Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/6001
Title: แรงจูงใจที่มีผลต่อการเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานฝ่ายผลิต โรงงาน ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ ในเขตนิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร จังหวัดชลบุรี
Other Titles: MOTIVATION FACTORS INFLUENCING PERFORMANCE EFFICIENCY OF PRODUCTION OPERATORS IN AUTOMOBILE FACTORY IN AMATA NAKORN INDUSTRIAL ESTATE, CHONBURI
Authors: ปิยธิดา กวินภัทรเวช
Keywords: แรงจูงใจ
ประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน
พนักงานฝ่ายผลิต
Issue Date: 8-March-2562
Abstract: การวิจัยเรื่อง แรงจูงใจที่มีผลต่อการเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานฝ่ายผลิต โรงงานผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ ในเขตนิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร จังหวัดชลบุรีในครั้งนี้มี วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาระดับการเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานฝ่ายผลิตของโรงงานผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ ในเขตนิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร เพื่อเปรียบเทียบลักษณะทาง ประชากรศาสตร์ต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานฝ่ายผลิต ของโรงงานผลิตชิ้นส่วน ยานยนต์ ในเขตนิคมอุตสาหกรรม อมตะนคร และเพื่อศึกษาปัจจัยแรงจูงใจที่มีอิทธิพลต่อ ประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานฝ่ายผลิต ของโรงงานผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ ในเขตนิคม อุตสาหกรรม อมตะนคร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นพนักงานฝ่ายผลิตโรงงานผลิต ชิ้นส่วนยานยนต์ ในนิคมอุตสาหกรรม อมตะนคร ของปี พ.ศ.2554 ทั้งสิ้นจำนวน 400 คน โดยใช้ แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ สถิติ เชิงพรรณา ประกอบด้วย ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติในการ ทดสอบสมมติฐานได้แก่ การวิเคราะห์การถดถอยแบบเส้นตรงพหุคูณ ค่าสถิติ t-test, F-test เพื่อ ทดสอบสมมติฐาน ผลการศึกษาพบว่า พนักงานฝ่ายผลิตมีความคิดเห็นต่อประสิทธิภาพในการ ปฏิบัติงานโดยรวมอยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ยในด้านคุณภาพการผลิตมากที่สุด รองลงมาคือ การใช้ระยะเวลาการผลิต และน้อยที่สุดคือ วิธีการผลิต ผลการทดสอบสมตติฐานพบว่า อายุ และ ระดับการศึกษาที่แตกต่างกัน มีความคิดเห็นต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน แตกต่างกันอย่างมี นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วน ปัจจัยด้าน เพศ รายได้ ระยะเวลาในการปฏิบัติงาน และ ประสบการณ์การทำงาน มีความคิดเห็นต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานไม่แตกต่างกัน ปัจจัย แรงจูงใจภายใน ได้แก่ ผลสำเร็จในการปฏิบัติงาน การมีอำนาจในหน้าที่ การมีส่วนร่วมในงาน โอกาสในความก้าวหน้า และลักษณะของงานที่ท้าทาย และปัจจัยแรงจูงใจภายนอก ได้แก่ นโยบาย และการบริหาร การพัฒนาฝึกอบรม การเลื่อนตำแหน่งงานเทคโลยีที่ทันสมัย และ คามปลอดภัยใน การทำงานมีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานฝ่ายผลิต อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ .05
Description: บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรี
URI: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/6001
Appears in Collections:S_CHO-09. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Abstract.pdf106.69 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.