Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/5993
Title: ปัญหาในการบังคับใช้พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ.2542
Other Titles: LEGAL PROBLEMS ON CONSTITUTIONAL APPURTENANCE ENFORCEMENT PROBLEMS THE ORGANIC ACT OF THE STATE FUND INSPECTION B.E.2542
Authors: ชญานิน แจ้งกระจ่าง
Keywords: การบังคับใช้กฎหมาย
การตรวจเงินแผ่นดิน
พรบ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ.2542
Issue Date: 8-March-2562
Abstract: วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มุ่งศึกษาปัญหาในการบังคับใช้พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ.2542 เนื่องจากเกิดปัญหาในการบังคับใช้กฎหมายของสานักงานตรวจเงินแผ่นดิน เพราะไม่สามารถดาเนินการบังคับกับหน่วยรับตรวจตามที่กฎหมายบัญญัติให้อานาจไว้ตามมาตรา 44 และมาตรา 46 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวได้ จากการศึกษาพบว่า ประการแรก ตามมาตรา 44 เมื่อคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินแจ้งผลการตรวจสอบพบความผิดทางวินัย และพบความเสียหายซึ่งถือเป็นความผิดทางละเมิด หน่วยรับตรวจจะดาเนินการตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงอีกครั้ง ซึ่งผลการตรวจสอบของหน่วยรับตรวจอาจไม่ตรงกับผลการตรวจสอบ ของสานักงานตรวจเงินแผ่นดิน และสานักงานตรวจเงินแผ่นดินก็ไม่มีอานาจบังคับให้เป็นไปตามผลที่ตนได้ตรวจสอบไว้ ประการที่สอง ตามมาตรา 46 เมื่อคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินตรวจพบว่าเป็นความผิดทางอาญา คณะกรรมการต้องแจ้งต่อพนักงานสอบสวนเพื่อดาเนินคดี และหากปรากฏว่าเป็นความผิดที่เกี่ยวข้องกับตาแหน่งหน้าที่ราชการ พนักงานสอบสวนต้องส่งเรื่องให้คณะกรรมการป้องกันและปรามปรามการทุจริตแห่งชาติ ซึ่งทาให้การดาเนินการเกิดความซ้าซ้อนและล่าช้า ประการที่สาม สานักงานตรวจเงินแผ่นดินไม่อนุญาตให้นาทนายความหรือผู้ที่ไว้วางใจเข้าร่วมในการสอบถ้อยคาต่อเจ้าหน้าที่ตรวจสอบได้ ซึ่งเป็นการลิดรอนสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชน ประการที่สี่ เนื่องจากการตรวจสอบของสานักงานตรวจเงินแผ่นดินไม่ใช่การสอบสวนตามประมวล กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา จึงไม่มีสิทธิฟ้องคดีเองเมื่ออัยการสั่งไม่ฟ้อง ประการที่ห้า เมื่อการสอบสวนเป็นเรื่องที่มีความสาคัญ มีความยากและซับซ้อน อาจต้องใช้พนักงานสอบสวนที่มีความเชี่ยวชาญโดยตรง ดังนั้น จึงเห็นควรให้หน่วยรับตรวจถือผลการตรวจสอบของสานักงานคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินเป็นแนวทางในการลงโทษโดยไม่ต้องตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงอีกครั้ง ควรส่งเรื่องความผิดทางอาญาที่อยู่ในอานาจของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามทุจริตโดยตรงไม่ต้องผ่านพนักงานสอบสวน ควรกาหนดให้นาทนายความหรือผู้ที่ไว้วางใจเข้าร่วมในการสอบถ้อยคาด้วย ควรกาหนดให้สานักงานตรวจเงินแผ่นดินเสนอสานวนการสอบสวนโดยตรงต่ออัยการสูงสุด หากอัยการสูงสุดสั่งไม่ฟ้องให้สานักงานตรวจเงินแผ่นดินตั้งทนายความขึ้นฟ้องคดีต่อศาลได้เอง และควรให้รับเป็นคดีพิเศษ
Description: นิติศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรี
URI: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/5993
Appears in Collections:S_CHO-09. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
abstract.pdf212.49 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.