Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/6004
Title: ปัญหาและอุปสรรคทางกฎหมายเกี่ยวกับการกำหนดหลักเกณฑ์การฝ่าฝืนคำสั่งทาง ปกครองในการสั่งให้รื้อถอนอาคารตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.2522
Other Titles: LEGAL PROBLEMS AND OBSTRUCTION REGARDING DETERMINING OF THE CRITERIA ON VIOLATION AGAINST ADMINISTRATION ORDERS TO DISMANTLE BUILDINGS UNDER THE BUILDING CONTROL ACT OF B.E.1979
Authors: น้ำทิพย์ สิงห์ตาก้อง
Keywords: การบังคับทางปกครอง
การฝ่าฝืนคำสั่งทางปกครอง
การลงโทษทางปกครอง
คำสั่งทางปกครองให้รื้อถอนอาคาร
Issue Date: 8-March-2562
Abstract: วิทยานิพนธ์นี้มุ่งศึกษาปัญหาและอุปสรรคทางกฎหมายเกี่ยวกับการกำหนดหลักเกณฑ์ การฝ่าฝืนคำสั่งทางปกครองในการสั่งให้รื้อถอนอาคารตาม พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 40, 41, 42 และอำนาจของเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 43 รวมทั้งอำนาจในการที่จะกำหนดบทลงโทษทางอาญาในการเปรียบเทียบปรับของ ผู้ฝ่าฝืนคำสั่งทางปกครอง จากการศึกษาพบว่าในกรณีการออกคำสั่งทางปกครองให้รื้อถอนอาคารที่ มีการก่อสร้างในสถานที่ที่ต้องห้ามตามกฎหมายไม่ว่าจะเป็นที่ป่าสงวน อุทยานแห่งชาติหรือที่ สาธารณะสมบัติของแผ่นดินก็ตาม กรณีถ้ามีคำสั่งให้รื้อถอนอาคารก็ต้องดำเนินการตามที่กฎหมาย ควบคุมอาคารและกฎหมายปกครองกำหนดไว้ในการที่จะต้องเปิดโอกาสให้คู่กรณีได้โต้แย้งแสดง พยานหลักฐาน การอุทธรณ์ การเข้ารื้อถอนอาคาร นอกจากนั้นในส่วนของการจับกุมหรือกักขัง บุคคลผู้ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าหน้าที่เมื่อให้ศาลปกครองมีอำนาจในการจับกุมหรือกักขังตาม พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 43 (1) ไว้แล้วก็ต้องมีการบัญญัติอำนาจของศาล ปกครองไว้ในพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ.2542 มาตรา 72 ด้วย เพื่อให้กฎหมายวิธีสบัญญัติกำหนดอำนาจให้ศาลปกครองในการที่จะกำหนดคำบังคับให้ เป็นไปตามกฎหมายสารบัญญัติตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 43 (1) ส่วน ปัญหาเกี่ยวกับการกำหนดโทษของฝ่าฝืนคำสั่งทางปกครองที่ได้มีการกำหนดโทษทางอาญาตาม พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 เพื่อให้กฎหมายกำหนดอำนาจหน้าที่ของศาลตาม บทบัญญัติแห่งกฎหมายมิใช่กำหนดอำนาจหน้าที่ของศาลเป็นลักษณะกำหนดอำนาจตามมาตรา และการกำหนดค่าปรับถ้าเป็นไปตามข้อกำหนดหรือระเบียบของทางราชการที่ได้กำหนดไว้ตาม ความหนักเบาของความผิดในทุกครั้งที่มีการเปรียบเทียบคดีก็ไม่มีปัญหาเพราะเป็นไปตาม มาตรฐานที่ได้กำหนดไว้แต่ในทางปฏิบัติหากคณะกรรมการเปรียบเทียบคดีกำหนดค่าปรับที่สูง หรือต่ำกว่าข้อกำหนดหรือระเบียบของทางราชการจะส่งผลกระทบต่อเอกชนโดยตรง จาก การศึกษาขอเสนอแนะว่าปัญหาการกำ หนดมาตรการฝ่าฝืนคำ สั่งทางปกครองกรณีตาม พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 40, 41, 42 ควรมีการปรับปรุงแก้ไขโดยให้อำนาจ เจ้าหน้าที่ในการที่จะเข้ารื้อถอนอาคารได้โดยไม่ต้องมีหลักเกณฑ์กำหนดให้มีการรื้อถอนอาคาร หรือออกคำสั่งทางปกครองให้รื้อถอนอาคารถ้าเห็นว่าสิ่งก่อสร้างนั้นอยู่ในที่ที่เป็นสาธารณสมบัติ ของแผ่นดินไม่ว่าจะเป็นที่ป่าสงวน อุทยานแห่งชาติหรือที่สาธารณะใช้ประโยชน์ร่วมกันไม่ว่าจะ เป็นการก่อสร้าง ต่อเติม ดัดแปลงทั้งหมดหรือบางส่วน โดยไม่ต้องมีการกำหนดให้ออกคำสั่งทาง ปกครองให้รื้อถอนอาคารเช่นเดียวกับการรื้อถอนอาคารในที่ที่เอกชนมีกรรมสิทธิ์ ส่วนกรณีอำนาจ ศาลปกครองในการจับกุมหรือกักขังตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 43 (1) ควรมีการเพิ่มเติมอำนาจของศาลปกครองไว้ในพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณา คดีปกครอง พ.ศ.2542 มาตรา 72 ในการที่จะสามารถกำหนดคำบังคับเพื่อจับกุมหรือกักขังผู้ฝ่าฝืน คำสั่งทางปกครองได้เช่นเดียวกับประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง นอกจากนั้นการกำหนด โทษของผู้ฝ่าฝืนคำสั่งทางปกครองในการกำหนดโทษทางอาญาตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 เพื่อให้กฎหมายมีประสิทธิภาพทั้งโครงสร้างควรมีการให้ศาลปกครองมีอำนาจในการที่ จะกำหนดให้ผู้ฝ่าฝืนคำสั่งทางปกครองได้รับโทษทางปกครองที่เป็นลักษณะโทษจำคุกผู้ฝ่าฝืน คำสั่งทางปกครองได้แทนที่จะให้ศาลอาญาสังกัดศาลยุติธรรมเป็นผู้พิจารณาคดีเช่นเดียวกับอำนาจ ในการที่จะจับกุมหรือกักขังตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 43 (1) และการ เปรียบเทียบคดีในความผิดตามกฎหมายควบคุมอาคารควรให้เพิ่มเติมในมาตรา 47 เพื่อความชัดเจน ในการที่จะดำเนินการให้อาคารดังกล่าวมีลักษณะที่ถูกต้องตามวัตถุประสงค์ของกฎหมายควบคุม อาคารและความปลอดภัยในการอยู่อาศัยรวมทั้งอาคารใกล้เคียงโดยกำหนดให้ผู้เป็นเจ้าของหรือผู้ ครอบครองอาคารต้องถูกบังคับโดยมาตรการหรือสภาพบังคับตามกฎหมายซึ่งได้แก่มาตรการ บังคับทางปกครองหรือสภาพบังคับทางแพ่งด้วย
Description: นิติศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรี
URI: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/6004
Appears in Collections:S_CHO-09. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
abstract.pdf109.92 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.