป้องคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนและหน่วยงานต่างๆ รวมถึง การปฏิรูปการเมืองไทย เพราะคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญนั้นเป็นเด็ดขาด มีผลผูกพันคู่กรณีทุก ฝ่ายไม่ว่าจะเป็นฝ่ายบริหาร นิติบัญญัติ ตุลาการตลอดจนองค์กรอื่นของรัฐแต่ถ้าตุลาการศาลรัฐ ธรรมนูญปฏิบัติหน้าที่โดยตีความให้กฎหมายลำดับรองเช่น ประมวลกฎหมายอาญา ประมวล กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มีอำนาจเหนือรัฐธรรมนูญหรือพิจารณาวินิจฉัยคดีในทางที่ทำให้ รัฐธรรมนูญขาดความศักดิสิทธิ์หรือให้ฝ่ายการเมืองครอบงำการพิจารณาวินิจฉัยคดีแล้ว ถือว่า รัฐธรรมนูญฉบับนี้ไม่มีประสิทธิภาพที่จะสามารถบังคับใช้ได้ เท่ากับการปฏิรูปการเมืองย่อม ล้มเหลว อำนาจหน้าที่หนึ่งที่อยู่ในขอบเขตอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญคือ การวินิจฉัยคุณสมบัติ ของผู้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี เนื่องจากต้องคำพิพากษาให้ความเป็นรัฐมนตรีสิ้นสุดลงเฉพาะตัวตาม มาตรา 267 อันเนื่องจากกระทำการอันต้องห้ามตามมาตรา 182 (7) ซึ่งคดีนี้ศาลรัฐธรรมนูญได้มีคำ วินิจฉัยที่ 12-13/2551 ประเด็นปัญหาหลักของคำวินิจฉัยคดีนี้คือการตีความหมายของถ้อยคำซึ่งศาล รัฐธรรมนูญได้นำพจนานุกรมซึ่งไม่ใช่กฎหมายมาใช้เป็นเครื่องมือช่วยในการตีความคำว่า “ลูกจ้าง” คำจำกัดความหรือคำนิยามของคำว่า “ลูกจ้าง” นั้นโดยปกติในการพิจารณาคดีของศาลก็ต้องตีความ ตามคำนิยามหรือความหมายของคำที่กฎหมายบัญญัติไว้แล้ว เช่นประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน ซึ่งได้ให้คำจำกัดความไว้อยู่แล้ว คำว่า “รับจ้าง” กับ “ลูกจ้าง” นั้น แตกต่างกันโดยคำว่า “รับจ้าง” หมายถึง ไม่ขึ้นกับใคร นายจ้างไม่สามารถกำหนดบังคับผู้รับจ้างได้ อย่างตายตัว เพียงแต่ผู้รับจ้างต้องทำงานให้แล้วเสร็จจึงจะได้รับค่าจ้าง ส่วนคำว่า “ลูกจ้าง” นั้น หมายถึง นายจ้างสามารถบังคับบัญชาได้มีการกำหนดค่าจ้างเป็นเงินเดือน กำหนดเวลาทำงาน มีการ ทำประกันสังคม เป็นต้น ดังนั้นการค้นหาความหมายของคำว่าลูกจ้าง ศาลรัฐธรรมนูญควรเทียบเคียง จากกฎหมายแรงงานอื่นๆ มากกว่าดูจากพจนานุกรมอย่างเดียว แต่จะเห็นได้ว่าศาลรัฐธรรมนูญ ค่อนข้างยึดเจตนารมณ์ตามกรอบรัฐธรรมนูญเพราะการตีความคำว่าลูกจ้างนั้นจะต้องตีตามความ เข้าใจของประชาชนที่เข้าใจกฎหมายหรือนักกฎหมายทั่วไป คือตีความตามกฎหมายแพ่งและ พาณิชย์ พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน ซึ่งเป็นความหมายที่เบี่ยงเบนไปจากเจตนารมณ์ของรัฐ ธรรมนูญจึงต้องศึกษาหาเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญในบทบัญญัติดังกล่าวและหลักเกณฑ์ในการ ตีความกฎหมายที่ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญนำมาใช้ในการตีความรัฐธรรมนูญเพื่อทำคำวินิจฉัย จาก การศึกษาพบว่าหลักเกณฑ์ในทางกฎหมายที่ใช้เป็นเกณฑ์ในการตีความรัฐธรรมนูญนั้นจะต้อง ค้นหาจากตัวรัฐธรรมนูญและนำมาประยุกต์ใช้ให้สอดคล้องกับหลักเกณฑ์การตีความกฎหมาย อีก ทั้งกระบวนการในการทำคำวินิจฉัยจะต้องกำหนดวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญให้ชัดเจน เพื่อ เป็นบรรทัดฐานหรือเป็นแนวทางในการปฏิบัติ อันจะทำให้คำวินิจฉัยเป็นไปตามเจตนารมณ์ของ รัฐธรรมนูญอย่างแท้จริง จากกรณีปัญหาที่พบจึงเห็นสมควรให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญด้วยการขยาย บทบัญญัติของรัฐธรรมนูญให้ชัดเจนขึ้น รวมทั้งการปรับโครงสร้าง องค์ประกอบและกระบวนการ ในการสรรหาตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ และควรให้ประชาชนหรือบุคคลภายนอกเข้ามามีส่วนร่วม ตรวจสอบการปฏิบัติงานของศาลรัฐธรรมนูญ โดยเฉพาะคำพิพากษาส่วนตนขององค์คณะควร ได้รับการตรวจสอบจากสาธารณะชน เพื่อให้เกิดการยอมรับจากประชาชนโดยทั่วไป
Description: นิติศาสตร์มหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรี
URI: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/5951
Appears in Collections:S_CHO-09. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
abstract.pdf99.44 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.