กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/5992
ชื่อเรื่อง: ปัญหาและอุปสรรคทางกฎหมายเกี่ยวกับการกำหนดสถานะความเป็นผู้เสียหาย ในการใช้สิทธิเรียกร้องของสมาชิกกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง
ชื่อเรื่องอื่นๆ: LEGAL PROBLEMS AND OBSTACLES RELATING TO THE DETERMINATION ON THE STATUS OF BEING AN INJURED PARTY IN EXERCISING THE RIGHT OF CLAIMS OF VILLAGE AND URBAN COMMUNITY FUND MEMBERS
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: พิชัย เลี่ยมสุวรรณ
คำสำคัญ: การใช้สิทธิเรียกร้อง
สมาชิกกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง
วันที่เผยแพร่: 8-มีนาคม-2562
บทคัดย่อ: วิทยานิพนธ์นี้มุ่งศึกษาปัญหาและอุปสรรคทางกฎหมายเกี่ยวกับการกำหนดสถานะความ เป็นผู้เสียหายในการบริหารจัดการกองทุนและการมีส่วนร่วมของสมาชิกกองทุนหมู่บ้านและชุมชน เมือง จากการศึกษาพบว่าพระราชบัญญัติกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ พ.ศ.2547 หรือ ระเบียบคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติว่าด้วยการจัดตั้งและบริหารกองทุน หมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ พ.ศ.2555 หรือระเบียบอื่น ๆ ไม่ได้กำหนดให้สมาชิกมีส่วนร่วม ในการบริหารจัดการกองทุนและการใช้สิทธิทางศาลที่จะฟ้องคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและ ชุมชนเมืองเพื่อให้บริหารจัดการกองทุนเป็นไปโดยบริสุทธิ์และยุติธรรมในการจัดสรร ผลประโยชน์ปราศจากการทุจริตและการแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบด้วยกฎหมายและบริหาร จัดการเป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่กฎหมายกำหนดไว้ จากการศึกษาเสนอแนะว่าปัญหาการกำหนด สถานะความเป็นผู้เสียหายของสมาชิกกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองควรกำหนดสิทธิเชิงป้องกัน และเชิงเยียวยาโดยให้สมาชิกสามารถฟ้องในกรณีเป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายของ คณะกรรมการกองทุนไม่ว่าจะเป็นการใช้อำนาจหรือการใช้ดุลยพินิจในการบริหารจัดการกองทุน โดยกำหนดให้สมาชิกเป็นผู้เสียหายและมีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลเพื่อให้คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้าน และชุมชนเมืองงดเว้นการกระทำหรือระงับการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายนั้น ในส่วนการ ป้องกันเชิงเยียวยาเมื่อกองทุนถูกยุบหรือเลิกดำเนินการและได้มีการชำระบัญชีของกองทุนแล้วควร กำหนดให้สมาชิกเป็นผู้เสียหายที่จะได้รับเงินฝากคืนหรือฟ้องร้องให้คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้าน และชุมชนเมืองทุกระดับไม่ว่าจะเป็นระดับราชการส่วนกลาง ราชการส่วนท้องถิ่นหรือ คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติรับผิดด้วยแทนที่จะให้เพียงคณะกรรมการ กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองรับผิดชอบและควรกำหนดให้คณะกรรมการกองทุนต้องสำรองเงิน ฝากเพื่อเป็นเงินสำรองในการบริหารกองทุนไว้โดยกำหนดให้สถาบันการเงินของรัฐเข้ามามี บทบาทในการนำเงินสำรองนี้เก็บไว้ในบัญชีของกองทุนหมู่บ้านโดยไม่ให้คณะกรรมการกองทุน ใช้สิทธิเบิกถอนหรือนำเงินในส่วนนี้ไปบริหารจัดการกองทุนได้ ส่วนการใช้สิทธิของสมาชิกใน การตรวจสอบการบริหารจัดการกองทุนของคณะกรรมการกองทุนกรณีกระทำการโดยทุจริตควร กำหนดหลักเกณฑ์ไว้ในพระราชบัญญัติกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง พ.ศ.2547 ว่าสามารถ ตรวจสอบได้ไม่ว่าจะเป็นการบริหารจัดการของคณะกรรมการกองทุน การจัดทำบัญชีรายรับ รายจ่าย การให้ผลประโยชน์หรือการให้เงินปันผลต่อสมาชิกและควรมีหลักการตรวจสอบภายนอก จะต้องกำหนดให้สมาชิกกองทุนเป็นผู้เสียหายในกรณีที่เห็นว่าการอนุมัติเงินกู้โดยไม่มีหลักประกัน หรือการนำ เงินฝากมาแบ่งปันเป็นเงินปันผลให้แก่สมาชิก ส่วนการบริหารกองทุนแม้ พระราชบัญญัติกองทุนหมู่บ้านหรือชุมชนเมืองแห่งชาติ พ.ศ.2547 จะไม่เปิดช่องให้สมาชิกกองทุน บริหารจัดการกองทุนนอกจากคณะกรรมการก็ตาม แต่ก็ไม่ได้ห้ามสมาชิกกองทุนสอบถามความ เป็นไปของกองทุนถึงงบบัญชีเงินฝากและงบบัญชีเงินกู้ของแต่ละรอบปีปฏิทินจึงควรกำหนดให้ สมาชิกกองทุนสามารถสอบถามได้และกำหนดให้คณะกรรมการต้องรายงานงบประมาณในส่วนนี้ ทุก ๆ รอบของปีปฏิทินให้แก่สมาชิกได้รับทราบและเพื่อให้การเยียวยามีประสิทธิภาพและเป็นการ ประกันเงินฝากของสมาชิกกองทุนจะต้องมีเงื่อนไขการนำเงินฝากของสมาชิกมาเป็นกองทุน ส่วนกลางหรือทุนสำรองเพื่อป้องกันกองทุนเลิกดำเนินการหรือกองทุนถูกยุบโดยนายทะเบียนแล้ว ไม่มีเงินเยียวยาผู้เป็นสมาชิกเงินฝากของกองทุนและควรให้หน่วยงานของรัฐเข้ามาเป็นเสมือน หน่วยงานสนับสนุนให้แก่คณะกรรมการบริหารกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองไม่ว่าจะเป็นอำเภอ จังหวัด ราชการส่วนท้องถิ่นหรือหน่วยงานที่รับผิดชอบในการรับฝากเงินโดยตรงไม่ว่าจะเป็น ธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารออมสินหรือธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ (ธ.ก.ส.) เพื่อ เป็นหน่วยงานสนับสนุนในการบริหารจัดการกองทุน การให้เงินปันผล การแบ่งผลประโยชน์อื่น ๆ เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมมากยิ่งขึ้น
รายละเอียด: นิติศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรี
URI: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/5992
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:S_CHO-09. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
abstract.pdf106.85 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น