Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/5985
Title: ปัญหาและอุปสรรคทางกฎหมายเกี่ยวกับความรับผิดทางละเมิดของผู้ประกอบการ บริการสาธารณะด้านการขนส่งภายใต้การควบคุมของกรมการขนส่งทางบก
Other Titles: Legal Problems and Difficulties Relating to the Tort Liability of Operators of Public Service Transportation under the Control of the Department of Land Transport
Authors: ธงชัย จันทร์กระจ่าง
Keywords: ความรับผิดทางละเมิด
ผู้ประกอบการบริการสาธารณะด้านการขนส่ง
การควบคุมของกรมการขนส่งทางบก
Issue Date: 7-March-2562
Abstract: วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาถึงลักษณะวิธีการให้บริการและความรับ ผิดทางละเมิดของผู้ประกอบการด้านการขนส่ง เนื่องจากการขนส่งทางบกด้วยการรับ-ส่งคน โดยสาร มีการให้บริการในหลายรูปแบบ เช่น รถเมล์ประจำทาง รถรับจ้างไม่ประจำทาง รถโดยสาร ขนาดเล็ก รถไฟฟ้า รถตู้โดยสาร รถแท็กซี่ รถจักรยานยนต์สาธารณะ รถสามล้อ รถม้าและรถยนต์ ประเภทอื่น ๆ การให้บริการรับ - ส่งคนโดยสาร เป็นนิติกรรมระหว่างผู้โดยสารกับผู้ขนส่ง และ เป็นการบริการสาธารณะที่อยู่ในความควบคุมของกรมการขนส่งทางบก ซึ่งความปลอดภัยในการ เดินทาง ความรับผิดทางละเมิดของผู้ประกอบการและการเยียวยาผู้เสียหายเป็นสิ่งที่สำคัญยิ่ง แต่ กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับความรับผิดทางละเมิดของผู้ประกอบการบริการสาธารณะด้านการขนส่ง ผู้โดยสาร ยังไม่มีความชัดเจนและเป็นธรรมกับผู้โดยสารและผู้ได้รับความเสียหาย ดังนั้นจึงควร ทำการศึกษาถึงปัญหาและอุปสรรคทางกฎหมายที่เกี่ยวกับความรับผิดทางละเมิดของผู้ประกอบการ บริการสาธารณะด้านการขนส่งภายใต้การควบคุมของกรมการขนส่งทางบก จากการศึกษาพบว่า กฎหมายที่ใช้บังคับกับผู้ประกอบการบริการสาธารณะด้านการขนส่ง ทั้งพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ.2522 พระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ.2522 และ พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถยนต์ พ.ศ.2535 ไม่มีมาตรการเพียงพอที่จะควบคุม ผู้ประกอบการด้านการขนส่งทางบกซึ่งมีบุคคลที่เกี่ยวข้องหลายส่วนทั้งเจ้าของรถยนต์ ผู้จัดการ ผู้ให้เช่ารถยนต์ ผู้ขับขี่หรือเจ้าของสถานที่รับ - ส่ง คนโดยสาร (วินหรือคิว) ซึ่งพระราชบัญญัติการ ขนส่งทางบกยังไม่มีความชัดเจนว่าใครบ้างที่จะถือว่าเป็นผู้ประกอบการกับปัญหาด้านนิยามของคำ ว่า “รถรับจ้าง” ที่ไม่ได้กำหนดให้ชัดเจนว่ารถรับจ้างหมายถึงรถประเภทใด นอกจากนี้ยังมีปัญหา ทางด้านการบังคับใช้ในรถสามล้อ รถจักรยานยนต์ แม้พระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ.2522 กำหนดให้ มี รถจักรยานยนต์สาธารณะ แต่ พระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ.2522 ไม่ให้รถสามล้อและ รถจักรยานยนต์ อยู่ในบังคับของพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก ซึ่งเป็นความขัดกันของกฎหมาย ทำให้ผู้ที่ประสงค์จะประกอบการรถจักรยานยนต์สาธารณะ หรือรถสามล้อสาธารณะ ไม่สามารถ ขอรับใบอนุญาตประกอบการขนส่งได้ และปัญหาความสัมพันธ์ระหว่างผู้ประกอบการ เจ้าของรถ และบุคคลภายนอก ยังไม่มีความชัดเจนว่าเมื่อเกิดความเสียหายขึ้น ใครบ้างที่จะต้องรับผิดต่อ ผู้เสียหายและปัญหาเกี่ยวกับการเยียวยาชดใช้ค่าเสียหายให้กับผู้เสียหาย ยังไม่เพียงพอต่อความ เสียหายที่แท้จริง ทำให้เป็นปัญหาต่อสังคมและเศรษฐกิจของประเทศเป็นอย่างมาก จากการศึกษาพบว่าควรที่จะต้องเพิ่มนิยามคำว่า “ผู้ประกอบการ” เพื่อให้หมายความ รวมถึงผู้ประกอบกิจการบริการสาธารณะด้านการขนส่งทางบก ไม่ว่าจะเป็นผู้ขับขี่ เจ้าของรถ ผู้ให้ เช่ารถ และยังควรให้รวมตลอดถึง ผู้จัดหาสถานที่เพื่อเป็นจุดให้บริการรับ - ส่งผู้โดยสารและบุคคล อื่น ๆ ที่ได้รับผลประโยชน์จากการประกอบกิจการด้านการขนส่งทุกทอด และเพิ่มเติมนิยามคำว่า “รถรับจ้าง” หมายความถึง รถยนต์ทุกชนิดทุกประเภท หรือพาหนะใด ๆ ที่มีไว้สำหรับการ ให้บริการสาธารณะด้านการขนส่งทางบก เพื่อหวังค่าตอบแทนเป็นสินจ้าง แก้ไขให้รถสามล้อ รถจักรยานยนต์ และรถรับจ้างทุกชนิด อยู่ในบังคับของพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ.2522 และแก้ไขความสัมพันธ์ของผู้ประกอบการ เจ้าของรถและบุคคลภายนอก ด้วยการให้ผู้ประกอบการ ขอรับใบอนุญาต มีหน้าที่ต้องแจ้งถึงความสัมพันธ์ของผู้ที่เกี่ยวข้องกับการประกอบการขนส่งทาง บก ไม่ว่าจะเป็นผู้ขับขี่ เจ้าของรถ ผู้เช่าและผู้ให้เช่ารถซึ่งมาร่วมให้บริการ เจ้าของสถานที่รับ - ส่ง คนโดยสาร และกำหนดให้ทุกคนซึ่งเกี่ยวข้องกับการให้บริการสาธารณะด้านการขนส่ง ต้อง ร่วมกันรับผิดในความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่บุคคลภายนอก โดยร่วมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม และให้รับ ผิดทั้งความเสียหายอันเกิดแก่ชีวิต ร่างกาย เสรีภาพ อนามัย และทรัพย์สิน และเพื่อเป็นหลักประกัน ในการชดใช้ความเสียหายที่เกิดขึ้นกับการประกอบกิจการบริการสาธารณะด้านการขนส่งทางบก ควรกำหนดให้รถรับจ้างทุกคันและผู้ประกอบการรับใบอนุญาต ต้องจัดทำประกันภัยภาคสมัครใจ (ประกันประเภทหนึ่ง) เพิ่มขึ้นนอกเหนือจากประกันภัยภาคบังคับ (พรบ.) เพื่อให้มีความคุ้มครอง ครอบคลุมถึงความเสียหายที่เกิดขึ้นกับชีวิต ร่างกาย และทรัพย์สิน และให้กำหนดจำนวนค่า สินไหมในการคุ้มครองความเสียหายในวงเงินที่สูงเพียงพอกับการชดใช้ความเสียหายที่เกิดขึ้น เพื่อให้ผู้ได้รับความเสียหายได้รับการชดใช้ที่เพียงพอและเป็นธรรม
Description: นิติศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรี
URI: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/5985
Appears in Collections:S_CHO-09. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
abstract.pdf121.78 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.