Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/5955
Title: ปัญหาและอุปสรรคทางกฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้ได้รับความเสียหายจาก การบริการสถานีบรรจุก๊าซปิโตรเลียมเหลวและก๊าซธรรมชาติ
Other Titles: Legal Problems and Obstacles on Protection of those Affected by Entrepreneurship of Liquid Petroleum Gas Vehicles and Natural Gas
Authors: สุประวีณ์ ใจรักษ์
Keywords: การคุ้มครอง
ผู้ได้รับความเสียหาย
สถานีบรรจุก๊าซปิโตรเลียมเหลวและก๊าซธรรมชาติ
Issue Date: 7-March-2562
Abstract: วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มุ่งศึกษาปัญหาและอุปสรรคทางกฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้ได้รับ ความเสียหายจากการบริการสถานีบรรจุก๊าซปิโตรเลียมเหลวและก๊าซธรรมชาติในการกำหนด มาตรการเพื่อคุ้มครองและแนวทางการกำหนดคำนิยามตามพระราชบัญญัติความรับผิดต่อความ เสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย พ.ศ.2551 และพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ.2535 ยัง ไม่ครอบคลุมกับการคุ้มครองประชาชนผู้ใช้บริการและผู้อยู่อาศัยบริเวณใกล้เคียง รวมทั้งการ กำหนดเขตบริเวณอันตราย (Hazardous Area) เกี่ยวกับการจัดตั้งสถานีบริการที่ยังใช้มาตรการใน การวัดระยะห่างจากถนนหลวงและการไม่กำหนดเงื่อนไขจัดทำรายงานผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และสุขภาพของประชาชนก่อนการจัดตั้งสถานีบริการ จากการศึกษาพบว่า ประกาศกระทรวง พลังงานเรื่อง หลักเกณฑ์และมาตรฐานความปลอดภัยของสถานีบริการก๊าซธรรมชาติที่กรมธุรกิจ พลังงานมีอำนาจหน้าที่รับผิดชอบ พ.ศ.2546 ซึ่งออกตามความในพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 ได้กำหนดมาตรการคุ้มครองประชาชนกรณีการก่อให้เกิดเหตุรำคาญต่อผู้อยู่อาศัยข้างเคียง และจะต้องไม่ก่อให้เกิดมลพิษ แต่ประกาศกระทรวงดังกล่าวเป็นเพียงมาตรการใช้บังคับภายในของ ฝ่ายปกครองซึ่งไม่ใช่กฎหมายจะนำมาใช้เพื่อเยียวยาความเสียแก่ประชาชนได้และการจัดตั้งสถานี บริการก๊าซธรรมชาติก็ไม่ใช่สินค้าตามความหมายที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติความรับผิดต่อ ความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย พ.ศ.2551 ที่จะได้รับการเยียวยาความเสียหายตาม กฎหมายหรือการกำหนดค่าเสียหายเชิงลงโทษส่งผลกระทบต่อผู้เสียหายที่จะได้รับมาตรการเยียวยา เป็นพิเศษนอกเหนือจากมาตรการตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ว่าด้วยละเมิด ดังนั้นจาก การศึกษาขอเสนอแนะว่าควรยกระดับประกาศกระทรวงพลังงานข้างต้นให้เป็นกฎหมายในระดับ พระราชบัญญัติและกำหนดความเสียหายเชิงลงโทษไว้ในพระราชบัญญัติดังกล่าวด้วยเพื่อเป็นการ คุ้มครองประชาชนผู้ใช้บริการและผู้อยู่อาศัยบริเวณใกล้เคียงและการกำหนดคำนิยามของคำว่า สินค้าตามพระราชบัญญัติความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย พ.ศ.2551 ควรกำหนดให้มีความหมายกว้างมากกว่านี้โดยให้หมายความรวมถึงการจำหน่ายก๊าซธรรมชาติที่มี ลักษณะเป็นการจำหน่ายเช่นเดียวกับกระแสไฟฟ้าด้วยและในส่วนของการจัดทำรายงานผลกระทบ ต่อสิ่งแวดล้อมเมื่อมีการจัดตั้งสถานีบริการก๊าซปิ โตรเลียมเหลวหรือก๊าซธรรมชาติจะต้องจัดทำ รายงานผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของประชาชนทุกกรณีโดยไม่มีข้อยกเว้นใด ๆ เพื่อให้ ประชาชนสามารถเข้ามามีส่วนร่วมในการอนุมัติหรืออนุญาตนอกเหนือจากการใช้อำนาจของฝ่าย ปกครองเพียงอย่างเดียว
Description: นิติศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรี
URI: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/5955
Appears in Collections:S_CHO-09. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
abstract.pdf110.95 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.