Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/5964
Title: ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ. 2542
Other Titles: LEGAL PROBLEMS ON AUTHORITY OF AUDITOR GENERAL OFFICE ACCORDING TO THE ORGANIC ACT OF THE STATE FUND INSPECTION B.E. 2542
Authors: ณัฐกานต์ มณีรัตน์
Keywords: อำนาจหน้าที่
สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน
Issue Date: 7-March-2562
Abstract: วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาถึงปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ในการสอบสวนคดีทุจริตทางการเงินของสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน และการกำหนดนิยามศัพท์คำว่า “เงินแผ่นดิน” จากการศึกษาพบว่า ปัจจุบันเจ้าหน้าที่ตรวจสอบของสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินมีอำนาจหน้าที่ตามมาตรา 42 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ.2542 คล้ายกับพนักงานสอบสวนของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ พนักงานไต่สวนของสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ และสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ แต่กลับมีอำนาจเป็นเพียงเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา มิได้เป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา จึงทำให้ต้องส่งรายงานผลการตรวจสอบสืบสวนกรณีทุจริตทางการเงินให้กับสำนักงานตำรวจแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ และสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ ดำเนินการต่อไป ทำให้คดีล่าช้า หยุดชะงัก เนื่องจากแต่ละองค์กรมีหน้าที่ความรับผิดชอบตามอำนาจหน้าที่ในด้านอื่น ๆ และมีเรื่องที่รับไว้ตรวจสอบค้างอยู่เป็นจำนวนมาก อีกทั้งต้องไปเริ่มสอบสวนใหม่ โดยที่องค์กรดังกล่าวเหล่านั้น ไม่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ ในการตรวจสอบกรณีทุจริตทางการเงิน และไม่มีความรู้ความเข้าใจในกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องกับหน่วยงานนั้น ๆ ดีพอ อาจวางรูปคดีและแสวงหาพยานหลักฐานไม่ถูกต้องตรงประเด็นที่จะพิสูจน์ความจริงได้ เมื่อยื่นฟ้องคดีต่อศาล ก็มีกรณีที่ศาลยกฟ้อง เกิดความเสียหายต่อทางราชการและเงินแผ่นดิน อีกทั้งปัจจุบันยังมิได้มีการกำหนดคำนิยามของคำว่า “เงินแผ่นดิน” ไว้อย่างเป็นทางการในกฎหมายฉบับใด ๆ ทำให้เกิดการตีความที่ทำให้เกิดความเสียหายต่อเงินภาษีของประชาชน และจากการบริหารงานของรัฐบาลที่ไม่ปฏิบัติตามกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการเงินและการคลัง ดังนั้น จึงเห็นควรแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ.2542 โดยการให้พนักงานเจ้าหน้าที่ของสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินเป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา และให้มีคำนิยามคำว่า “เงินแผ่นดิน” ที่ชัดเจนเพื่อเป็นคำนิยามหลักที่หน่วยงานอื่น ๆ สามารถนำไปใช้อ้างอิงได้
Description: นิติศาสตร์มหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรี
URI: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/5964
Appears in Collections:S_CHO-09. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
abstract.pdf138.05 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.